ระดับความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในชั้นเรียนที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด
DOI:
https://doi.org/10.14456/jcct.2024.2คำสำคัญ:
ระดับความเข้าใจทางคณิตศาสตร์, การศึกษาชั้นเรียน, วิธีการแบบเปิด, ระดับพัฒนาการด้านผลสัมฤทธิ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อศึกษาระดับพัฒนาการด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนบ้านบึงกาฬ จำนวน 28 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกภาคสนาม เครื่องบันทึกเสียง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ในการจัดการเรียนรู้แบบเปิดผู้เรียนมีความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ในทุกระดับ เมื่อพิจารณาใน ขั้นที่ 1 ขั้นนําเสนอสถานการณ์ปัญหา นักเรียนมีความเข้าใจในระดับจัดกระทำ กระบวนการและบางส่วนมีความเข้าใจในระดับวัตถุ ขั้นที่ 2 ขั้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง นักเรียนมีความเข้าใจในระดับการจัดกระทำ ระดับกระบวนการ และระดับวัตถุ ขั้นที่ 3 ขั้นการนําเสนอแนวคิดและอภิปรายแนวคิดร่วมกัน นักเรียนมีความเข้าใจในระดับกระบวนการและระดับวัตถุ และขั้นที่ 4 ขั้นการสรุปบทเรียนจากการเชื่อมโยงแนวคิด นักเรียนสามารถเชื่อมโยง และมีความเข้าใจในระดับวัตถุ ให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างเชิงการรู้ได้ นอกจากนี้ 2) นักเรียนส่วนใหญ่มีระดับพัฒนาการทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องการหาร อยู่ในระดับพัฒนาการระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 53.57
Downloads
References
1. กระทรวงศึกษาธิการ. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2560.
2. ศราวุฒิ จำวัน และ หล้า ภวภูตานนท์. การพัฒนาความเข้าใจทางคณิตศาสตร์เรื่องพาราโบลา ตามแนวคิด APOS โดยใช้โปรแกรม GPS เป็นเครื่องมือ. ขอนแก่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น: เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ The National and International Graduate Research Conference 2016; 2559. หน้า 981-988.
3. Pirie SEB and Schwarzenberger RLE. Mathematical Discussion and Mathematical Understanding. Educational Studies in Mathematics. 1988;19:459-470. doi: 10.1007/BF00578694.
4. Pirie S and Kieren. Growth in Mathematical Understanding: How can we characterize it and how can we represent it?. Educational Studies in Mathematics. 1994;26:165-190. doi: 10.1007/BF01273662.
5. Inprasitha M. Lesson Study and Open Approach Development in Thailand: A Longitudinal Study. International Journal for Lesson and Learning Studies. 2022;11(5):1-15. doi: 10.1108/IJLLS-04-2021-0029.
6. Nohda N. Teaching by Open-Approach Method in Japanese Mathematics Classroom. In Proceedings 24th of the Conference of the International Group for the Psychology of Mathematics Education, Nakahara T and Koyama M, Editor. Japan : Hiroshima University. 2000;1:39-53.
7. ธนินท์ วดีศิริศักดิ์ และ เอื้อจิตร พัฒนจักร. การวิเคราะห์ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนผ่านการแสดงแทน ในลำดับกิจกรรมการสอนการแก้สถานการณ์ปัญหาปลายเปิด. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 2565;11(6): R140-R154.
8. ลัดดาวัลย์ บวรศักดิ์, อาริยา สุริยนต์, สฤษดิ์ ศรีขาว. การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในชั้นเรียนที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 2566;18(3):54-63.
9. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. ขอนแก่น : เพ็ญปริ้นติ้ง. 2557.
10. วิภาวดี บุญไชยศรี. การศึกษาผลการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ของ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง จำนวนนับที่มากกว่า 100,000 โดยใช้วิธีการเปิด (Open Approach) จากหนังสือแบบเรียนญี่ปุ่น ในบริบทนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study). วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู. 2565;2(1):33-46.
11. เทพธิทัต เขียวคำ และ เจนสมุทร แสงพันธ์. วิธีปฏิบัติเชิงการสอนในการนำแนวคิดทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการคูณของนักเรียนไปสู่การบรรลุจุดประสงค์ของบทเรียนเรื่องการคูณ: เน้นขั้นการสอนและการสังเกตชั้นเรียนร่วมกันในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. วารสารศึกษาศาสตร์. 2563;22(4):101-113.
12. ธวัตรชัย เดนชา, เกียรติ แสงอรุณ, ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์, สมควร สีชมภู. ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง เลขยกกำลัง ในชั้นเรียนที่ใช้การสอนด้วยวิธีการแบบเปิด. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 2558;8(2):1719-1734.
13. Dubinsky E and McDonald MA. APOS: A Constructivist Theory of Learning in Undergraduate Mathematics Education Research. [Internet]. [Retrieved December 21st, 2023]. Available from: https://www.math.kent.edu/~edd/ICMIPaper.pdf.
14. วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี–สฤษดิ์วงศ์. 2557.
15. Inprasitha M. One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand: Designing Learning Unit. Gyeongju, Dongkook University: Proceeding of the 45th Korean National Meeting of Mathematics Education; 2010. 193-206.
16. ศิริชัย กาญจนวาสี. การคำนวณคะแนนพัฒนาการ (GainScores). สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย. 2557;1(1):1-20.
17. สุดาพร ติ๊บปาละ และ ศานิตย์ ศรีคุณ. ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับการฝึกเชิงพุทธิปัญญาเพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังเหนือวิทยา จังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 2565;10(1):61-85.
18. ซูฟูวัน เจะแต และ เอกรินทร์ สังทอง. การนำนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด สู่การปฏิบัติในสถานศึกษากรณีศึกษา: โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 2566;10(3):63-80.
19. อริษา คำโหมด และ สิทธิพล อาจอินทร์. การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา (Polya). วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2562;13(2):95-105.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.