การศึกษามุมมองด้านภาพลักษณ์ ความพึงพอใจ และปัจจัยการตัดสินใจบริโภคผลิตภัณฑ์จากเมล็ดกาแฟท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

อมรรัตน์ พรประเสริฐ
ฐชาดา โคตมงคล
ยุทธณรงค์ จงจันทร์
ภีม พรประเสริฐ

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองด้านภาพลักษณ์ ความพึงพอใจ และปัจจัยการตัดสินใจบริโภคผลิตภัณฑ์จากเม็ดกาแฟท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี  โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือลูกค้าร้านกาแฟสดที่ใช้วัตถุดิบเมล็ดกาแฟคั่วพันธุ์โรบัสต้าในจังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 400 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามชนิดเลือกตอบเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีการศึกษาค้นคว้า จากรายงานการวิจัย บทความทางวิชาการ ข้อมูลทางเว็บไซต์ และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาประยุกต์ใช้ในลักษณะข้อคำถาม โดยขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการร้านกาแฟสดที่ใช้วัตถุดิบเมล็ดกาแฟคั่วพันธุ์โรบัสต้าในจังหวัดอุบลราชธานีส่งแบบสอบถามให้แก่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามวิเคราะห์ได้ว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุในวัยเรียนและเริ่มทำงานแล้วระยะหนึ่ง มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ส่วนใหญ่มีอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ฐานะทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง  ผลการวิเคราะห์ระดับมุมมองด้านภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์จากเมล็ดกาแฟท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานีโดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก  โดยมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ กระบวนการผลิตไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม รองลงมาได้แก่ การใช้วัตถุดิบเมล็ดกาแฟจากในท้องถิ่น  การสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับคนในจังหวัด และ  การมีประวัติเรื่องราวของ ตามลำดับ  ผลการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์จากเมล็ดกาแฟท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานีโดยภาพรวมพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดพบว่า ประเด็นด้านความต้องการบริโภคกาแฟท้องถิ่นเพิ่มขึ้นในอนาคต มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านความต้องการซื้อซ้ำถ้ามีกาแฟท้องถิ่นแบบใหม่ออกมาในตลาด   การตอบสนองความคาดหวัง และ ความชอบในรสชาติ กลิ่น และความเข้ม ของกาแฟ ตามลำดับ  และ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคผลิตภัณฑ์จากเมล็ดกาแฟท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานีโดยภาพรวมพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก  เมื่อเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดพบว่า ปัจจัยด้านความอยากทดลองมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านแหล่งที่มาของวัตถุดิบท้องถิ่น ด้านจุดเด่นและความเป็นเอกเทศของสินค้า ด้านคุณภาพของสินค้าในการรับรู้ และ ด้านความทันสมัยหรือความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ ตามลำดับ จากผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพ  อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และ รายได้ต่อเดือน ที่ต่างกันมีมุมมองต่อกาแฟท้องถิ่นไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

อมรรัตน์ พรประเสริฐ

สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ฐชาดา โคตมงคล

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ยุทธณรงค์ จงจันทร์

สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

ภีม พรประเสริฐ

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). บทวิเคราะห์ธุรกิจเรื่องธุรกิจผลิตกาแฟ. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงพาณิชย์.

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2564). แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2565-2574. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงอุตสาหกรรม.

นิอร สิงหิรัญเรือง. (2555). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการบริหารจัดการร้านกาแฟสดในเขต อำเภออเมือง จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. นครราชสีมา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ผู้จัดการสุดสัปดาห์. (2563). สำรวจตลาดกาแฟไทยไปต่อหรือพักก่อน. สืบค้นเมื่อ 31 ต.ค. 2563, จากhttps://mgronline.com/daily/detail/9630000112832

ภูรีภัทร ชั่งจันทร์. (2558). ความพึงพอใจในการใช้บริการร้านกาแฟสตาร์บัคส์ที่เซ็นทรัลพลาซ่าปิ่นเกล้า. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม. กรุงเทพมหานคร.

มณีรัตน์ นิ่มนวล. (2551). ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการซื้อกาแฟทรีอินวันของผู้บริโภควัยทำงานย่านถนนสีลม. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.

รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2544). กลยุทธ์การสร้างภาพลักษณ์เพื่อส่งเสริมการตลาดของธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร : เหรียญทองดีไซน์แอนด์พับลิเคชั่น.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). รายงานประจำปีสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed). New York : John Wiley and Sons Inc.

Frank Jefkins. (1993). Planned Press and Public Relations. (3rd ed.). Great Britain : Alden Press.

Group of Statistics for National Administrative. (2011). Report of People’s Opinions of OTOP Product 2011. Bangkok : Public Opinion Statistics Bureau, National Statistical Office.

Morley, Michael. (1998). How to Manage Your Global Reputation. London : Macmillan Press Ltd.

Muangson, Kanyakan and Kovathanakul, Donruetai. (2014). Local Textile Products Marketing Development for the Community Malls Distribution on the East-West Economic Corridor. Journal of Thai Hospitality and Tourism, 9(2) : 31-44.