ชุดฝึกระนาดทุ้มสำหรับพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน

Main Article Content

กิตติ อัตถาผล

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดฝึกระนาดทุ้มในการบรรเลงเพลงไทย และเพื่อสร้างเสริมศักยภาพของผู้เรียนด้วยชุดฝึกระนาดทุ้ม โดยมีขั้นตอนเก็บรวบรวมข้อมูลจากการลงพื้นที่ภาคสนามสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านดุริยางค์ไทย จำนวน 5 ท่าน เพื่อวิเคราะห์แนวทางการสร้างชุดฝึกระนาดทุ้มสำหรับพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน และนำไปทดลองใช้กับกลุ่มอาสาสมัครจำนวน 20 คน จากนั้นวิพากษ์ และประเมินคุณภาพชุดฝึกระนาดทุ้มสำหรับพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน


       ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมการเรียนรู้ระนาดทุ้มเดิมผู้เรียนจะต้องมีทักษะในการปฏิบัติฆ้องวงใหญ่เป็นพื้นฐาน ใช้เพลงเป็นเครื่องมือในการฝึกปฏิบัติกลวิธีการบรรเลง และฝึกปฏิบัติกลวิธีการบรรเลงของระนาดทุ้ม ไม่มีชุดฝึกทักษะตายตัว การสร้างชุดฝึกทักษะระนาดทุ้มสำหรับพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก และสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย แบ่งออกเป็น 4 ชุดฝึกประกอบด้วย ชุดฝึกขั้นพื้นฐาน ชุดฝึกการใช้มือหรือการแบ่งมือในการบรรเลง ชุดฝึกสำนวนการบรรเลง และชุดฝึกสำหรับการบรรเลงเพลง ผลการประเมินคุณภาพชุดฝึกระนาดทุ้มสำหรับพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนจากระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า ภาพรวมของชุดฝึกระนาดทุ้มอยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ย 4.4 คะแนน การเรียนรู้ด้วยชุดฝึกระนาดทุ้มสำหรับพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน พบว่า ก่อนเรียนด้วยชุดฝึกระนาดทุ้มผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ย 8.45 หรือคิดเป็นร้อยละ 42.25 และหลังเรียนมีคะแนนเพิ่มสูงขึ้นเป็น 17.85 หรือคิดเป็นร้อยละ 89.25

Article Details

บท
Articles
Author Biography

กิตติ อัตถาผล

วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

 

References

ชยพร ไชยสิทธิ์ มนัส วัฒนไชยยศ และบรรจง ชลวิโรจน์. (2560). การพัฒนาชุดฝึกทักษะทางระนาดทุ้ม เพลงสาธุการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สาขาวิชาชีพเฉพาะปี่พาทย์ วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. Journal of Nakhonratchasina college, 11(3): 202-212.

ดุษฎี มีป้อม, สัมภาษณ์, 11 พฤศจิกายน 2563.

บุญนำ เกษี. (2556). รายงานการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์. ชลบุรี: โรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์.

ปราโมทย์ ด่านประดิษฐ์ จุฑาศิริ ยอดวิเศษ และพรรณระพี บุญเปลี่ยน. (2562). การพัฒนาแบบฝึกทักษะทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ เพลงแป๊ะสามชั้น. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 6(1) : 266-291.

ไพฑูรย์ เฉยเจริญ, สัมภาษณ์, 16 ตุลาคม 2563.

ยิ่งศักดิ์ ชุ่มเย็น. (2561). การพัฒนาทักษะการตีฆ้องวงใหญ่ ของนักศึกษาภาควิชานาฏดุริยาคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 19(2): 60-70.

รังสิพันธุ์ แข็งขัน. (2552). ภาพสะท้อนจากวัฒนธรรมดนตรีไทย. ใน ลบเส้นพรมแดนแห่งศิลปะ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์. (2538). วิธีสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.