การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • พิจารณาขอบเขตของวารสาร รูปแบบการเขียนบทความ การอ้างอิงที่ถูกต้อง และเขียนบทความตามคำแนะนำสำหรับ ผู้นิพนธ์
  • ผู้นิพนธ์จะต้องไม่ตีพิมพ์ซ้ำ (Duplications) ไม่เขียนข้อมูลการวิจัยซ้ำซ้อน (Similarities) ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) ไม่คัดลอกผลงานของตนเอง (Self-Plagiarism)
  • หากบทความมีเนื้อหาที่สร้างจากระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) จะต้องทำข้อมูลเชิงอรรถ (Footnote)
  • บทความที่จัดส่งจะต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาจากวารสารหรืองานประชุมวิชาการอื่น และต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือบทความฉบับเต็มในวารสารหรือเอกสารสืบเนื่องจากงานประชุมวิชาการ
  • การจัดส่งบทความจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนการดำเนินงานของวารสารและจะต้องติดตามบทความผ่านระบบ ThaiJo และอีเมล จนสิ้นสุดกระบวนการของวารสาร
  • กรณีต้องการโต้แย้งการตัดสินผลการพิจารณาบทความ จะต้องอธิบายต่อบรรณาธิการให้ชัดเจนพร้อมหลักฐาน ประกอบการ เพื่อเป็นข้อมูลการพิจารณาตัดสินผลการพิจารณาบทความอีกครั้งโดยกองบรรณาธิการ

คำแนะนำผู้แต่ง

ขอบเขตของวารสาร วารสารรับพิจารณาสาขาของบทความตามขอบเขตของวารสาร ดังนี้

1) การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเพื่อการวิจัย พัฒนา และสร้างสรรค์
ขอบเขต ได้แก่ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีดิจิทัล คอมพิวเตอร์ธุรกิจ คอมพิวเตอร์ศึกษา เทคโนโลยีสื่อประสม ตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมสำหรับการแก้ปัญหาหรือเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อการวิจัย พัฒนา และสร้างสรรค์

2) การศึกษาและบูรณาการสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต ขอบเขต ได้แก่ การจัดการระบบนิเวศการเรียนรู้ นวัตกรรม คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

3) สหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและสังคม ขอตเขต ได้แก่ สหวิทยาการและบูรณาการความรู้ทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี รวมทั้งทักษะที่จำเป็นเพื่อใช้ในการพัฒนาอาชีพ ท้องถิ่น และสังคม รวมไปถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของตน ชุมชน สังคม ประเทศชาติและสากล

เงื่อนไขการตีพิมพ์เผยแพร่กรณีความซ้ำซ้อนกับเอกสารที่ถูกเผยแพร่ไปแล้ว
1. บทความวิชาการ ตรวจสอบด้วย CopyCatch จะต้องน้อยกว่า 20.0% หรือตรวจสอบด้วย อักขราวิสุทธิ์ จะต้องน้อยกว่า 20.0%
2. บทความวิจัย ตรวจสอบด้วย CopyCatch จะต้องน้อยกว่า 20.0% หรือตรวจสอบด้วย อักขราวิสุทธิ์ จะต้องน้อยกว่า 20.0%

ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ในทุกขั้นตอนการทำงานของวารสาร

(อย่างไรก็ตาม วารสารมีนโยบายจะเรียกเก็บค่าตีพิมพ์สำหรับบทความที่ส่งเข้าระบบ ในปีที่ 3 ฉบับที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป)

จริยธรรมการตีพิมพ์
Template บทความวิจัย (ไทย)
Template บทความวิชาการ (ไทย)
Template บทความวิจัย (อังกฤษ)
Template บทความวิชาการ (อังกฤษ)
แบบฟอร์มการโอนลิขสิทธิ์
คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
ขั้นตอนการทำงานของวารสาร

บทความวิจัย

บทความวิจัย (Research Article) เป็นงานวิจัยที่มีขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย มีความชัดเจนในการแก้ไขปัญหา และผลงานวิจัยพบองค์ความรู้ใหม่ที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิชาการหรือนำไปใช้ประโยชน์ ประกอบด้วย บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ วัตถุประสงค์งานวิจัย กรอบแนวคิดงานวิจัย การทบทวนวรรณกรรม วิธีดำเนินงานวิจัย ผลการวิจัย สรุปผลและอภิปรายผลการวิจัย ข้อเสนอแนะงานวิจัย กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) เอกสารอ้างอิง

บทความวิชาการ

บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความทางวิชาการที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการถูกต้อง มีแนวคิดและการนำเสนอที่ชัดเจนเป็นประโยชน์ต่องานวิชาการ ประกอบด้วย บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ เนื้อหาส่วนที่ 1 มีหัวข้อเกี่ยวกับชื่อเรื่องเพื่อปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจของผู้อ่าน เนื้อหาส่วนที่ 2 มีหัวข้อเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล การใช้เหตุผลประกอบ การวิพากษ์วิจารณ์ การเพิ่มประเด็นโต้แย้งเพื่อแสดงให้ผู้อ่านเห็นถึงแนวความคิดของผู้เขียนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทความ ทั้งนี้จะต้องมีทฤษฎีและหลักฐานอ้างอิงตามหลักวิชาการ เนื้อหาส่วนที่ 3 มีหัวข้อเกี่ยวกับการเสนอความคิดเห็น แนวทางการแก้ไขปัญหา หรือข้อเสนอแนะ บทสรุป กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) เอกสารอ้างอิง

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ