ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านจิตวิทยาในการซื้อบัตรโดยสารผ่านออนไลน์และ กลยุทธ์การตลาด 4Es ของผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมการซื้อบัตรโดยสารผ่าน ระบบออนไลน์ของผู้โดยสารสายการบิน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2) การใช้กลยุทธ์การตลาด 4Es และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านจิตวิทยาในการซื้อบัตรโดยสารผ่านออนไลน์ และกลยุทธ์การตลาด 4Es ของ ผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ การศึกษาครั้งนี้ใช้เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีกลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 401 ชุด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยจิตวิทยาในการซื้อบัตรโดยสารผ่านออนไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการ จูงใจได้คะแนนเฉลี่ยมากที่สุดที่ระดับมาก และด้านการรับรู้ได้คะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดที่ระดับมาก 2) พฤติกรรมการ ซื้อบัตรโดยสารผ่านระบบออนไลน์มีคะแนนเฉลี่ยรวมในระดับมาก 3) ความคิดเห็นต่อการใช้กลยุทธ์การตลาด 4Es โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านคุณค่าราคามีผู้โดยสารให้คะแนนเฉลี่ยมากที่สุด และด้านการตอบสนองในทุกที่ 4) ผล การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันทุกด้านมีความเห็นต่อการใช้กลยุทธ์การตลาด 4Es ไม่ แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 5) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านจิตวิทยาในการซื้อบัตรโดยสาร ออนไลน์และการใช้กลยุทธ์การตลาด 4Es ของผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.48) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Article Details
References
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2562). กลยุทธ์การตลาด 4Es และส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix). สืบค้นเมื่อ
ตุลาคม 2566, จาก https://www.iok2u.com/article/marketing/4es-marketing-mix
ชนินาถ ราชอุ่น. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อวัสดุ
ก่อสร้างประเภทกระเบื้องหลังคาของผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง อำเภอสามพราน จังหวัด
นครปฐม. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธมลวรรณ สมพงศ์.(2564). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าทางออนไลน์ ของผู้บริโภคใน
จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์.หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรวรรธน์ วิมลอุดมสิทธิ์. (2563). ปัจจัยด้านจิตวิทยาที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสถานบันเทิงย่าน เอกมัยของ
ผู้ใช้บริการสถาบันเทิง ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตร
นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2539). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กส์ (จำกัด).
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2560). การแบ่งส่วนตลาดโดยใช้หลักด้านประชากรศาสตร์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 23
ตุลาคม 2566, จาก http://www.me-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2560-5-
สุวิมล ติรกานันท์. (2549). การใช้สถิติในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อินทัช เอื้อสุนทรวัฒนา. (2561). ส่วนประสมการตลาด 4Es และแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของ
นักท่องเที่ยวชาวไทยในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.
Demeter. (2022). Respond everywhere. Retrieved. August 1, 2023, From
https://www.demeterict.com/zendesk-updates-th/what-is-digital-transformation/
Digitalstat, (2022). สรุป 52 Insight สำคัญจาก Thailand Digital Stat 2022 ของ We Are Social.
[Online]. สืบค้นจาก: https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/insight-thailanddigital-stat-2022-we-are-social/
Happy longway. (2566). What is E-ticket? Let's see. Retrieved August 7, 2023, From
https://happylongway.com/what-is-a-eticket/
Nattapon Muangtum. (2022). EverydayMarketing.co. Retrieved. August 1, 2023, From
https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/insight-thailand-digital-stat-2022-we-aresocial/
Schiffman, L. & Kanuk, L. (2010). Consumer Behavior. 10th ed. Upper Saddle River, N.J.: Prentice
Hall.