Publication Ethics


จริยธรรมการตีพิมพ์

บทนำ
     วารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์ (Journal of Computer and Creative Technology) ได้กำหนดจริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication Ethics) สอดคล้องกับมาตรฐานทางจริยธรรมของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ (Committee on Publication Ethics : COPE) และประกาศศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย เรื่อง การประเมินด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวารสารวิชาการไทยในฐานข้อมูล TCI พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 และประกาศแก้ไขเพิ่มเติม เรื่อง การประเมินด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวารสารวิชาการไทยในฐานข้อมูล TCI พ.ศ. 2566 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 ประกอบด้วย จริยธรรมของบรรณาธิการ (Editors) จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Reviewer) และจริยธรรมของผู้นิพนธ์ (Author) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

จริยธรรมของบรรณาธิการ (Editors)
     บรรณาธิการ ประกอบด้วย บรรณาธิการ (Editor-in-Chief) บรรณาธิการประจำเรื่อง (Section Editor) และกองบรรณาธิการ (Editorial Board) มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานวารสาร ดังนี้
        1. จัดทำวารสารให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre : TCI)
        2. กำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์การเผยแพร่บทความ การเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ จัดทำคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ รูปแบบการเขียนบทความ รูปแบบการอ้างอิงที่มีมาตรฐานสากล และเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์
        3. พิจารณาบทความเบื้องต้นตามขอบเขตของวารสาร รูปแบบการเขียนบทความและการอ้างอิงที่ถูกต้อง หลีกเลี่ยงการดำเนินงานที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน
        4. ตรวจสอบการตีพิมพ์ซ้ำ (Duplications) ข้อมูลการวิจัยซ้ำซ้อน (Similarities) การคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) การคัดลอกผลงานของตนเอง (Self-Plagiarism) รวมถึงไม่มีการอ้างอิงอย่างถูกต้อง (Citation) ในบทความ ทั้งนี้ให้พิจารณาปฏิเสธ (Rejected) บทความที่มีการคัดลอกผลงานดังกล่าวทันที
        5. หากบทความใดได้เผยแพร่แล้ว และมีรายงานการละเมิดจริยธรรมในข้อ 4 เมื่อกองบรรณาธิการพิจารณามีมติให้ถอดบทความออกจากวารสาร บทความจะต้องถูกถอดออกโดยการติดข้อความลายน้ำทุกหน้าด้วยข้อความ “Retracted”
        6. ประเมินคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์โดยเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบทความ
        7. ติดตามการประเมินคุณภาพของบทความโดยผู้ประเมินให้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้
        8. กำหนดบรรณาธิการประจำเรื่องจากกองบรรณาธิการในการดูแล กำกับและติดตามกระบวนการประเมินคุณภาพของบทความแต่ละเรื่องอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยบรรณาธิการประจำเรื่องจะต้องดูแลกระบวนการประเมินคุณภาพของบทความในแต่ละเรื่องที่ได้รับมอบหมาย พิจารณากลั่นกรอง สรรหา คัดเลือก และจัดส่งบทความไปยังผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความที่ตรงกับสาขาวิชาของบทความนั้น ๆ ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงคุณภาพของบทความ และให้ข้อเสนอแนะการตัดสินผลการพิจารณาคุณภาพของบทความต่อบรรณาธิการ
        9. บรรณาธิการต้องตัดสินผลการพิจารณาคุณภาพของบทความจากผลการประเมิน ดังนี้
            9.1 การรับตีพิมพ์ (Accepted) หลังจากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความครบ 3 ท่าน ซึ่งหากผู้ทรงคุณวุฒิท่านใดขอให้ส่งบทความที่แก้ไขแล้วใหม่เพื่อประเมินอีกครั้ง จะต้องผ่านผู้ทรงคุณวุฒิอีกครั้งก่อนตัดสินผลการพิจารณา และต้องผ่านอย่างน้อย 2 ใน 3 ท่าน
            9.2 การปฏิเสธ (Rejected) จะต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาปฏิเสธการตีพิมพ์อย่างน้อย 2 ท่าน และแจ้งผู้นิพนธ์พร้อมหลักฐานเชิงประจักษ์ หากผู้นิพนธ์มีหลักฐานโต้แย้งผลการประเมิน ให้บรรณาธิการนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาร่วมกับกองบรรณาธิการและให้แจ้งผลการพิจารณาต่อผู้นิพนธ์ ทั้งนี้การตัดสินของกองบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด
        10. ออกใบตอบรับจะออกให้หลังจากที่บทความได้รับการรับตีพิมพ์ (Accept Submission) ในระบบเท่านั้น
        11. กำหนดให้บรรณาธิการเป็นบรรณาธิกรในการตรวจสอบบทความก่อนเผยแพร่ผ่านระบบ ThaiJo และจัดทำเล่ม
        12. จัดทำวารสารให้เผยแพร่ตรงตามกำหนดเวลาออกของวารสารอย่างเคร่งครัด

จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Reviewers)
        1. พิจารณาเลือกประเมินบทความที่ไม่เกี่ยวข้องกับตน หรือมีส่วนได้ส่วนเสีย หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน และเลือกประเมินบทความที่ตรงตามสาขาวิชาที่ตน หรือมีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาของบทความนั้น และพิจารณาระยะเวลาในการประเมินให้สามารถประเมินบทความและนำส่งผลการประเมินตามระยะเวลาที่กำหนด
        2. ตรวจสอบการตีพิมพ์ซ้ำ (Duplications) ข้อมูลการวิจัยซ้ำซ้อน (Similarities) การคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) การคัดลอกผลงานของตนเอง (Self-Plagiarism) รวมถึงไม่มีการอ้างอิงอย่างถูกต้อง (Citation) ในบทความ ทั้งนี้ให้พิจารณาปฏิเสธ (Rejected) บทความที่มีการคัดลอกผลงานดังกล่าวทันที
        3. ประเมินคุณภาพของบทความวิชาการและบทความวิจัยตามหลักทางวิชาการ ตรวจสอบรูปแบบพร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อผู้นิพนธ์และผู้อ่าน
        4. ประเมินบทความและนำส่งผลการประเมินตามระยะเวลาที่กำหนด
        5. สรุปผลการประเมินคุณภาพบทความ ดังนี้ 1) รับตีพิมพ์บทความโดยไม่ต้องแก้ไข (Accept Submission) 2) แก้ไขบทความโดยให้บรรณาธิการพิจารณาต่อ (Revisions Required) 3) แก้ไขบทความโดยผู้ประเมินขอให้ส่งกลับมาตรวจสอบอีกครั้ง (Resubmit for Review) และ 4) ไม่รับตีพิมพ์บทความ (Decline Submission)
        6. หากผลการประเมิน คือ แก้ไขบทความโดยผู้ประเมินขอให้ส่งกลับมาตรวจสอบอีกครั้ง (Resubmit for Review) ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องประเมินอีกครั้งในรอบใหม่ และส่งผลการประเมินตามระยะเวลาที่กำหนด

จริยธรรมของผู้นิพนธ์ (Authors)
        1. พิจารณาขอบเขตของวารสาร รูปแบบการเขียนบทความ การอ้างอิงที่ถูกต้อง และเขียนบทความตามคำแนะนำสำหรับ ผู้นิพนธ์
        2. ผู้นิพนธ์จะต้องไม่ตีพิมพ์ซ้ำ (Duplications) ไม่เขียนข้อมูลการวิจัยซ้ำซ้อน (Similarities) ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) ไม่คัดลอกผลงานของตนเอง (Self-Plagiarism) และต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลอย่างถูกต้อง (Citation)
        3. หากบทความมีเนื้อหาที่สร้างจากระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) จะต้องทำข้อมูลเชิงอรรถ (Footnote)
        4. บทความที่จัดส่งจะต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาจากวารสารหรืองานประชุมวิชาการอื่น และต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือบทความฉบับเต็มในวารสารหรือเอกสารสืบเนื่องจากงานประชุมวิชาการ (ยกเว้นการตีพิมพ์ที่รวบรวมเฉพาะบทคัดย่อ)
        5. การจัดส่งบทความจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนการดำเนินงานของวารสารและจะต้องติดตามบทความผ่านระบบ ThaiJo และอีเมล จนสิ้นสุดกระบวนการของวารสาร
        6. กรณีต้องการโต้แย้งการตัดสินผลการพิจารณาบทความ จะต้องอธิบายต่อบรรณาธิการให้ชัดเจนพร้อมหลักฐาน ประกอบการ เพื่อเป็นข้อมูลการพิจารณาตัดสินผลการพิจารณาบทความอีกครั้งโดยกองบรรณาธิการ

หมายเหตุ: แปลและปรับปรุงข้อมูลจาก Committee on Publication Ethics (https://publicationethics.org) ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (https://tci-thailand.org)
ปรับปรุงข้อมูล: วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2568