ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพคล่องทางการเงินกับความสามารถในการทำกำไร ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ

Main Article Content

วาสนา อาจสาริกิจ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพคล่องทางการเงินกับความสามารถในการทำกำไรของ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค ที่จด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ จำนวน 10 บริษัท เก็บรวบรวมข้อมูลแบบทุติยภูมิที่ได้จากรายงานทาง การเงินประจำปี พ.ศ. 2560 – 2564 ได้ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์ 50 รายปีบริษัท ใช้สูตรเครื่องมือทางการเงิน สถิติเชิง พรรณนาและทดสอบสมมติฐานการศึกษา โดยวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพคล่องทางการเงิน ได้แก่ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน อัตราส่วนเงินทุน หมุนเวียนเร็ว อัตราส่วนหมุนเวียนของลูกหนี้ ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย อัตราส่วนหมุนเวียนของสินค้า ระยะเวลา ขายสินค้าเฉลี่ย อัตราส่วนหมุนเวียนของเจ้าหนี้ และระยะเวลาชำระหนี้เฉลี่ย มีค่าเฉลี่ย 3.01, 1.58, 6.96, 76.95, 2.84, 182.95, 4.81 และ 107.46 ตามลำดับ 2. ความสามารถในการทำกำไร ได้แก่ อัตราส่วนกำไรสุทธิ อัตรา ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ มีค่าเฉลี่ย 5.03, 5.35 และ 4.99 ตามลำดับ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพคล่องทางการเงินกับความสามารถในการทำกำไร เป็นดังนี้ 3.1 อัตราส่วนหมุนเวียน ของสินค้า อัตราส่วนหมุนเวียนของลูกหนี้ มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่ออัตรากำไรสุทธิ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และ .05 และอัตราส่วนหมุนเวียนของเจ้าหนี้มีความสัมพันธ์เชิงลบต่ออัตราส่วนกำไรสุทธิ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ .01 3.2 อัตราส่วนหมุนเวียนของสินค้า อัตราส่วนหมุนเวียนของลูกหนี้ มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่ออัตรา ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และอัตราส่วนหมุนเวียนของเจ้าหนี้มีความสัมพันธ์ เชิงลบกับอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3.3 อัตราส่วนหมุนเวียนของ เจ้าหนี้มีความสัมพันธ์เชิงลบต่ออัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

Article Details

บท
Articles
Author Biography

วาสนา อาจสาริกิจ

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค

References

กฤษฎา เสกตระกูล. (2564ก). การวิเคราะห์งบการเงิน. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

กัลยา วานิชย์บัญชา, และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows

ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: สามลดา.

จิรัญญา ตาวงษ์. (2563). อิทธิพลของการจัดการเงินหมุนเวียนและอัตราส่วนกระแสเงินสดที่มีต่อความสามารถใน

การทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย: กลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร.

การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน. (2565). การลงทุน. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565,

จาก https://www.1213.or.th/th/moneymgt/inv/Pages/inv.aspx

ธารินี พงศ์สุพัฒน์. (2551). การบัญชีขั้นสูง. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล.

นฤพล อ่อนวิมล, และพิธาน แสนภักดี. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทจด

ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค

หมวดแฟชั่น. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(8), 57 - 69.

นัจรีภรณ์ สิมมารุณ. (2561). ภาวะ Multicollinearity กับ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ. วารสารการวัดผล

การศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 16(20), 23 - 29.

มนตรี พิริยะกุล. (2544) ข้อตกลงการถดถอยและกระบวนการวิเคราะห์การถดถอย.

วารสารรามคำแหง สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 30(2), 67 - 81.

รชต ตั้งนรารัชชกิจ. (2565). หนี้ครัวเรือน: ปัญหาที่ทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกันแก้. สืบค้นเมื่อ

มีนาคม 2565, จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/

articles/Pages/Article_18Jan2022-2.aspx

ลักษมี งามมีศรี. (2560). เอกสารคำสอน วิชาการจัดการทางการเงินสำหรับนักบัญชี. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัย

ราชภัฏนครสวรรค์.

วรัญญา ณ ราชสีมา, และคนอื่น ๆ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ของ

บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค. วารสาร

บริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2(2), 52 - 64.

ศุภกร โพธิ์ทอง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารสภาพคล่องกับ

ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง

ประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุพัตรา จันทนะศิริ (2565) ปัจจัยด้านประสิทธิภาพการดำเนินงานที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของ

บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร หมวดอาหารและ

เครื่องดื่ม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5(1), 232 - 249.