การวิจัยพัฒนารูปแบบ ลวดลาย หัตถกรรมผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ บ้านกุ่ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก

Main Article Content

ปฐมพงศ์ เศวตศิริ
เจษฎา สายสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยพัฒนารูปแบบ ลวดลาย หัตถกรรมผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ บ้านกุ่ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีเพื่อเป็นของที่ระลึก ได้นำเอาภูมิปัญญา และอัตลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ และเสน่ห์ของพื้นที่ ที่มีทั้งแหล่งท่องเที่ยว วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิต ให้เป็นจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกในงานผลงานวิจัย การวิจัยพัฒนารูปแบบ ลวดลาย หัตถกรรมผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ บ้านกุ่ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ผู้วิจัยได้แบ่งการศึกษาและผลที่ได้ดังนี้ (1) เพื่อศึกษารูปแบบ ลวดลายการทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มทอผ้าฝ้ายจากสีธรรมชาติ บ้านกุ่ม อ.โขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกลักษณ์ของพื้นที่ และอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อนำเอามาเป็นการพัฒนาลวดลายที่ปรากฏในผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ บ้านกุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (2) จัดทำต้นแบบและประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกกลุ่มทอผ้าฝ้ายจากสีธรรมชาติ บ้านกุ่ม อ.โขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ผู้วิจัยได้สำรวจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการในการเลือกซื้อ เลือกใช้ ผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ และได้นำข้อมูลต่างๆมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบ (3) เพื่อศึกษาการตลาด และอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อใช้ในการออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของกลุ่มทอผ้าฝ้ายจากสีธรรมชาติ บ้านกุ่ม อ.โขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ผู้วิจัยได้นำหลักการส่วนผสมทางการตลาดมาเป็นต้นแบบในการเพิ่มช่องทาง และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก บ้านกลุ่ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนสามารถไปพัฒนาต่อยอด และเป็นผลิตภัณฑ์อีกชิ้นที่จะเป็นการประชาสัมพันธ์ทางกลุ่มอีกด้วย


จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบและการผลิต ได้ทำการวิเคราะห์และสรุปแบบ  โดยแบบที่ 2 อยู่ในระดับคะแนนมากที่สุด รองลงมาคือแบบที่ 1 และ 2 ตามลำดับ


จากกลุ่มตัวอย่างเพื่อทดสอบถามความพึงพอใจจากการใช้งานผลิตภัณฑ์  จำนวน  30 คน  แบ่งเป็นเพศชายจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 56.6 และกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงจำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 43.4 ซึ่งอายยุส่วนมากอยู่ระหว่าง 31-35 ปี จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 33.3 มีอาชีพข้าราชการ จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 50 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้งานของผลงานการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายยอมสีธรรมชาติเพื่อเป็นสินค้าต้นแบบของชุมชน กลุ่มทอผ้าฝ้ายจากสีธรรมชาติ กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าฝ้ายจากสีธรรมชาติ บ้านกุ่ม อ.โขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 33 เกณฑ์คะแนน 4.61 อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด


คำสำคัญ : พัฒนา,รูปแบบ,ลวดลาย,หัตถกรรมผ้าฝ้าย,ย้อมสีธรรมชาติ, ของที่ระลึก

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

ปฐมพงศ์ เศวตศิริ

สาขาวิชาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

เจษฎา สายสุข

สาขาวิชาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

ศศิธร วิศพันธุ์. (2561). การพัฒนารูปแบบกระเป๋าผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มทอผ้าบ้านสะพานพลา ตำบลสะท้อน อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา สถาบันวิจัยและพัฒนา.

ความสำคัญของผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ. (ออนไลน์) แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/

ohmnichapa186/khwam-sakhay-khxng-phlitphanth-pha-thx-mux. 2547.

การออกแบบลายผ้า. (ออนไลน์) แหล่งที่มา : http://www.thaitopwedding.com/Misc/Thai-silk-10.html. 2549.

หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์. (ออนไลน์) แหล่งที่มา : https://sites.google.com/a/kjwit.ac.th/

ponlapass/pathor/hlak-kar-xxkbaeb-phlitphanth. 2549.

การออกแบบของที่ระลึก. (ออนไนล์) แหล่งที่มา : https://souvenirbuu.wordpress.com/ 2547.

ไอเดียการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ 2020. (ออนไลน์) แหล่งที่มา : https://brandinside.asia/trend-marketing/. 2020.

รัตนเรขา มีพร้อม.การบูรณาการลวดลายผ้าไหมแพรวาและเครื่องประดับ Art Deco เพื่อการออกแบบ เครื่องประดับไทยร่วมสมัย.วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2560.

จรัสพิมพ์ วังเย็น.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอภูมิปัญญาของชาวไทยทรงดำในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. Journal of the Association of Researchers, 2554.

ฐิติพันธ จันทร์หอม.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอภูมิปัญญาของชาวไทยทรงดำในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. Journal of the Association of Researchers, 2012.

ใจภักดิ์ บุรพเจตนา.การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอประเภทของที่ระลึกของชุมชนบ้านหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร,2559.

ศศิธร วิศพันธุ์.การพัฒนารูปแบบกระเป๋าผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มทอผ้าบ้านสะพานพลา ตำบลสะท้อน อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา.2561.

สมประสงค์ สงษ์ทอง.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง กลุ่มทอผ้าตำบลไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. แหล่งที่มา :.http://arit.npru.ac.th/npdata/index.php?act =6a992d5529f459a44fee58c733255e86&lntype=editor_left&slm_id=1799. 2553.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สถิติเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ หน่วยที่ 1 – 8. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2542.