เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่กับประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่กับประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประสบการณ์ในการทำงาน และตำแหน่งงาน 2) ศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 200 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) ใช้สหกรณ์อำเภอเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งงาน มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนเพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ พบว่า แรงจูงใจด้านความสำเร็จของงาน ด้านการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงาน ด้านความรับผิดชอบ และด้านโอกาสก้าวหน้า มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ มี 3 ตัวแปร เรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้ คือ แรงจูงใจด้านความสำเร็จของงาน แรงจูงใจด้านความรับผิดชอบ และแรงจูงใจด้านการยอมรับนับถือ ซึ่งตัวแปรพยากรณ์ทั้งสามร่วมกันสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ ได้ร้อยละ 79.50
Article Details
References
กัญญนันทน์ ภัทร์สรณ์สิริ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรกรณีศึกษาสำหรับสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน. วารสารวิชาการปทุมวัน. 1, (1): 35-39.
ไชยยันต์ สมพร. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษา อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีษะเกษ. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธันยธรณ์ ฤทธิ์กิ่ง. (2560). การศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัทโรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ยุภาวดี ภูผาหลวง. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดเทศบาลในเขตอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วารุณี แก้วอินทร์. (2560). แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร บริษัทโรงพยาบาล ภัทร จำกัด. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
สมคิด บางโม. (2540). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
สมใจ ลักษณะ. (2554). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ธนวัชการพิมพ์.
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ. ข้อมูลทั่วไปสำนักงานสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2563
จาก https://www.opsmoac.go.th/sisaket-home
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์ : แนวคิดและทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อรอนงค์ ส่งสุพร. (2559). ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
Yamane, Taro. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row Publications.