การสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนคณิตศาสตร์ผ่านอุปกรณ์ไร้สายแบบพกพา เรื่อง เศษส่วนและทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
DOI:
https://doi.org/10.14456/jcct.2024.3คำสำคัญ:
บทเรียนผ่านอุปกรณ์ไร้สายแบบพกพา, เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์, เศษส่วน, ทศนิยมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของบทเรียนผ่านอุปกรณ์ไร้สายแบบพกพา รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนและทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) หาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนผ่านอุปกรณ์ไร้สายแบบพกพา รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนและทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) ศึกษาระดับเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์หลังได้รับบทเรียนผ่านอุปกรณ์ไร้สายแบบพกพา เรื่อง เศษส่วนและทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนคณิตศาสตร์ผ่านอุปกรณ์ไร้สายแบบพกพา เรื่อง เศษส่วนและทศนิยม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และแบบวัดเจตคติทางคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนผ่านอุปกรณ์ไร้สายแบบพกพา รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนและทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 78.17/79.35 2) ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนผ่านอุปกรณ์ไร้สายแบบพกพา รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนและทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6865 3) ระดับเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์หลังได้รับบทเรียนบทเรียนผ่านอุปกรณ์ไร้สายแบบพกพา เรื่อง เศษส่วนและทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.55, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.51)
Downloads
References
1. ขจรพงศ์ คำดี. นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ผ่านระบบออนไลน์ด้วยแอพพลิเคชั่น. วารสาร มจร. เลย ปริทัศน์. 2564;2(3):35-49.
2. กระทรวงศึกษาธิการ. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ ฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2560.
3. นพดล ผู้มีจรรยา และ อาลดา สุดใจดี. การพัฒนาบทเรียนเอ็มเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานรายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคํานวณ) เรื่อง แนวคิดเชิงคํานวณ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางลี่วิทยา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. 2564;10(1):33-44.
4. พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ. M-Learning : บทบาทใหม่การเรียนการสอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2563;18(1):90-105.
5. รัตนะ บัวสนธ์. วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2552.
6. ธงชัย แก้วกิริยา. การออกแบบและพัฒนาบทเรียน M-learn รูปแบบ เกมมัลติมีเดียสำหรับ iOS และ Android. 2558;33(1):120-135.
7. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สำนักงานทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. 2543.
8. ศยามน อินสะอาด. การออกแบบบทเรียน e-Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. 2561.
9. มนัสนิต ใจดี, ชนัฎนภา พิทยานุรักษ์, วิมาน ใจดี. ผลการใช้ m-Learning วิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ร่วมกับการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสงวนหญิง. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. 2565;10(1):308-319.
10. Dewey J. How We Think: A Restatement of the Relation of Reflective Thinking to the Educative Process. Boston : D.C. Heath & Co Publishers. 1993.
11. อุมาพร แก้วทา และ ทศพร แสงสว่าง. การพัฒนาบทเรียนผ่านสมาร์ทโฟนตามแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาเว็บไซต์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 2558;3(2):69-86.
12. พาตีฮะห์ แซนา, ฮานีบะห์ เจ๊ะเล๊าะ, ฟูไดละห์ ดือมอ. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแอปพลิเคชัน เรื่อง อัลกอริทึมเบื้องต้น ในรายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ยะลา, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา: เอกสารสืบเนื่องจากงานประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ ครั้งที่ 8 และงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ ครั้งที่ 1; 2566. หน้า 447-456.
13. พัชชา รวยจินดา และ ดิเรก เอกบวรวงศ์. การเปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อการเรียนออนไลน์รูปแบบวิดีโอและถ่ายทอดสดของนักศึกษาแพทย์ปี 4 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 2563;15(2):1-12.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.