การพัฒนาการตลาดและการเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

อรรถกร จัตุกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการตลาด เพื่อพัฒนาการตลาด และ เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพการตลาด และการแก้ปัญหาสำหรับผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในการวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมสัมภาษณ์และเก็บแบบสอบถามผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน หมู่บ้านละ 5 คน 19 หมู่บ้าน จำนวน 95 คน ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สภาพปัญหาการผลิต ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ขาดวัตถุดิบ เครื่องมือที่ทันสมัยขาดทักษะในการผลิตและนวัตกรรมใหม่ ด้านราคา (Price)  ต้นทุนปัจจัยการผลิตสูง ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) ขาดการบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) จะเป็นแบบชาวบ้านผลิตแล้วนำไปขาย ขายหมดแล้วกลับบ้าน ขายไม่หมดเก็บไว้ขายต่อในวันต่อไป แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการตลาด และการแก้ปัญหาสำหรับผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ต้องมีการกำหนดตราสินค้า เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นของชุมชนใด ตราสินค้าเป็นสิ่งมีประโยชน์แก่ผู้บริโภคผู้บริโภคจะสามารถใช้ประสบการณ์ในอดีตมาช่วยในการตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ด้านราคา (Price) การกำหนดราคา ผู้กำหนดกลยุทธ์ราคาต้องคำนึงถึง กำลังซื้อของผู้บริโภค เน้นการใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น ด้านการจัดจำหน่าย (Place or Distribution) ผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลบ้านยางควรจัดทำตลาดชุมชนให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนนำสินค้ามาจัดจำหน่ายในตลาดได้ตลอดทั้งวัน จะช่วยเพิ่มรายได้ ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) เพื่อให้สินค้าที่นำมาขายๆ ได้มากขึ้นผู้ผลิตควรนำเอาวิธีการส่งเสริมการตลาดมาใช้เพื่อทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นโดยใช้วิธีการแจกสินค้าให้ทดลองใช้ ให้ชิมฟรี จุดจำหน่ายสินค้าควรมีป้ายชื่อสินค้าชื่อเจ้าของสินค้าและเบอร์โทรติดต่อ

Article Details

บท
Articles
Author Biography

อรรถกร จัตุกูล

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

References

ชบา ใบงาม, และ พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ. (2023). การพัฒนาการตลาดยั่งยืนเพื่อเสริมสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของวิสาหกิจชุมชนรักษ์สันติสุขโดยพุทธสันติวิธี. วารสารสันติศึกษา ปริทรรศน์ มจร, 11(1), 220-230.

ประสิทธิ์ รัตนพันธ์, มณีรัตน์ รัตนพันธ์ และ จาริณี แซ่ว่อง. (2561). การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทอาหารในจังหวัดสงขลา. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(4), 42-51.

พัชมณฑ์ ทองทวี, รัชชานนท์ สมบูรณ์ชัย, จำเนียร บุญมาก, และ ผานิตย์ นาขยัน. (2023). แนวทางการพัฒนาส่วนประสม การตลาด เพื่อพัฒนาการขายอาหารว่างในเขตจังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยวิชาการ, 6(5), 29-42.

รุ่งนภา ทองเชื้อ. (2556). ผลกระทบของกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เชิงพลวัตรที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วชิรา วชิรานุกุล. (2565). การพัฒนาศักยภาพการตลาดเพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

สมชาย ธีรชาติกุล. (2563). การพัฒนาศักยภาพการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง

สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด.

อรนงค์ บุญวัน. 2554. ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในจังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

เอกพล แสงศรี และคณะ. (2565). ส่วนผสมทางการตลาด4P’sที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผักมาตรฐาน GAP จากโครงการ เกษตรแปลงรวมแก้จนของผู้บริโภคในตลาดเกษตรสร้างสุขมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารวิจัย และพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 18 (1), 135-144.

Division of Research Standards. (2016). Research Management System Manual for organization. https://www.nrms.go.th/Manual.aspx Retrieved May, 2020

Ha, H.-Y., Janda, S., & Park, S.-k. (2009). Role of Satisfaction in an Integrative Model of Brand Loyalty. International Marketing Review, 26(2), 198.

Khomsan, J. (2557). Management Information System (MIS), Retrieved from http:// mikekomson.wordpress.com May, 2020