คีตรังสรรค์ เพลงพญาหัสดินทร์ ในมิติดุริยางคศิลป์ไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง คีตรังสรรค์ เพลงพญาหัสดินทร์ ในมิติดุริยางคศิลป์ไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษากระบวนวิธีการขับร้องกับการแสดงนาฏศิลป์ไทย เพื่อสร้างรูปแบบแนวเพลงสำหรับการขับร้อง และเพื่อสร้างแนวทำนองเพลงขับร้องใหม่เพลงพญาหัสดินทร์
ผลการศึกษากระบวนวิธีการขับร้องกับการแสดงนาฏศิลป์ไทย พบว่า ผู้ขับร้องต้องมีความรู้ความเข้าใจในการขับร้องกับการแสดงนาฏศิลป์ไทยทุกประเภท ต้องมีน้ำเสียงที่ไพเราะเหมาะสมกับตัวละคร มีความรู้ความแม่นยำในการใช้ระดับเสียง รู้หลักการใช้อารมณ์ในการขับร้อง และใช้กลวิธีเสียงพิเศษต่างๆในการขับร้องได้อย่างไพเราะ
ผลการศึกษาการสร้างรูปแบบแนวเพลงสำหรับการขับร้องกับการแสดงนาฏศิลป์ไทย พบว่า ต้องรู้หลักการประพันธ์คำร้องการประพันธ์กลอนสุภาพที่นำมาใช้ทำบทละครเพื่อบรรจุเพลงขับร้อง วิธีการประพันธ์สามารถประพันธ์ขึ้น จากทำนองหลักของเดิม หรือประพันธ์ทางร้องขึ้นใหม่โดยไม่ยึดทำนองหลักของเดิม และรู้หลักการบรรจุทำนองเพลง กับบทร้องให้มีความเหมาะสมกับการแสดงนาฏศิลป์ไทย
ผลการศึกษาการสร้างสรรค์แนวทำนองเพลงขับร้องใหม่เพลงพญาหัสดินทร์ พบว่า เพลงพญาหัสดินทร์ ได้ประพันธ์ขึ้นใหม่แบบกลอนสุภาพมี 4 คำกลอน มีความหมายถึงช้างทรงของพระมหากษัตริย์ มีความงดงามคู่บารมี คู่ประเทศชาติคู่แผ่นดิน ใช้ในการออกรบทัพสู้ศึกสงคราม นำชัยชนะมาสู่แผ่นดินไทย การประพันธ์ทางร้องแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ทำนอง ช่วงแรกเป็นทำนองเกริ่น ในบทร้องคำกลอนที่ 1 ช่วงที่ 2 เป็นทำนองร้องท่อนเดียว ในบทร้องคำกลอนที่ 2-4 ใช้อัตราจังหวะสองชั้น ใช้หน้าทับบลิ่ม ใช้ระดับเสียงทางใน รูปแบบการขับร้องเป็นการร้องแบบต้นบทลูกคู่ ในการวิเคราะห์ทางร้องเพลงพญาหัสดินทร์พบกลวิธีการขับร้องจำนวน 9 กลวิธี ได้แก่ การครั่นกระทบเสียง การโหนเสียง การกลืนเสียง การควงเสียง การกลอกเสียง การกระทบเสียง การครั่นเสียง การกดเสียง และการเกลือกเสียง
Article Details
References
ไชยยะ ทางมีศรี. สัมภาษณ์, 15 กุมภาพันธ์ 2564.
ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2535). สารานุกรมเพลงไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.
ดุษฎี มีป้อม. สัมภาษณ์, 26 มีนาคม 2564.
ทัศนีย์ ขุนทอง. สัมภาษณ์, 15 กุมภาพันธ์ 2564.
บุญช่วย โสวัตร. สัมภาษณ์, 15 มีนาคม 2564.
ประคอง ชลานุภาพ. สัมภาษณ์, 15 กุมภาพันธ์ 2564.
สมชาย ทับพร. สัมภาษณ์, 15 กุมภาพันธ์ 2564.