อิทธิพลของการมุ่งเน้นตลาด การมุ่งเน้นการเรียนรู้ และความสามารถทางนวัตกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโลจิสติกส์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของการมุ่งเน้นตลาด การมุ่งเน้นการเรียนรู้ ความสามารถทางนวัตกรรม และผลการดำเนินงานของธุรกิจโลจิสติกส์ 2) ศึกษาอิทธิพลทางตรงของการมุ่งเน้นตลาด การมุ่งเน้นการเรียนรู้และความสามารถทางนวัตกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโลจิสติกส์ และ 3) ศึกษาอิทธิพลทางตรงของการมุ่งเน้นตลาดที่มีต่อการมุ่งเน้นการเรียนรู้และความสามารถทางนวัตกรรมของธุรกิจโลจิสติกส์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ประเภทการขนส่งทางบก จำนวน 630 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของการมุ่งเน้นตลาด การมุ่งเน้นการเรียนรู้ ความสามารถทางนวัตกรรม และผลการดำเนินงานของธุรกิจโลจิสติกส์มีระดับการปฏิบัติการอยู๋ในระดับมากทุกตัว 2) การมุ่งเน้นการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโลจิสติกส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนการมุ่งเน้นตลาด และความสามารถทางนวัตกรรมมีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโลจิสติกส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การมุ่งเน้นตลาดมีอิทธิพลต่อการมุ่งเน้นการเรียนรู้ของธุรกิจโลจิสติกส์ และมีอิทธิพลต่อความสามารถทางนวัตกรรมของธุรกิจโลจิสติกส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ยืนยันด้วยค่าความกลมกลืนเชิงโครงสร้าง (X2/df = 1.056, p = .159, GFI = .953, AGFI = .935, CFI = .998, NFI= .966, RMSEA = .009)
Article Details
References
กรมการขนส่งทางบก. (2564). สถิติจำนวนใบอนุญาตประกอบการขนส่งและจำนวนผู้ประกอบการขนส่ง. สืบค้นจาก https://web.dlt.go.th/statistics/
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2562). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา, 2562.
ฐิติพร อุ่นใจ, อัยรดา พรเจริญ และปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช. (2563). อิทธิพลของการมุ่งเน้นตลาด การมุ่งเน้นการเรียนรู้ และความสามารถทางนวัตกรรมต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการบริการ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(3), 49-62.
ณัชพล จรูญพิพัฒน์กุล. (2560). ตีแผ่โครงสร้างระบบโลจีสติกส์ไทย. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 15). นนทบุรี: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: บริษัทสุวีริยาสาส์น.
ปรารถนา หลีกภัย, เกิดศิริ เจริญวิศาล, ชาลี ไตรจันทร์ และโสภิณ จิระเกียรติกุล. (2557). ความสามารถทางนวัตกรรมของธุรกิจโรงแรมในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ, 31(1), 69-95.
พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2556). บทบาทของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยในระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์, 7(1), 205-250.
วัชรพันธ์ ผาสุข. (2557). การมุ่งเน้นตลาดและการมุ่งเน้นการเรียนรู้ในการพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมและผลการดำเนินงานของธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลาง. วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 21(2), 102-126.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทย ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Agwu, M.E. & Onwuegbuzie, H.N. (2018). Effects of international marketing environments on entrepreneurship development. Journal of Innovation and Entrepreneurship, 7(12), 1-20. doi.org/10.1186/s13731-018-0093-4
Alhakimi, W. & Mahmoud, M. (2020). The impact of market orientation on innovativeness: evidence from Yemeni SMEs, Asia Pacific. Journal of Innovation and Entrepreneurship, 14(1), 47-59. doi.org/10.1108/APJIE-08-2019-0060
Beneke, J., Blampied, S., Dewar, N. & Soriano, L. (2016). The impact of market orientation and learning orientation on organizational performance: A study of small to medium-sized enterprises in Cape Town, South Africa. Journal of Research in Marketing and Entrepreneurship, 18(1), 90-108. doi.org/10.1108/JRME-06-2015-0033
Cronbach, L.J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.
Decker, M., Schiefer, G. & Bulander, R. (2006). Specific challenges for small and medium-sized enterprises (SME) in m-business - a SME-suitable framework for mobile services. in Filipe, J. and Greene, T., editors. ICE-B 2006. Proceedings of the International Conference on e-Business; 7-10 August; Setúbal, Portugal. Setúbal: ICETE. pp. 169-174.
Didonet, S.R., Díaz, G. & Machado, A.M. (2016). Market orientation and sources of knowledge to innovate in SMEs: A firm level study. Journal of Technology Management and Innovation, 11(3), 1-10. doi.org/10.4067/S0718-27242016000300001
Dubihlela, J. and Dhurup, M.R. (2015). Determinants of, and barriers to, market orientation and the relationship with business performance among SMES. Journal of Applied Business Research (JABR), 31(5), 1667–1678. doi.org/10.19030/jabr.v31i5.9381
Greco, M., Grimaldi, M. & Cricelli, L. (2016). An analysis of the open innovation effect on firm performance. European Management Journal, 34(5), 501-516. doi.org/10.1016/j.emj.2016.02.008
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th/ed). New York: Pearson.
Keskin, H. (2006). Market orientation, learning orientation, and innovation capabilities in SMEs: An extended model. European Journal of Innovation Management, 9(4), 396-417.
doi.org/10.1108/14601060610707849
Martinette, L.A. & Leeson, A.O. (2012). The relationship between learning orientation and business performance and the moderating effect of competitive advantage: A service organization perspective. Journal of Service Science, 5(1), 43-58. doi.org/10.19030/jss.v5i1.6940
Martinez, J.E.V., Serna, M.C.M. & Montoya, N.P. (2020). Dimensions of Learning Orientation and its Impact on Organizational Performance and Competitiveness in SMEs. Journal of Business Economics and Management, 21(2), 395–420. doi.org/10.3846/jbem.2020.11801
McLean, L.D. (2005). Organizational culture’s influence on creativity and innovation: A review of the literature and implications for human resource development. Advances in Developing Human Resources, 7(2), 226-246. doi.org/10.1177/1523422305274528
Na, Y.K., Kang, S. & Jeong, H.Y. (2019). The Effect of Market Orientation on Performance of Sharing Economy Business: Focusing on Marketing Innovation and Sustainable Competitive Advantage. Sustainability, 11(1), 729, 1-19.
Na, Y.K., Kang, S. & Jeong, H.Y. (2019). The Effect of Market Orientation on Performance of Sharing Economy Business: Focusing on Marketing Innovation and Sustainable Competitive Advantage. Sustainability, 11(1), 729, 1-19. doi.org/10.3390/su11030729
Nunnally, J.C. (1978). Psychometric Theory. (2nd/ed). New York: McGraw-Hill.
Phorncharoen, I. (2020). Influence of market orientation, learning orientation, and innovativeness on operational performance of real estate business. International Journal of Engineering Business Management, 12(1), 1-11. doi.org/10.1177/1847979020952672
Salim, I.M. & Sulaiman, M. (2011). Organization learning, innovation and performance: A study of Malaysian small and medium sized enterprises. International Journal of Business and Management, 6(12), 118-125. doi.org/10.5539/ijbm.v6n12p118
Xie, H., Liu, C. & Chen, C. (2007). Relationships among market orientation, learning orientation, organizational innovation and organizational performance: An empirical study in the Pearl River Delta region of China. Frontiers of Business Research in China, 1(2), 222-253. doi.org/10.1007/s11782-007-0014-z