รำเชิดฉิ่งของตัวพระในการแสดงโขน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษากระบวนท่ารำเพลงเชิดฉิ่งประกอบการใช้อาวุธของตัวพระในการแสดงโขน 2) วิเคราะห์โครงสร้างและกลวิธีการรำเพลงเชิดฉิ่งประกอบการใช้อาวุธของตัวพระในการแสดงโขน ดำเนินการวิจัยโดยเก็บรวมรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การลงภาคสนามปฏิบัติท่ารำ จดบันทึกท่ารำเพื่อนำมาวิเคราะห์กระบวนท่ารำเชิดฉิ่ง
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์เชิดฉิ่งที่ตัวพระใช้ในการแสดงโขนมีอยู่ด้วยกัน 3 เพลง คือ เพลงหน้าพาทย์เชิดฉิ่งแผลงศร เพลงหน้าพาทย์เชิดฉิ่งศรทนงและเพลงหน้าพาทย์เชิดฉิ่งศรประจัญ ซึ่งพบว่ากระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์มีโครงสร้างท่ารำและลำดับขั้นตอนของการรำดังนี้ ขั้นตอนการรำแบ่งได้ 3 ตอน ได้แก่ 1) การรำใช้บท กระบวนท่ารำในเพลงหน้าพาทย์และกระบวนท่ารำแผลงศร 2) โครงสร้างของกระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์เชิดฉิ่งแบ่งได้ 3 โครงสร้าง ได้แก่ ท่ารำตามแบบนาฏศิลป์ไทย ท่ารำหลักและท่ารำเชื่อม (3) กระบวนท่ารำเฉพาะของเพลงหน้าพาทย์เชิดฉิ่งทั้ง 3 เพลง ในการรำเชิดฉิ่งทั้ง 3 เพลงนี้ผู้แสดงจะต้องเป็นตัวพระโขน ที่ได้รับการฝึกหัดกระบวนท่ารำเชิดฉิ่งพื้นฐานคือ เพลงหน้าพาทย์เชิดฉิ่งแผลงศรของการฝึกหัดโขน เมื่อมีความชำนาญในกระบวนท่ารำเชิดฉิ่งแผลงศรแล้วผู้ที่เรียนตัวพระโขนจะได้รับการฝึกหัดกระบวนท่าเชิดฉิ่งศรทนงและศรประจัญซึ่งเป็นกระบวนท่ารำที่มีการสืบทอดกันมา
Article Details
References
กรมศิลปากร. (2507). บทโขนกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่. กรุงเทพมหานคร: หอสมุดแห่งชาติ.
กรมศิลปากร. (2556). โขน:อัจฉริยนาฏกรรม. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
ดุษฎี มีป้อม. สัมภาษณ์. 30 มิถุนายน 2563.
ฤทธิเทพ เถาว์หิรัญ. สัมภาษณ์. 26 มิถุนายน 2563.
นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา,ดำรงรานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2505). สาส์นสมเด็จ เล่ม 1, กรุงเทพ: องค์การค้าของครุสภา
รื่นฤทัย สัจจพันธ์. (2554). มานานุกรมรามเกียรติ์ ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: บริษัท ส.เอเชียเพลส.
วีระชัย มีบ่อทรัพย์. สัมภาษณ์. 26 มิถุนายน 2563.
ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์. สัมภาษณ์. 23 มิถุนายน 2563.
สัจจะ ภู่เพ็งสุทธิ์. สัมภาษณ์. 29 มิถุนายน 2563.
สุภร อิ่มวงศ์. สัมภาษณ์. 24 พฤศจิกายน 2563.
อรรถพล ฉิมพูลสุข. สัมภาษณ์. 8 กุมภาพันธ์ 2564.