การพัฒนาระบบสินค้าเกษตรร้านก้าวฉัตรไท ตำบลปราสาททอง อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ปริญญาภรณ์ สมัครสมาน คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • สุพรรณี เปาป่า คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • สุธิสา ทองเหลี่อม คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • จันทร์ดารา สุขสาม คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • ปิยะ แก้วบัวดี คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jcct.2023.10

คำสำคัญ:

เอสดีแอลซี, ระบบสินค้าเกษตร, ร้านก้าวฉัตรไท

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสินค้าเกษตรร้านก้าวฉัตรไท ตำบลปราสาททอง อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสินค้าเกษตรร้านก้าวฉัตรไท วิธีการศึกษาและพัฒนาระบบใช้กระบวนการของวงจรการพัฒนาระบบเอสดีแอลซี ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานร้านก้าวฉัตรไท จำนวน 10 คน และผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินประสิทธิภาพระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระบบมีผู้ใช้งงาน 2 ประเภท คือ ผู้ดูแลระบบและลูกค้า ความสามารถของระบบคือสามารถจัดการข้อมูลผู้ใช้งานระบบ ข้อมูลสินค้า ข้อมูลประเภทสินค้า ข้อมูลบริษัทผู้ผลิต ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการรับสินค้า ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า ออกรายงาน และพิมพ์ใบเสร็จได้ ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อระบบที่พัฒนาขึ้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก

Downloads

References

1. กรมอนามัย. คำแนะนำกรมอนามัยสำหรับ 6 กิจการที่ได้รับการผ่อนปรน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2566]. สืบค้นจาก: https://bkpho.moph.go.th/bungkanpho/uploads/media/2020050509050211_คำแนะนำกรมอนามัย_สำหรับ_6_กิจการที่ผ่อนปรน_.pdf.

2. ปฐมพงษ์ หอมศรี และ จักรพรรณ คงธนะ. การพัฒนาระบบการจัดการสินค้าคงคลัง : กรณีศึกษาบริษัทติดตั้ง และบำรุงรักษาเครื่องจักรของโรงงาน SME. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 2557;7(2):42-56.

3. Rattanatat. วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2566]. สืบค้นจาก: https://dol.dip.go.th/th/category/2019-02-08-08-57-30/2019-03-15-11-06-29.

4. การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลร้านค้าชุมชน กรณีศึกษาศูนย์สาธิตการเกษตรร้านค้าชุมชนตำบลท่าเสา. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2564;11(2):121–131.

5. จรรยา เกษวิทย, อารยา นุ่มนิ่ม, ชัยวัฒน์ สมศรี, เกตุสิรี โพธิ์แสร, พรรณี สีอ่อน. ระบบบริหารจัดการสินค้าคงคลัง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรสุรากลั่นชุมชนบ้านป่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. ตาก, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา: เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 5 เล่ม 2 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์; 2561. หน้า 386-390.

6. อรฉัตร อินสว่าง. การพัฒนาแอปพลิเคชัน ด้วยวงจรพัฒนาระบบ SDLC สําหรับการซื้อขายผลผลิตเกษตรอินทรีย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 2564.

7. ดาวรถา วีระพันธ์, นฤพนธ์ พรหมศร, วิวัฒน์ ชินนาทศิริกุล. การพัฒนาระบบบริหารร้านขายอุปกรณ์การเกษตร กรณีศึกษาร้านต้นหวายต้นหว้า. พระนครศรีอยุธยา, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์: เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 8; 2564. หน้า 789-799.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-12-2023

How to Cite

สมัครสมาน ป., เปาป่า ส., ทองเหลี่อม ส., สุขสาม จ., & แก้วบัวดี ป. (2023). การพัฒนาระบบสินค้าเกษตรร้านก้าวฉัตรไท ตำบลปราสาททอง อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. วารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์, 1(2), 29–35. https://doi.org/10.14456/jcct.2023.10