การอนุรักษ์ภูมิปัญญาเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนในธุรกิจนวดไทย

Main Article Content

ภุชงค์ เมนะสินธุ์
นฤมล โสภารัตนกุล
ภคพร กระจาดทอง
ประศาสน์ นิยม
กัญญทอง หรดาล
พรชณิตว์ แก้วเนตร

บทคัดย่อ

       งานวิจัย เรื่อง “การอนุรักษ์ภูมิปัญญาเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนในธุรกิจนวดไทย”  มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาเพื่อสร้างความเข็มแข็งอย่างยั่งยืนในธุรกิจนวดไทย และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการวางแผนและการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากวิกฤตการณ์โควิด-19 ตลอดจนปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดต่อธุรกิจนวดไทย โดยการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มที่ 1 คือ ผู้บริหาร ผู้จัดการ พนักงานของศูนย์การแพทย์แผนไทย ที่เป็นสมาชิกของสมาคมการแพทย์แผนไทย โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 484 คน กลุ่มที่ 2 คือ ผู้รับบริการจากศูนย์การแพทย์แผนไทย โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 453 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ  ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้รับบริการการนวดไทย จำนวน 40 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาเพื่อสร้างความเข็มแข็งอย่างยั่งยืนในธุรกิจนวดไทย สามารถแบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านการจัดการความรู้ : การจัดทำและพัฒนาฐานข้อมูลสื่อดิจิทัลด้วยการจัดการความรู้เพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านการนวดไทย 4 ภาค เป็นการจัดเก็บองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ รวมถึงการเผยแพร่เพื่อสืบทอดอนุรักษ์มรดกทางภูมิปัญญาโดยความร่วมมือกับท้องถิ่นและชุมชน ด้านกฎระเบียบ : สถานประกอบการธุรกิจนวดไทย จะต้องบริหารจัดการและปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อปฏิบัติด้านการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  และดำเนินการตามรูปแบบของการบริหารจัดการ เพื่อสร้างความยั่งยืนในธุรกิจนวดไทย ด้านผลิตภัณฑ์ : ควรมีการพัฒนาหลักสูตรอบรมเกี่ยวกับการนวดไทย ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้หลากหลายกลุ่ม ด้านบุคลากร : ควรมีการส่งเสริมและพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน ให้มีความรู้ที่ถูกต้องในด้านการนวดไทย และยังเป็นการสร้างมาตรฐานและสมรรถนะให้กับคนนวด ตลอดจนเป็นการพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญพร้อมทั้งส่งเสริมให้มีใบประกอบวิชาชีพ ด้านการส่งเสริมจากภาครัฐ : กระทรวงสาธารณสุข ควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มบุคลากรผู้ให้บริการนวดไทยได้รับการอบรมต่อยอดความรู้ ความชำนาญ และทักษะทางด้านการนวดให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อพัฒนา ยกระดับ และส่งเสริมกลุ่มบุคลากรผู้ให้บริการนวดไทยให้มีมาตรฐานมากขึ้น และเหมาะสมกับการสอบใบประกอบวิชาชีพ


2) แนวทางการวางแผนและการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากวิกฤตการณ์โควิด-19 ตลอดจนปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดต่อธุรกิจนวดไทย ได้แก่ 1. สถานประกอบการธุรกิจนวดไทย จะต้องปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID 2019)  2. สถานประกอบการธุรกิจนวดไทย จะต้องปฏิบัติตามเอกสารคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOPs) สำหรับผู้ประกอบการนวดแผนไทย ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ตลอดจนต้องมีสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับข้อปฏิบัติ ข้อห้าม และข้อควรระวัง ของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ 3. หน่วยงานควรเตรียมความพร้อมและส่งเสริมองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับบุคลากร 4. ภาครัฐควรเป็นตัวกลางในการถอดบทเรียนจากสถานการณ์วิกฤตการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจนวดไทย เพื่อหาแนวทางหรือมาตรการในการดำเนินงานร่วมกับสถานประกอบการ 5. ภาครัฐควรส่งเสริมและให้การสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ตลอดจนการทบทวนนโยบายการเปิดรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในลักษณะของ Wellness-Quarantine และ 6. ภาครัฐควรส่งเสริมและสนับสนุนเนื้อหาความรู้ด้านการนวดไทยในสถาบันศึกษา ให้เป็นรายวิชาหรือหลักสูตรเฉพาะทางอย่างจริงจัง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในด้านบุคลากรที่จะเข้ามาสู่ธุรกิจนวดไทยในอนาคต


 

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

ภุชงค์ เมนะสินธุ์

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก  คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

 

นฤมล โสภารัตนกุล

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก  คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ภคพร กระจาดทอง

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก  คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

 

ประศาสน์ นิยม

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก  คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

 

กัญญทอง หรดาล

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก  คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

พรชณิตว์ แก้วเนตร

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก  คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

 

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนทางเลือก. (2559). รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก 2557-2559. กระทรวงสาธารณสุข. กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย. นนทบุรี.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2563). ยูเนสโก ประกาศรับรอง “นวดไทย” ขึ้นทะเบียน มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ประจำปี 2562. [online]. Available http://culture. go.th/culture_th/mobile_detail.php?cid=3&nid=4668 [2021, January 28].

กันย์ทิตา พรมมี. (2551). การยอมรับการนวดแผนไทยของประชาชนในเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

จุฑานาฎ อ่อนฉ่ำ. (2561). การศึกษาองค์ความรู้การนวดไทย. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

ฐิติยา เนตรวงษ์. (2563). การใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยไอซีทีของนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 15(1) หน้า 40-47.

วนิดา โนรา. (2561). การพัฒนาสื่อดิจิทัลเรื่องการสอนนวดแผนไทยของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่. 19(1). หน้า 15-25.

วิไลรัตน์ พิเชฐวีรชัย. (2561). การเลือกใช้กลยุทธ์ส่วนประสมของการตลาดบริการในธุรกิจนวดแผนไทยจากทัศนคติของผู้บริโภคชาวไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12(3). หน้า 219-246.

Brown, C. S. (2014). Language and literacy development in the early years: Foundational skills that support emergent readers. Language and Literacy Spectrum, 24, 35-49.

Bucata, G., & Rizescu, A. M. (2017). The role of communication in enhancing work effectiveness of an organization. Land Forces Academy Review, 22(1), 49.

Kirsch, I., Sands, A. M., Robbins, S. B., Goodman, M. J., & Tannenbaum, R. J. (2021). Buttressing the Middle: A Case for Reskilling and Upskilling America's Middle-Skill Workers in the 21st Century. Policy Report. ETS Center for Research on Human Capital and Education.

VOICE (2015). แพทย์แผนไทย : โอกาสของธุรกิจที่โลกยอมรับ. [online]. Available https://www.voicetv.co.th/read/156336. [2020, July 10]