การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้บริโภคอำเภอปะคำจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

เอกพล แสงศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้บริโภคอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามลักษณะของประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือผู้บริโภคในพื้นที่อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ทำการทดสอบเครื่องมือโดยการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหา ใช้สถิติพื้นฐานและสถิติอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคในอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ให้ความสำคัญกับปัจจัยต่าง ๆ อยู่ในระดับมาก= 4.09 เมื่อพิจารณาปัจจัยแต่ละด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านราคามากที่สุด จากผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้บริโภคอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า 1) เพศที่ต่างกันมีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้บริโภค อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านกระบวนการ และด้านองค์ประกอบทางกายภาพแตกต่างกัน 2) อายุที่ต่างกันมีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้บริโภคอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านบุคคลและ องค์ประกอบด้านกายภาพต่างกัน 3) ระดับการศึกษาต่างกันมีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้บริโภคอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ในด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านบุคคลต่างกัน และ 4) รายได้เฉลี่ยต่างกันมีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้บริโภคในอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและ ด้านบุคคลต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Articles
Author Biography

เอกพล แสงศรี

สาขาวิชาเอกการตลาด คณะวิทยาการจัดการ

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2564). รายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

ณฐพงศ์ ใจซื่อตรง. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การแข่งขันทางการตลาดบ้านสมใจ ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 121-130.

ปรียานุช ศิริไพบูลย์ทรัพย์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ Kerry Express ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พชร ผดุงญาติ. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7 Ps) ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการบริษัทขนส่งเปรียบเทียบ ระหว่างไปรษณีย์ไทยกับ Kerry Express ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี. Journal of Digital Business and Social Sciences, 8(1), 117-129.

พรจิรา พานิชย์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้บริโภคในเขตอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการจัดการอุตสาหกรรมเกษตร. 41(2), 101-113.

พรทิพย์ ทองดีและคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยบูรพาฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 29(2), 22-34.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2561). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็ก จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุจิตรา ทองเจริญทรัพย์ และคณะ. (2561).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 13(2) 165-180.

อภิชาติ วรรณรัตน์ และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 49(2), 101-115.

เอกพล แสงศรี และคณะ. (2566). ส่วนผสมทางการตลาด4P’s ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผักมาตรฐาน GAP จาก โครงการเกษตรแปลงรวมแก้จนของผู้บริโภคในตลาดเกษตรสร้างสุขมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 18(1), 135-144.

Armstrong, G., Adam, S., Denize, S., & Kotler, P. (2014). Principles of marketing. Pearson Australia.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd Edition, John Wiley & Sons, New York.