พระอภัยมณี ตอนหึงหน้าป้อมกับการตีความหมายและสร้างบทประพันธ์ใหม่ เพื่อคุณค่าและศักดิ์ศรีของสตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาศักดิ์ศรี และคุณค่าของสตรี ผ่านการตีความและสร้างบทประพันธ์ใหม่ผ่านตัวละคร พระอภัยมณี นาง สุวรรณมาลี และนางละเวงวัณฬา ตามแนวคิดเรื่องการตีความและการสร้างบทประพันธ์ใหม่ตามแนวคิดสตรีนิยม มี วัตถุประสงค์เพื่อการตีความและสร้างบทประพันธ์ใหม่ผ่านตัวละครนางสุวรรณมาลี และนางละเวงวัณฬา จากเรื่องพระอภัย มณี ตอนหึงหน้าป้อม เพื่อศึกษาความเท่าเทียม ศักดิ์ศรี และคุณค่าของสตรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาบท ประพันธ์เดิมและนำบทประพันธ์เดิมมาตีความหมายใหม่ตามการเปลี่ยนแปลงบริบทของสังคมและนำไปสู่การสร้างบท ประพันธ์ใหม่ ผลการศึกษา พบว่า การตีความหมายและสร้างบทประพันธ์ใหม่ เรื่องพระอภัยมณี ตอน หึงหน้าป้อม ซึ่งเดิมถูก มองว่าความหึงหวงของผู้หญิงนำไปสู่การเกิดสงครามและความเสียหาย เป็นการลดคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้หญิง แต่การ ตีความใหม่จะเน้นเรื่องของการปกป้องศักดิ์ศรีและบ้านเมือง ไม่ใช่เรื่องของความหึงหวง ตามแนวคิดสตรีนิยมที่ผู้ชายและ ผู้หญิงไม่ต่างกันในเรื่องความสามารถและแนวคิดสตรีนิยมที่สนับสนุนให้ผู้หญิงสามารถพึ่งพาตนเองได้ มุ่งแก้ไขโดยใช้ วิธีการเปลี่ยนถ่ายทางวัฒนธรรม การตีความหมายใหม่นำไปสู่การสร้างบทประพันธ์ใหม่เพื่อเป็นการถ่ายทอดแนวความคิด ด้านความเท่าเทียม ศักดิ์ศรีและคุณค่าผ่านตัวละครพระอภัยมณี นางสุวรรณมาลี และนางละเวงวัณฬา
Article Details
References
สันต์ สุวัจฉราภินันท์. (2550). Different Feminist Theories: ในความแตกต่างของทฤษฎี สตรีนิยม.
สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565, จาก http://www.midnightuniv.org.
สุชีลา ตันชัยนันท์. (2540). ผู้หญิงในทัศนะจิตร ภูมิศักดิ์และแนวคิดสตรีศึกษา. นนทบุรี: หนังสือ
สายน้ำ.
หอสมุดแห่งชาติ. (2506). พระอภัยมณี เล่ม 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คลังวิทยา.
อัควิทย์ เรืองรอง. (2558). โดยสำคัญ ‘ปัญญา’ ของนารี: ภาพลักษณ์สตรีในวรรณกรรมไทยสมัย
รัตนโกสินทร์ ตอนต้น กับปัจจัยเกื้อกูลด้านการศึกษา. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ,
(1), 9-18.
Derrida, J. (1980). Writing and difference. Chicago: University of Chicago Press.