ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ รายวิชาออกแบบกราฟิก สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • กรนาริน สาริยา สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • อนล สวนประดิษฐ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://orcid.org/0009-0005-1551-4113
  • บรรพต วงศ์ทองเจริญ สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jcct.2023.7

คำสำคัญ:

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ, ออกแบบกราฟิก, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ รายวิชาออกแบบกราฟิก สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกฑณ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2565 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า E1/E2 และทดสอบสมมุติฐาน ด้วย t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.20/ 84.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียน หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48

Downloads

References

1. กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. 2543.

2. ประหยัด จิระวรพงศ์. การบูรณาการไอซีทีสำหรับครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2553;12(2):157-167.

3. ศิริชัย สงวนแก้ว. แนวทางการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. คอมพิวเตอร์รีวิว. 2534; 8(78):173-179.

4. วุฒิชัย ประสารสอย. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นวัตกรรมเพื่อการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วน วีเจ พริ้นติ้ง. 2543.

5. ไพโรจน์ ตีรณธนากุล และ ไพบูลย์ เกียรติโกมล. Creating IMMCAI Package. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 2541;1(2):14-18.

6. ใจทิพย์ ณ สงขลา. การสอนผ่านเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ. วารสารครุศาสตร์. 2542;27(3):18-28.

7. วิชุดา รัตนเพียร. การเรียนการสอนผ่านเว็บ: ทางเลือกใหม่ของเทคโนโลยีการศึกษาไทย. วารสารครุศาสตร์. 2542;27(3):29-35.

8. ถนอมพร เลาจรัสแสง. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2541.

9. ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 2553.

10. บุญชม ศรีสะอาด. วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 2556.

11. นารี ผามั่น. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการวัดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560.

12. ชนม์ขนิษฐ์ วิศิษฎ์สมบัติ. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการออกแบบโฮมเพจสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยศรีปทุม. 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-12-2023

How to Cite

สาริยา ก., สวนประดิษฐ์ อ., & วงศ์ทองเจริญ บ. (2023). ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ รายวิชาออกแบบกราฟิก สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์, 1(2), 7–14. https://doi.org/10.14456/jcct.2023.7