องค์ประกอบการรำเพลงชาตรีในการแสดงละครรำของกรมศิลปากร

Main Article Content

บัณฑิตา สุภาเลิศ
สุภาวดี โพธิเวชกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบ และองค์ประกอบการรำเพลงชาตรีใน การแสดงละครรำ เรื่อง มโนห์รา และเรื่อง รถเสน ของกรมศิลปากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกต โดยแบ่งผู้ให้ข้อมูลออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ       กลุ่มผู้แสดง กลุ่มนักดนตรี และกลุ่มศิลปินละครชาตรี ผลการวิจัยพบว่า การแสดงละครรำ เรื่อง มโนห์รา และเรื่อง รถเสน รูปแบบและองค์ประกอบของการแสดงเป็นการผสมผสานระหว่าง ละครชาตรีกับละครนอกเข้าไว้ด้วยกัน ด้านผู้แสดงเลียนแบบอย่างละครนอกที่มีผู้แสดงได้       หลายคนไม่จำกัดจำนวน รูปแบบการแสดงเริ่มด้วยรัวกลองชาตรี จากนั้นลงเพลงวาจับเข้า        เนื้อเรื่องแสดง ด้านดนตรีใช้บรรเลงประกอบการแสดงเป็นการผสมผสานระหว่างเครื่องดนตรี ของละครชาตรีกับวงดนตรีของละครนอก ผู้แสดงพูดบทเจรจาเอง แต่มีฝ่ายคีตศิลป์ขับร้องเพลงให้ ด้านสถานที่แสดง จัดแสดงครั้งแรก ณ โรงละคร มีการใช้ฉากประกอบแบบเสมือนจริง ต่อมาภายหลังมีจัดแสดงในสถานที่อื่นที่ไม่ใช่โรงละครตามสถานการณ์ ด้านเครื่องแต่งกาย ตัวเอกทั้งฝ่ายพระและนางแต่งกายยืนเครื่องอย่างละครนอก และสวมใส่เทริดอย่างละครชาตรี ด้านท่ารำประกอบเพลงชาตรีมี 2 ลักษณะ คือ 1) การทำบททั่วไปหรือการตีบท และ 2) ท่ารำเฉพาะหรือที่เรียกว่า “รำซัดท่า”

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

บัณฑิตา สุภาเลิศ

สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

สุภาวดี โพธิเวชกุล

สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

References

กรมศิลปากร. (2498). บทละคอน เรื่อง มโนห์รา. (ม.ป.ท.): กรมศิลปากร.

______. (2500). บทละคอน เรื่อง รถเสน. (ม.ป.ท.): กรมศิลปากร.

พัชรินทร์ จันทรัดทัต. (2552). บทบาทและลีลาท่ารำนางเมรีในละครนอก เรื่องรถเสน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

พัชรินทร์ สันติอัชวรรณ. (2551). หลักการแสดงของนางมโนห์ราในละครชาตรี เรื่อง มโนห์รา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ฤทธิรงค์ จิวากานนท์. (2546). ภาพบนเวที. ใน นพมาส แววหงส์. ปริทัศน์ศิลปะการละครกรุงเทพฯ: ภาควิชาศิลปะการละคร คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์.กรุงเทพฯ:สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุนนาค ทรรทรานนท์. สัมภาษณ์. 3 ธันวาคม 2563.

รัจนา พวงประยงค์. สัมภาษณ์. 3 ตุลาคม 2566.

อักษราวดี ปัทมสันติวงศ์. (2557). การสร้างสรรค์การแสดง ชุด รำซัดชาตรีร่วมสมัย. การวิจัยจากงบประมาณกองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.