การปรับตัวของสถานประกอบการในการจ้างแรงงานภายใต้นโยบายค่าแรงงานขั้นต่ำเกิน 300 บาท กรณีศึกษาสถานประกอบการภาคบริการในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

อดุลยเดช ตันแก้ว
ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปรับตัวของสถานประกอบการภาคบริการในจังหวัดอุบลราชธานี ในการจ้างแรงงานภายใต้นโยบายค่าแรงขั้นต่ำเกิน 300 บาท และเพื่อเปรียบเทียบการปรับตัวของสถานประกอบการภาคบริการในจังหวัดอุบลราชธานี ในการจ้างแรงงานภายใต้นโยบายค่าแรงขั้นต่ำเกิน 300 บาท จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของสถานประกอบการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการภาคบริการ ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 390 คน โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิจัย เท่ากับ .84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า F ผลการวิจัย พบว่า การปรับตัวในการจ้างแรงงานภายใต้นโยบายค่าแรงขั้นต่ำเกิน 300 บาทโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านสินค้า ด้านการให้ความร่วมมือกับภาครัฐ ด้านสภาพคล่องทางการเงิน ด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ด้านพฤติกรรมลูกจ้าง ด้านการคุกคามของคู่แข่ง ด้านประสิทธิผลจากการทำงานของเครื่องจักร  ด้านประสิทธิภาพของการจัดการ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผู้ประกอบการที่มีข้อมูลส่วนบุคลต่างกัน พบว่าผู้ประกอบการที่มีตำแหน่งต่างกันมีการปรับตัวแตกต่างกันในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้ประกอบการที่มีประเภทของสถานประกอบการต่างกันมีการปรับตัวแตกต่างกันในด้านพฤติกรรมลูกจ้าง ด้านประสิทธิผลจากการทำงานของเครื่องจักร  ด้านประสิทธิภาพของการจัดการ ด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า การให้ความร่วมมือกับภาครัฐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้ประกอบการที่มีขนาดของสถานประกอบการต่างกัน มีการปรับตัวแตกต่างกันในด้านพฤติกรรมลูกจ้าง และด้านการให้ความร่วมมือกับภาครัฐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

อดุลยเดช ตันแก้ว

สาขาวิชาการจัดการข้อมูลธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช

สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

กัลยา ปัญญาไชย. (2556). ความสัมพันธ์ของข้อมูลส่วนบุคคลที่มีต่อปัจจัยในการตัดสินใจลาออกของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ฉมาดนัย มากนวล. (2565). การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เครื่องมือลดความเหลื่อมล้าในตลาดแรงงานกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย, Research Note, Krungthai Campus. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2565. จาก https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_1841Research_Note_19_09_65.pdf

ทีมเศรษฐกิจ. (2555). นับถอยหลังค่าแรง 300 บาท รัฐบาล-เอกชนต้องร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2565, จาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์: https://www.thairath.co.th/content/307006

ธันยพร บัวทอง, 2023. ค่าแรงขั้นต่ำ: เทียบนโยบายขึ้นค่าแรง 300 บาทสมัยยิ่งลักษณ์ กับ 450 บาท ก้าวไกล กระทบเศรษฐกิจไทยแค่ไหน . สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2566, จาก หนังสือพิมพ BBCNEWS ไทย: https://www.bbc.com/thai/articles/c51q9616m10o

ประภาพร พฤกษะศรี. (2557). ปัจจัยค่าตอบแทนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศิริกัญญา ตันสกุล และเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ. (2557). 2 ปีค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท: สิ่งที่คาด..สิ่งที่เกิดขึ้นจริง.. สิ่งที่ต้องทำต่อ. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2565, จาก มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา: https://www.scribd.com/document/236213170/

เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ, ศิริกัญญา ตันสุกล และชุติมา เสนะวัต. (2556). 10 ปีงบประมาณไทย...เราเรียนรู้อะไร? สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2565, จาก มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา: https://thaipublica.org/wp-content/uploads/2013/06/Policy-Watch_10Y-Budget_Jun2013-1.pdf

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (มีนาคม 2557). ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากนโยบายค่าจ้าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท. กรุงเทพฯ: รายงานทีดีอาร์ไอ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สำมะโนอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560 (ข้อมูลพื้นฐาน) จังหวัดอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2565, จาก สำนักงานสำนักงานสถิติแห่งชาติ:http://statbbi.nso.go.th/ staticreport/page/sector/th/12.aspx

สุชน ทิพย์ทิพากร และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (พฤษภาคม–สิงหาคม 2558) แนวทางการปรับตัวของการประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน: กรณีศึกษา จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2) : 2271-2289.

Bodnár, K., Fadejeva, L., & Iordache, S. (2018). How do firms adjust to rises in the minimum wage? Survey evidence from Central and Eastern Europe. IZA J Labor Policy, 7 (11), 1-30. Retrieved from: https://doi.org/10.1186/s40173-018-0104-x

Card, David & Krueger, Alan B. (1995). Myth and Measurement: The New Economics of the Minimum Wage. (Twentieth-Anniversary Edition) Princeton University Press.

Institute of Management Accountants. (2015). Raising the Minimum Wage: Is It Bad for Business? Montvale, NJ: the association of accountants and financial professionals in business.

McKee, D. O., Varadarajan, P. R. & Pride, W. M. (1989). Strategic adaptability and firm performance: a market-contingent perspective. Journal of Marketing, 53, (3), 21-35.

Yamane, Taro. (1967). Statistics an Introductory Analysis. (2nd Edition). New York: Harper and Row.

Yu, O., Mankad, S. & Shunko, M. (2021). Research: When a Higher Minimum Wage Leads to Lower Compensation. Harvard Business review, (June 10), Retrieved from: https://hbr.org/2021/06/research-when-a-higher-minimum-wage-leads-to-lower-compensation