การพัฒนาเว็บไซต์สถานที่ท่องเที่ยวตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • เอกสิทธิ์ จันทร์สด คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • รัตนากร กิ่งมาลา คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • จันทร์ดารา สุขสาม คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • วินิต ยืนยิ่ง คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jcct.2023.3

คำสำคัญ:

การพัฒนาเว็บไซต์, การประชาสัมพันธ์, การท่องเที่ยวโดยชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเว็บไซต์สถานที่ท่องเที่ยวตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้น โดยใช้แนวคิดแนวคิดการประชาสัมพันธ์ แนวคิดเว็บไซต์ และแนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน วิธีการเก็บข้อมูลความต้องการของเว็บไซต์โดยการสัมภาษณ์ตัวแทนชุมชน จำนวน 10 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และการเก็บข้อมูลความพึงพอใจของผู้ใช้งานเว็บไซต์ด้วยแบบสอบถาม จากกลุ่มเป้าหมาย คือ ตัวแทนชุมชน จำนวน 20 คน และนักท่องเที่ยว จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า เว็บไซต์แบ่งผู้ใช้งานออกเป็น 2 ประเภท คือ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้งาน โดยเว็บไซต์สามารถจัดการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลอัลบั้มภาพ ข้อมูลวิดีโอ ข้อมูลสมุดเยี่ยม และข้อมูลผู้ใช้งาน เมื่อทดสอบประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก และผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้น พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก

Downloads

References

1. O. T. K. คนไทยเข้าเว็บอะไรมากที่สุด? เช็คสถิติการใช้สื่อดิจิทัล อินเทอร์เน็ต ของคนไทย ปี 2023. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2566]. สืบค้นจาก: https://droidsans.com/the-state-of-digita-in-thailand-in-2023.

2. กฤษฎารัตน์ วัฒนสุวรรณ และ อรทัย เลิศวรรณวิทย์. รูปแบบการค้นหาข้อมูลของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการวางแผนท่องเที่ยว. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2565;28(2):143-163.

3. องค์การบริหารส่วนตำบลแนงมุด. แหล่งท่องเที่ยว. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2566]. สืบค้นจาก: http://www.nangmud.go.th/travel.

4. กิจติพงษ์ ประชาชิต. การรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสื่อโฆษณาดิจิทัล ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชาวกูยจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารรัตนปัญญา. 2563; 5(1):51-66.

5. พจนา สวนศรี และ สมภพ ยี่จอหอ. คู่มือมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. เชียงใหม่ : สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน มหาวิทยาลัยพายัพ. 2556.

6. วิภัคฉณัฏฐ์ นิมิตรพันธ์ และ ศิริจันทรา พลกนิษฐ. กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ภายใต้สื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2559; 6(1):21-31.

7. ฐิตาภรณ์ วรรณทิม และ สุพรรณี เดชารัมย์. การพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านป่าโมง ตำบลภูเงิน อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2563.

8. พิมาย วงค์ทา, มินทร์ตรา ฉัตรแก้ว, วนิดา บุตรโชติ, อารยา อริยา. การพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาวัดของอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 2564; 1(1):39-47.

9. ซรัยเมาว์ ชาน, ศุภวัฒน์ บุญปก, วินิต ยืนยิ่ง, จันทร์ดารา สุขสาม. การพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งรัตนโกสินทร์. 2564; 2(3):154-166.

10. อัศม์เดช เตชัสพิสิษฐ์, ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์, ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. การพัฒนารูปแบบและเนื้อหาของเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเขตอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. วารสาร บัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 2561; 16(1):183-192.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2023

How to Cite

จันทร์สด เ., กิ่งมาลา ร., สุขสาม จ., & ยืนยิ่ง ว. (2023). การพัฒนาเว็บไซต์สถานที่ท่องเที่ยวตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์. วารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์, 1(1), 14–20. https://doi.org/10.14456/jcct.2023.3