https://so13.tci-thaijo.org/index.php/SVNL/issue/feed วารสาร ศรีวนาลัยวิจัย (Journal of Srivanalai Vijai) 2024-01-03T14:38:34+07:00 ผศ.ดร.ปริญญา มูลสิน [email protected] Open Journal Systems <p>วารสารศรีวนาลัยวิจัย ได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานของคณาจารย์ นักวิจัยและบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้สู่ผู้เกี่ยวข้องได้นำไปใช้ประโยชน์ โดยเปิดรับบทความทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีกำหนดออกปีละ 2 ครั้ง คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม ของทุกปี</p> <p><strong>ประกาศ</strong></p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</strong></p> <p> 1.สำหรับบุคลากรในมหาวิทยาลัย บทความละ 2,000 บาท</p> <p> 2.สำหรับบุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัย บทความละ 3,000 บาท</p> <p> ในการส่งบทความผู้เขียนจะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของบทความตามแบบฟอร์มของวารสารและคำแนะนำสำหรับผู้เขียน หากไม่ปฏิบัติตาม กองบรรณาธิการวารสารขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้</p> <ol> <li>หากบทความมีความซ้ำซ้อนมากกว่า 20% จากการตรวจสอบของ CopyCatch จาก thaijo</li> <li>ผู้เขียนไม่ปฏิบัติตามรูปแบบของวารสารที่กำหนด</li> <li>บทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้พิจารณาบทความ หรือ</li> <li>ผู้ส่งบทความไม่ดำเนินการแก้ไขบทความตามระยะเวลาที่กำหนด (ไม่เกิน 1 เดือนหลังจากได้รับแจ้ง)</li> </ol> <p> ผู้เขียนสามารถชำระค่าธรรมเนียมผ่านบัญชี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เลขที่บัญชี 441-1-30591-9 เมื่อชำระแล้วให้ส่งหลักฐานแนบในระบบวารสาร และแนบส่งไฟล์หลักฐานไปที่ <a href="mailto:[email protected]">[email protected]</a></p> <p>ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป</p> https://so13.tci-thaijo.org/index.php/SVNL/article/view/484 รูปแบบการบริหารจัดการคัดแยกขยะก่อนทิ้งจากต้นทาง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2023-12-31T15:26:50+07:00 สัณชัย ยงกุลวณิช [email protected] อ าไพ ยงกุลวณิช [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการขยะบริเวณอาคารเรียน และพัฒนา รูปแบบการบริหารจัดการคัดแยกขยะก่อนทิ้งจากต้นทาง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี รวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีมีการจัดวางถังขยะในทุกอาคาร ส่วนใหญ่เป็นถัง ขยะแบบทิ้งขยะรวมทุกประเภท มีการคัดแยกขยะรีไซเคิลเพียงบางส่วน และมีตารางเวลาในการจัดเก็บแน่นอน ผล การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการคัดแยกขยะก่อนทิ้งจากต้นทางประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ลักษณะของถังขยะต้อง เหมาะสมส าหรับส่งเสริมการคัดแยกขยะก่อนทิ้งจากต้นทาง และมีกิจกรรมสอดแทรกในรายวิชาเรียนเพื่อให้ความรู้ และปฏิบัติการคัดแยกขยะก่อนทิ้งจากต้นทาง ผลประเมินความพึงพอใจในภาพรวมต่อรูปแบบบริหารจัดการคัดแยก ขยะก่อนทิ้งจากต้นทางอยู่ที่ระดับมาก ผลการทดลองพบว่าปริมาณขยะที่ต้องส่งท าลายลดร้อยละ 80 และสามารถ ใช้ประโยชน์จากขยะที่ถูกคัดแยกจากต้นทางได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 ของปริมาณขยะทั้งหมด มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานีควรก าหนดให้กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะก่อนทิ้งจากต้นทางถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียน การสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง และควรมีการใช้ถังขยะรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน มีลักษณะเหมาะสมส าหรับการคัด แยกขยะก่อนทิ้งจากต้นทาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัย</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/SVNL/article/view/504 การวิจัยพัฒนารูปแบบ ลวดลาย หัตถกรรมผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ บ้านกุ่ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก 2024-01-02T10:55:15+07:00 ปฐมพงศ์ เศวตศิริ [email protected] เจษฎา สายสุข [email protected] <p>การวิจัยพัฒนารูปแบบ ลวดลาย หัตถกรรมผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ บ้านกุ่ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีเพื่อเป็นของที่ระลึก ได้นำเอาภูมิปัญญา และอัตลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ และเสน่ห์ของพื้นที่ ที่มีทั้งแหล่งท่องเที่ยว วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิต ให้เป็นจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกในงานผลงานวิจัย การวิจัยพัฒนารูปแบบ ลวดลาย หัตถกรรมผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ บ้านกุ่ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ผู้วิจัยได้แบ่งการศึกษาและผลที่ได้ดังนี้ (1) เพื่อศึกษารูปแบบ ลวดลายการทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มทอผ้าฝ้ายจากสีธรรมชาติ บ้านกุ่ม อ.โขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกลักษณ์ของพื้นที่ และอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อนำเอามาเป็นการพัฒนาลวดลายที่ปรากฏในผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ บ้านกุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (2) จัดทำต้นแบบและประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกกลุ่มทอผ้าฝ้ายจากสีธรรมชาติ บ้านกุ่ม อ.โขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ผู้วิจัยได้สำรวจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการในการเลือกซื้อ เลือกใช้ ผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ และได้นำข้อมูลต่างๆมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบ (3) เพื่อศึกษาการตลาด และอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อใช้ในการออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของกลุ่มทอผ้าฝ้ายจากสีธรรมชาติ บ้านกุ่ม อ.โขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ผู้วิจัยได้นำหลักการส่วนผสมทางการตลาดมาเป็นต้นแบบในการเพิ่มช่องทาง และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก บ้านกลุ่ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนสามารถไปพัฒนาต่อยอด และเป็นผลิตภัณฑ์อีกชิ้นที่จะเป็นการประชาสัมพันธ์ทางกลุ่มอีกด้วย</p> <p>จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบและการผลิต ได้ทำการวิเคราะห์และสรุปแบบ&nbsp; โดยแบบที่ 2 อยู่ในระดับคะแนนมากที่สุด รองลงมาคือแบบที่ 1 และ 2 ตามลำดับ</p> <p>จากกลุ่มตัวอย่างเพื่อทดสอบถามความพึงพอใจจากการใช้งานผลิตภัณฑ์&nbsp; จำนวน&nbsp; 30 คน&nbsp; แบ่งเป็นเพศชายจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 56.6 และกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงจำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 43.4 ซึ่งอายยุส่วนมากอยู่ระหว่าง 31-35 ปี จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 33.3 มีอาชีพข้าราชการ จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 50 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้งานของผลงานการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายยอมสีธรรมชาติเพื่อเป็นสินค้าต้นแบบของชุมชน กลุ่มทอผ้าฝ้ายจากสีธรรมชาติ กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าฝ้ายจากสีธรรมชาติ บ้านกุ่ม อ.โขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 33 เกณฑ์คะแนน 4.61 อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด</p> <p><strong>คำสำคัญ : </strong>พัฒนา,รูปแบบ,ลวดลาย,หัตถกรรมผ้าฝ้าย,ย้อมสีธรรมชาติ, ของที่ระลึก</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/SVNL/article/view/487 กลวิธีการบรรเลงเครื่องสีในวงดนตรีไทย 2023-12-31T16:45:17+07:00 สมภพ เขียวมณี [email protected] สุพรรณี เหลือบุญชู [email protected] ดุษฎี มีป้อม [email protected] <p>งานวิจัย เรื่อง กลวิธีการบรรเลงสู่การสร้างสรรค์บทเพลงสำหรับเครื่องสีในวงดนตรีไทยมีวัตถุประสงค์&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เพื่อศึกษากลวิธีการบรรเลงเครื่องสีในวงดนตรีไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสาร งานวิจัย&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ที่เกี่ยวข้อง และการเก็บข้อมูลภาคสนาม วิเคราะห์ สังเคราะห์ต่อยอดองค์ความรู้สู่การสร้างสรรค์บทเพลง ผลการศึกษาพบว่า</p> <p>กลวิธีการบรรเลงเครื่องสีในวงดนตรีไทย มีดังนี้ กลวิธีการบรรเลงซอสามสาย 27 กลวิธี คือ การสีคู่ประสาน นิ้วควง พรมสายเปล่า พรมปิด พรมเปิด พรมจาก พรมคลึงนิ้ว พรมพิเศษ นิ้วประ สะบัดนิ้ว สะบัดคันชัก นิ้วกล้ำ นิ้วแอ้ ขยี้นิ้ว นิ้วนาคสะดุ้ง รูดนิ้ว สีดัง สีแผ่ว นิ้วชั่ง ปริบ สะอึก คันชักสายน้ำไหล คันชักแบบไกวเปล การสีแบบขับไม้ คันชักงูเลื้อย เปิดซอ ชะงักซอ และโยกนิ้ว กลวิธีการบรรเลงซอด้วงและซออู้ 20 กลวิธี ที่มีวิธีปฏิบัติเหมือนกัน คือ ควงนิ้ว พรมสายเปล่า พรมปิด พรมเปิด พรมจาก พรมคลึงนิ้ว พรมพิเศษ ประ สะบัดคันชัก สะบัดนิ้ว สะอึก สีดัง สีแผ่ว นิ้วแอ้ ปริบ นิ้วกล้ำ ขยี้คันชัก ขยี้นิ้ว รูดนิ้ว และโยกนิ้ว กลวิธีการบรรเลงที่หลากหลายทำให้เพลงมีความไพเราะ งดงามและมีความลุ่มลึกที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ของซอสามสาย ซอด้วง และซออู้ได้อย่างเด่นชัด</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/SVNL/article/view/492 เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่กับประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ 2023-12-31T20:52:30+07:00 วิศิษฏ์ ย่าพรหม [email protected] พิมุกต์ สมชอบ [email protected] รัตนภรณ์ แซ่ลี้ [email protected] อดุลยเดช ตันแล้ว [email protected] ดุสิต จักรศิลป์ [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่กับประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประสบการณ์ในการทำงาน และตำแหน่งงาน 2) ศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 200 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (<em>Cluster</em>&nbsp;Sampling) ใช้สหกรณ์อำเภอเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <p>ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งงาน มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนเพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ พบว่า แรงจูงใจด้านความสำเร็จของงาน ด้านการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงาน ด้านความรับผิดชอบ และด้านโอกาสก้าวหน้า มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ มี 3 ตัวแปร เรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้ คือ แรงจูงใจด้านความสำเร็จของงาน แรงจูงใจด้านความรับผิดชอบ และแรงจูงใจด้านการยอมรับนับถือ ซึ่งตัวแปรพยากรณ์ทั้งสามร่วมกันสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ ได้ร้อยละ 79.50</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/SVNL/article/view/510 การพัฒนาการตลาดและการเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 2024-01-03T13:59:46+07:00 อรรถกร จัตุกูล [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการตลาด เพื่อพัฒนาการตลาด และ เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพการตลาด และการแก้ปัญหาสำหรับผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในการวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมสัมภาษณ์และเก็บแบบสอบถามผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน หมู่บ้านละ 5 คน 19 หมู่บ้าน จำนวน 95 คน ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สภาพปัญหาการผลิต ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ขาดวัตถุดิบ เครื่องมือที่ทันสมัยขาดทักษะในการผลิตและนวัตกรรมใหม่ ด้านราคา (Price)&nbsp; ต้นทุนปัจจัยการผลิตสูง ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) ขาดการบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) จะเป็นแบบชาวบ้านผลิตแล้วนำไปขาย ขายหมดแล้วกลับบ้าน ขายไม่หมดเก็บไว้ขายต่อในวันต่อไป แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการตลาด และการแก้ปัญหาสำหรับผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ต้องมีการกำหนดตราสินค้า เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นของชุมชนใด ตราสินค้าเป็นสิ่งมีประโยชน์แก่ผู้บริโภคผู้บริโภคจะสามารถใช้ประสบการณ์ในอดีตมาช่วยในการตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ด้านราคา (Price) การกำหนดราคา ผู้กำหนดกลยุทธ์ราคาต้องคำนึงถึง กำลังซื้อของผู้บริโภค เน้นการใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น ด้านการจัดจำหน่าย (Place or Distribution) ผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลบ้านยางควรจัดทำตลาดชุมชนให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนนำสินค้ามาจัดจำหน่ายในตลาดได้ตลอดทั้งวัน จะช่วยเพิ่มรายได้ ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) เพื่อให้สินค้าที่นำมาขายๆ ได้มากขึ้นผู้ผลิตควรนำเอาวิธีการส่งเสริมการตลาดมาใช้เพื่อทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นโดยใช้วิธีการแจกสินค้าให้ทดลองใช้ ให้ชิมฟรี จุดจำหน่ายสินค้าควรมีป้ายชื่อสินค้าชื่อเจ้าของสินค้าและเบอร์โทรติดต่อ</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/SVNL/article/view/512 การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้บริโภคอำเภอปะคำจังหวัดบุรีรัมย์ 2024-01-03T14:24:04+07:00 เอกพล แสงศรี [email protected] <p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้บริโภคอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามลักษณะของประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือผู้บริโภคในพื้นที่อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ทำการทดสอบเครื่องมือโดยการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหา ใช้สถิติพื้นฐานและสถิติอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคในอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ให้ความสำคัญกับปัจจัยต่าง ๆ อยู่ในระดับมาก= 4.09 เมื่อพิจารณาปัจจัยแต่ละด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านราคามากที่สุด จากผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้บริโภคอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า 1) เพศที่ต่างกันมีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้บริโภค อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านกระบวนการ และด้านองค์ประกอบทางกายภาพแตกต่างกัน 2) อายุที่ต่างกันมีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้บริโภคอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านบุคคลและ องค์ประกอบด้านกายภาพต่างกัน 3) ระดับการศึกษาต่างกันมีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้บริโภคอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ในด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านบุคคลต่างกัน และ 4) รายได้เฉลี่ยต่างกันมีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้บริโภคในอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและ ด้านบุคคลต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/SVNL/article/view/494 การศึกษาความต้องการเข้าศึกษาต่อและความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2023-12-31T21:35:35+07:00 ดิฐพงษ์ อุเทศธำรง [email protected] นิสิต ภาคบุบผา [email protected] ชวฤทธิ์ ใจงาม [email protected] <p>การศึกษาความต้องการเข้าศึกษาต่อและความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นการวิจัยและพัฒนา (Survey Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย การสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการเข้าศึกษาต่อของนักเรียน และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 4 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และยโสธร จำนวน 40 คน ตลอดจนแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ นำมาสู่การออกแบบหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและมีความเหมาะสมในการจัดการศึกษาด้านดนตรี ผลการวิจัยพบว่า &nbsp;</p> <ol> <li class="show">ความต้องการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นเพศชายมากกว่า เพศหญิง มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี รองลงมาคือจังหวัดศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และยโสธร ตามลำดับ สมัครเข้าศึกษาในรอบที่ 1 มากที่สุด รองลงมาคือรอบที่ 2 รอบที่ 4 และรอบที่ 3 ตามลำดับ และเลือกเรียนปฏิบัติกีตาร์มากที่สุด รองลงมาคือปฏิบัติเครื่องลิ่มนิ้ว ปฏิบัติเครื่องสายตะวันตก ปฏิบัติเครื่องลมทองเหลือง และปฏิบัติเครื่องลมไม้ตามลำดับ สาเหตุที่สนใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้แก่ ใกล้บ้าน การเดินทางสะดวก บุคลากรมีศักยภาพสูง มหาวิทยาลัยมีความพร้อมจัดการศึกษา และมีกิจกรรม ให้นักศึกษาได้แสดงออกตลอดปีการศึกษา &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</li> <li class="show">ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.71, S.D. = 0.49) โดยด้านคุณธรรม จริยธรรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด&nbsp; (= 4.82, S.D. = 0.43) &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</li> </ol> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/SVNL/article/view/495 การศึกษากลยุทธ์การสร้างความจงรักภักดีของแฟนบอลไทยพรีเมียร์ลีก : กรณีศึกษา สโมสรชลบุรี เอฟซี 2023-12-31T21:49:57+07:00 ณรงค์ภัทร เกษมเกียรติสันติ [email protected] ชนิดาภา อัจฉฤกษ์ [email protected] ทิชากร ประทุมมา [email protected] ชุติญา หาญานุวัฒน์ [email protected] จารุพร ตั้งพัฒนกิจ [email protected] ทัชชกร สัมมะสุต [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ &nbsp;เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวแปรอิสระ ที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามการสร้างความจงรักภักดีของแฟนบอลสโมสรชลบุรี เอฟซี โดยผ่านตัวแปรคั่นกลางการมีส่วนร่วมของแฟนบอล และเพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวแปรอิสระ ที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามด้านการสร้างความจงรักภักดีของแฟนบอลสโมสรชลบุรี เอฟซี วิธีดำเนินการวิจัย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแฟนบอลสโมสรชลบุรี เอฟซี จำนวน 450 คน ผ่านวิธีการสุ่มแบบตามความสะดวกและการสุ่มแบบเจาะจง จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผ่านสถิติเชิงพรรณนาโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานผ่านการคำนวณวิธี Process เพื่อทดสอบค่าความสัมพันธ์ ผสมผสานกับสมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ เพื่อทดสอบค่าอิทธิพลที่ส่งผลต่อความจงรักภักดี ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านภาพลักษณ์สโมสร อัตลักษณ์สโมสร การขัดเกลาทางสังคม ชุมชนแบรนด์ และการทำการตลาดโดยใช้เนื้อหามีอิทธิพลส่งผลต่อความจงรักภักดีของแฟนบอลชลบุรี เอฟซี โดยส่งผ่านการมีส่วนร่วมของแฟนบอลเพียงบางส่วน หรือการมีส่วนร่วมเข้ามามีอิทธิพลในบางส่วน ส่วนปัจจัยด้านความสำเร็จของสโมสรไม่มีอิทธิพลส่งผลต่อความจงรักภักดีของแฟนบอล</p> <p>สรุปผลการวิจัย การเกิดความจงรักภักดีในแฟนบอลสโมสรชลบุรี เอฟซีมีอิทธิพลร่วมจากการมีส่วนร่วมของแฟนบอล ซึ่งเกิดได้จากสิ่งที่แฟนบอลได้รับรู้ทั้งภาพลักษณ์สโมสร อัตลักษณ์สโมสร การขัดเกลาทางสังคม การเป็นชุมชนของสโมสร และการตลาดโดยใช้เนื้อหา ส่วนด้านความสำเร็จของสโมสรที่ไม่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของแฟนบอล สโมสรจึงควรพัฒนาเป้าหมายและรูปแบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/SVNL/article/view/496 การปรับตัวของสถานประกอบการในการจ้างแรงงานภายใต้นโยบายค่าแรงงานขั้นต่ำเกิน 300 บาท กรณีศึกษาสถานประกอบการภาคบริการในจังหวัดอุบลราชธานี 2023-12-31T22:08:35+07:00 อดุลยเดช ตันแก้ว [email protected] ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช [email protected] <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปรับตัวของสถานประกอบการภาคบริการในจังหวัดอุบลราชธานี ในการจ้างแรงงานภายใต้นโยบายค่าแรงขั้นต่ำเกิน 300 บาท และเพื่อเปรียบเทียบการปรับตัวของสถานประกอบการภาคบริการในจังหวัดอุบลราชธานี ในการจ้างแรงงานภายใต้นโยบายค่าแรงขั้นต่ำเกิน 300 บาท จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของสถานประกอบการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการภาคบริการ ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 390 คน โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิจัย เท่ากับ .84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า F ผลการวิจัย พบว่า การปรับตัวในการจ้างแรงงานภายใต้นโยบายค่าแรงขั้นต่ำเกิน 300 บาทโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านสินค้า ด้านการให้ความร่วมมือกับภาครัฐ ด้านสภาพคล่องทางการเงิน ด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ด้านพฤติกรรมลูกจ้าง ด้านการคุกคามของคู่แข่ง ด้านประสิทธิผลจากการทำงานของเครื่องจักร&nbsp; ด้านประสิทธิภาพของการจัดการ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผู้ประกอบการที่มีข้อมูลส่วนบุคลต่างกัน พบว่าผู้ประกอบการที่มีตำแหน่งต่างกันมีการปรับตัวแตกต่างกันในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้ประกอบการที่มีประเภทของสถานประกอบการต่างกันมีการปรับตัวแตกต่างกันในด้านพฤติกรรมลูกจ้าง ด้านประสิทธิผลจากการทำงานของเครื่องจักร&nbsp; ด้านประสิทธิภาพของการจัดการ ด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า การให้ความร่วมมือกับภาครัฐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้ประกอบการที่มีขนาดของสถานประกอบการต่างกัน มีการปรับตัวแตกต่างกันในด้านพฤติกรรมลูกจ้าง และด้านการให้ความร่วมมือกับภาครัฐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/SVNL/article/view/497 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการธารงบุคลากรเจนเนอเรชั่นวายขององค์กรธุรกิจ ขนาดกลางภาคการค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2023-12-31T22:20:56+07:00 จตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ [email protected] <div class="page" title="Page 1"> <div class="layoutArea"> <div class="column"> <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการธารงบุคลากรเจนเนอ เรชั่นวายขององค์กรธุรกิจขนาดกลางภาคการค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิง สาเหตุของปัจจัยมีอิทธิพลต่อการธารงบุคลากรเจนเนอเรชั่นวายขององค์กรธุรกิจขนาดกลางภาคการค้าในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) ศึกษาความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิง ประจักษ์ ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้ประกอบการ ผู้จัดการ และพนักงานขององค์กรธุรกิจ ขนาดกลาง ภาคการค้า ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจานวนองค์กรธุรกิจขนาดกลาง ภาคการค้า มีจานวน 838 แห่ง กลุ่มตัวอย่างจานวน 600 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) สถิติที่ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลของ งานวิจัยนี้ประกอบด้วย สถิติพื้นฐานเพื่อหาค่าแจกแจงความถี่ค่าร้อยละในการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพของผู้ตอบ แบบสอบถาม พร้อมกับวิเคราะห์ปัจจัยสารวจ (Exploratory Factor Analysis) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ประกอบด้วย การวิเคราะห์โมเดลการวัด (Measurement Model) การวิเคราะห์โมเดลโครงสร้าง (Structure Model) เพื่อหาความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างกับข้อมูลเชิงประจักษ์</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของปัจจัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.87), ค่าเฉลี่ยของ ปัจจัยด้านองค์กรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.16) และ ค่าเฉลี่ยของการธารง บุคลากรเจนเนอร์ชั่น วายอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.12), 2)ปัจจัยด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โมเดลมีความ สอดคล้องกลมกลืน กับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยค่า Chi-square = 2291.583, df = 831, p = 0.000, Chi- square/df = 2.758, CFI = 0.915, GFI = 0.864, AGFI = 823, SRMR = 0.009, RMSEA = 0.053, ปัจจัยด้าน องค์กร โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืน กับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยค่า Chi-square = 544.594, df = 169, p = 0.000, Chi-square/df = 3.222, CFI = 0.955, GFI = 0.932, AGFI = 0.907, SRMR = 0.015, RMSEA = 0.060 และ ปัจจัยด้านการธารงรักษา บุคลากรเจนเนอเรชั่นวาย โมเดลมีความ สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยค่า Chi-square = 70.540, df = 25, p = 0.000, Chi-square/df = 2.822, CFI = 0.999, GFI = 0.978, AGFI = 0.952, SRMR = 0.005, RMSEA = 0.054 และ 3) การบริหารทรัพยากร มนุษย์มีอิทธิพลทางตรงต่อการ ธารง บุคลากรเจนเนอเรชั่นวายขององค์กร ธุรกิ ขนาดกลางภาคการค้าในภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ขนาดอิทธิพล เท่ากับ 3.3.376 อย่างมีนัยสาคัญทาง สถิติระดับที่ .001 ปัจจัยด้านองค์กรมีอิทธิพล ทางตรงต่อการธารง บุคลากรเจนเนอเรชั่นวายขององค์กรธุรกิจ ขนาดกลางภาคการค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 3.269 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติระดับที่ .001</p> </div> </div> </div> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/SVNL/article/view/498 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสทิธิภาพขององค์กรของธุรกิจโรงแรมในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ 2023-12-31T22:31:12+07:00 วิกานดา เกษตรเอี่ยม [email protected] <div class="page" title="Page 1"> <div class="layoutArea"> <div class="column"> <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ(Causal Relationship) โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพขององค์กรธุรกิจโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พัฒนา โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพขององค์กรธุรกิจโรงแรมในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และศึกษาความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามสมมติฐาน กับข้อมูลเชิง ประจักษ์ ตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการและพนักงาน ของธุรกิจโรงแรมที่มีจานวนห้องพักตั้งแต่ 60 ห้อง ขึ้นไป ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งกาหนดการสุ่มจากเขตพื้นที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ไทย ได้จานวน 600 ตัวอย่าง จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) สถิติที่ใช้ในการศึกษาและ วิเคราะห์ข้อมูลของงานวิจัยนี้ ประกอบด้วย สถิติพื้นฐานเพื่อหาค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ในการวิเคราะห์ข้อมูล สภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พร้อมกับวิเคราะห์ปัจจัยสารวจ(Exploratory Factor Analysis) และการวิเคราะห์ โมเดลสมการโครงสร้าง ประกอบด้วย การวิเคราะห์โมเดลการวัด (Measurement Model) การวิเคราะห์โมเดล โครงสร้าง (Structure Model) เพื่อหาความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างกับข้อมูลเชิงประจักษ์</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในรูปแบบการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับมาก มาก ( ̅ = 3.837) ค่าเฉลี่ยของความสามารถด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องอยู่ในระดับมาก ( ̅ = 4.085) ค่าเฉลี่ย ของประสิทธิภาพขององค์กร อยู่ในระดับมาก มาก ( ̅ = 4.136)</p> <p>ปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในรูปแบบการเปลี่ยนแปลง โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า ค่า Chi-square = 285.131, df = 89, p = 0.000, Chi-square/df = 3.204, GFI = 0.955, AGFI = 0.931, RMR = 0.007, RMSEA = 0.000 ปัจจัยด้านความสามารถด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square = 910.758, df = 331, p = 0.000, Chi-square/df = 2.752, GFI = 0.916, AGFI = 0.897, RMR = 0.010, RMSEA = 0.000 ปัจจัยด้าน ประสิทธิภาพขององค์กร โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square = 92.422, df = 28, p = 0.000, Chi-square/df = 3.301, GFI = 0.970, AGFI = 0.944, RMR = 0.006, RMSEA = 0.000</p> <p>การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในรูปแบบเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพขององค์กร มี ขนาดอิทธิพลกับ 1.942 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001, ความสามารถด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องมี อิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพขององค์กรมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ0.863 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ0.05.</p> <div class="page" title="Page 2"> <div class="layoutArea"> <div class="column"> <p>และ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพขององค์กรขนาดอิทธิพลเท่ากับ0.863 อย่างมี นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น ผลการ วิจัยเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ทุกข้อ</p> </div> </div> </div> </div> </div> </div> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/SVNL/article/view/513 องค์ประกอบการรำเพลงชาตรีในการแสดงละครรำของกรมศิลปากร 2024-01-03T14:38:34+07:00 บัณฑิตา สุภาเลิศ [email protected] สุภาวดี โพธิเวชกุล [email protected] <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบ และองค์ประกอบการรำเพลงชาตรีใน การแสดงละครรำ เรื่อง มโนห์รา และเรื่อง รถเสน ของกรมศิลปากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกต โดยแบ่งผู้ให้ข้อมูลออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;กลุ่มผู้แสดง กลุ่มนักดนตรี และกลุ่มศิลปินละครชาตรี ผลการวิจัยพบว่า การแสดงละครรำ เรื่อง มโนห์รา และเรื่อง รถเสน รูปแบบและองค์ประกอบของการแสดงเป็นการผสมผสานระหว่าง ละครชาตรีกับละครนอกเข้าไว้ด้วยกัน ด้านผู้แสดงเลียนแบบอย่างละครนอกที่มีผู้แสดงได้&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; หลายคนไม่จำกัดจำนวน รูปแบบการแสดงเริ่มด้วยรัวกลองชาตรี จากนั้นลงเพลงวาจับเข้า&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เนื้อเรื่องแสดง ด้านดนตรีใช้บรรเลงประกอบการแสดงเป็นการผสมผสานระหว่างเครื่องดนตรี ของละครชาตรีกับวงดนตรีของละครนอก ผู้แสดงพูดบทเจรจาเอง แต่มีฝ่ายคีตศิลป์ขับร้องเพลงให้ ด้านสถานที่แสดง จัดแสดงครั้งแรก ณ โรงละคร มีการใช้ฉากประกอบแบบเสมือนจริง ต่อมาภายหลังมีจัดแสดงในสถานที่อื่นที่ไม่ใช่โรงละครตามสถานการณ์ ด้านเครื่องแต่งกาย ตัวเอกทั้งฝ่ายพระและนางแต่งกายยืนเครื่องอย่างละครนอก และสวมใส่เทริดอย่างละครชาตรี ด้านท่ารำประกอบเพลงชาตรีมี 2 ลักษณะ คือ 1) การทำบททั่วไปหรือการตีบท และ 2) ท่ารำเฉพาะหรือที่เรียกว่า “รำซัดท่า”</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/SVNL/article/view/505 ทักษะในอนาคตที่พึงประสงค์สำหรับเลขานุการทางการแพทย์ 2024-01-02T11:19:22+07:00 มนสินี สุขมาก [email protected] <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะในอนาคตที่พึงประสงค์สำหรับเลขานุการทางการแพทย์เพื่อ<br>เป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคตเพื่อตอบสนองความต้องการการ<br>ขยายตัว Medical Hub โดยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเลขานุการทาง<br>การแพทย์ บทบาทหน้าที่ คุณลักษณะ สมรรถณะ และทักษะในอนาคตของเลขานุการทางการแพทย์ พบว่า ทักษะ<br>ในอนาคตที่เลขานุการทางการแพทย์ควรมี แบ่งได้เป็น 6 กลุ่มได้แก่ 1) ด้านวิชาการ ประกอบด้วย ความรู้ทางด้าน<br>สุขภาพ การสื่อสารภาษาอังกฤษทางการแพทย์ สถิติและการวิจัย 2) ด้านความคิด ซึ่งประกอบด้วย การคิดอย่างมี<br>วิจารณญาณ การคิดอย่างสร้างสรรค์ 2) ด้านการพัฒนาตนเอง ประกอบด้วย มุ่งมั่นพัฒนาตนเอง สะสมความ<br>เชี่ยวชาญ 3) ด้านเทคโนโลยี และการสื่อสาร ประกอบด้วย การใช้สารสนเทศ การใช้ดิจิทัล 4) ด้านความสัมพันธ์<br>ประกอบด้วย การทำงานเป็นทีม เข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม ด้านการสื่อสาร 5) ความสามารถในการ<br>ปรับตัว ประกอบด้วย การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ความคล่องตัว 6) ด้านการเป็นผู้นำและการเป็นพลเมืองที่ดี<br>ประกอบด้วย การเป็นผู้นำ การเป็นพลเมืองที่ดี 7) ด้านความมีศีลธรรมจรรยา ประกอบด้วย ความชื่อสัตย์ มีความ<br>เสียสละ รักษาความลับขององค์กร 8) การประสานงาน ประกอบด้วย การเจรจาต่อรอง และการติดตามงาน ซึ่ง<br>ทักษะเหล่านี้จะส่งเสริมให้เลขานุการทางการแพทย์มีศักยภาพในการปฏิบัติงานเป็นที่ต้องการของโรงพยาบาลและ<br>องค์กรต่างๆ ซึ่งสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ เหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และรองรับการเติบโตของ Medical<br>Hub</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/SVNL/article/view/508 การเปิดเผยเรื่องสำคัญในการตรวจสอบบัญชีกับอัตราส่วนทางการเงิน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2024-01-02T22:05:05+07:00 อโนชา สุวรรณสาร [email protected] พัทธนันท์ เพชรเชิดชู [email protected] ศิริเดช คำสุพรหม [email protected] พนารัตน์ ปานมณี [email protected] <p>การวิจัยในครั้งนี้มุ่งศึกษาการเปิดเผยเรื่องสำคัญในการตรวจสอบบัญชีกับอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในระหว่างปี 2559 – 2562 จำนวน 2,316 บริษัท และใช้ในการวิเคราะห์งานวิจัยนี้ คือ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation)</p> <p>&nbsp;ผลการศึกษาพบว่าผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยเรื่องสำคัญในการตรวจสอบกับอัตราส่วนทางการเงินพบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ประเภทอุตสาหกรรมไม่มีความสัมพันธ์กับการเปิดเผยเรื่องสำคัญในการตรวจสอบ&nbsp; ส่วนด้านประเภทสำนักงานสอบบัญชีพบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าบวกแสดงถึงความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในด้านรูปแบบการเปิดเผยข้อมูล และด้านความมีสาระสำคัญในการเปิดเผยข้อมูล และ นอกจากนี้พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าลบแสดงถึงความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามในด้านลักษณะของการเปิดเผยข้อมูล</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024