กลวิธีการบรรเลงเครื่องสีในวงดนตรีไทย

Main Article Content

สมภพ เขียวมณี
สุพรรณี เหลือบุญชู
ดุษฎี มีป้อม

บทคัดย่อ

งานวิจัย เรื่อง กลวิธีการบรรเลงสู่การสร้างสรรค์บทเพลงสำหรับเครื่องสีในวงดนตรีไทยมีวัตถุประสงค์      เพื่อศึกษากลวิธีการบรรเลงเครื่องสีในวงดนตรีไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสาร งานวิจัย       ที่เกี่ยวข้อง และการเก็บข้อมูลภาคสนาม วิเคราะห์ สังเคราะห์ต่อยอดองค์ความรู้สู่การสร้างสรรค์บทเพลง ผลการศึกษาพบว่า


กลวิธีการบรรเลงเครื่องสีในวงดนตรีไทย มีดังนี้ กลวิธีการบรรเลงซอสามสาย 27 กลวิธี คือ การสีคู่ประสาน นิ้วควง พรมสายเปล่า พรมปิด พรมเปิด พรมจาก พรมคลึงนิ้ว พรมพิเศษ นิ้วประ สะบัดนิ้ว สะบัดคันชัก นิ้วกล้ำ นิ้วแอ้ ขยี้นิ้ว นิ้วนาคสะดุ้ง รูดนิ้ว สีดัง สีแผ่ว นิ้วชั่ง ปริบ สะอึก คันชักสายน้ำไหล คันชักแบบไกวเปล การสีแบบขับไม้ คันชักงูเลื้อย เปิดซอ ชะงักซอ และโยกนิ้ว กลวิธีการบรรเลงซอด้วงและซออู้ 20 กลวิธี ที่มีวิธีปฏิบัติเหมือนกัน คือ ควงนิ้ว พรมสายเปล่า พรมปิด พรมเปิด พรมจาก พรมคลึงนิ้ว พรมพิเศษ ประ สะบัดคันชัก สะบัดนิ้ว สะอึก สีดัง สีแผ่ว นิ้วแอ้ ปริบ นิ้วกล้ำ ขยี้คันชัก ขยี้นิ้ว รูดนิ้ว และโยกนิ้ว กลวิธีการบรรเลงที่หลากหลายทำให้เพลงมีความไพเราะ งดงามและมีความลุ่มลึกที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ของซอสามสาย ซอด้วง และซออู้ได้อย่างเด่นชัด

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

สมภพ เขียวมณี

สาขาวิชาดุริยางคศิลป์คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

สุพรรณี เหลือบุญชู

สาขาวิชาดุริยางคศิลป์คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

ดุษฎี มีป้อม

สาขาวิชาดุริยางคศิลป์คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

References

ณัฐพงศ์ แก้วสุวรรณ์. (2555). วิเคราะห์เดี่ยวซออู้เพลงกราวในทางครูฉลวย จิยะจันทน์. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพย์ฤทัย อยู่คง. (2559). ศึกษาเดี่ยวซอด้วงเพลงพญาโศก สามชั้น ทางหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน). วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 10(4), 101-106.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2530). หนังสือเครื่องดนตรีไทย. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

ประชากร ศรีสาคร. (2556). วิเคราะห์เดี่ยวซอสามสายเพลงพญาโศก พญาครวญ พญารำพึง สามชั้น กรณีศึกษาอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัญญา รุ่งเรือง. (2517). ประวัติการดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2544). เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยและเกณฑ์การประเมิน. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สุวรรณี แยมศิริ. (2547). การศึกษาทางซอดวงเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาและวิชาชีพดนตรีไทยขั้น 1, 2, และ 3 ของอาจารย์ธีระ ภู่มณี. ปริญญานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Myers–Moro, Pamela. (1988). The music and Musicians in Contemporary Bangkok : An Ethnography. California : University of California at Berkeley.

สัมภาษณ์

กฤตษิพัฒน์ เอื้อจิตรเมศ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์. (ผู้ให้สัมภาษณ์) สมภพ เขียวมณี.

(ผู้สัมภาษณ์) เมื่อ 17 ธันวาคม 2565.

โกวิทย์ ขันธศิริ. รองศาสตราจารย์. (ผู้ให้สัมภาษณ์) สมภพ เขียวมณี. (ผู้สัมภาษณ์)

เมื่อ 5 ตุลาคม 2565 และ 15 ธันวาคม 2565.

จักรี มงคล. (ผู้ให้สัมภาษณ์) สมภพ เขียวมณี. (ผู้สัมภาษณ์) เมื่อ 19 มิถุนายน 2565 และ

พฤศจิกายน 2565.

จีรพล เพชรสม. ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย. (ผู้ให้สัมภาษณ์) สมภพ เขียวมณี. (ผู้สัมภาษณ์)

เมื่อ 5 ตุลาคม 2565 และ 15 ธันวาคม 2565.

เชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ. (ผู้ให้สัมภาษณ์) สมภพ เขียวมณี. (ผู้สัมภาษณ์) เมื่อ 22 - 23กรกฎาคม 2565 และ 2 ธันวาคม 2565.

ดุษฎี สว่างวิบูลย์พงศ์. (ผู้ให้สัมภาษณ์) สมภพ เขียวมณี. (ผู้สัมภาษณ์)

เมื่อ 23 กรกฎาคม 2565 และ 2 ธันวาคม 2565.

เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี. (ผู้ให้สัมภาษณ์) สมภพ เขียวมณี. (ผู้สัมภาษณ์)

เมื่อ 11 พฤษภาคม 2565 และ 15 ธันวาคม 2565.

ศิริพันธุ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (ผู้ให้สัมภาษณ์) สมภพ เขียวมณี. (ผู้สัมภาษณ์)

เมื่อ 2 ธันวาคม 2565 และ 7 ธันวาคม 2565.

เสนีย์ เกษมวัฒนากุล. (ผู้ให้สัมภาษณ์) สมภพ เขียวมณี. (ผู้สัมภาษณ์)

เมื่อ 2 ธันวาคม 2565 และ 6 ธันวาคม 2565.