บทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นที่มีต่อการพัฒนาชุมชนตำบลวังธง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • อารยา ยอดโอวาท วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมจิต ขอนวงค์ Mahachulalongkornrajavidyalaya University
  • สายัณห์ อินนันใจ วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บทบาท, นักการเมืองท้องถิ่น, การพัฒนาชุมชน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นที่มีต่อการพัฒนาชุมชน ตำบลวังธง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักภาวนา 4 กับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นที่มีต่อการพัฒนาชุมชน ตำบลวังธง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 3.เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นที่มีต่อการพัฒนาชุมชน ตำบลวังธง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ การวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ จากการแจกแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า

1) ระดับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นที่มีต่อการพัฒนาชุมชน ตำบลวังธง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (  = 3.61, S.D. = 0.63)

2) หลักภาวนา 4 กับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นที่มีต่อการพัฒนาชุมชน ตำบลวังธง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูงมาก (R = .894**)

3) ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นที่มีต่อการพัฒนาชุมชน ตำบลวังธง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พบว่า ยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกกฎระเบียบการดูแลรักษาความสงบภายในชุมชน ขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณในการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในชุมชน ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรลงพื้นที่สำรวจปัญหาของชุมชน ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ ประชาชนควรเข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับการออกกฎระเบียบ และรณรงค์ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนในชุมชน

References

คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลวังธง, รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังธง ประจำปีงบประมาณ 2564, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.wungtong-phrae.go.th/ [7 มกราคม 2564].

นรนิติ เศรษฐบุตร. (2542). แนวคิดการมีส่วนร่วมทางการเมือง. เอกสารเผยแพร่ความรู้การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.

พระอธิการธนิต ธมฺมสาโร (รามโพ) พระเทพปริยัติเมธี และสมคิด พุ่มทุเรียน. (2563). ภาวะผู้นำเชิงพุทธของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยวิชาการ. 3 (2) : 15-26.

วัลลภัช สุขสวัสดิ์. (2561). การวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2561.

สุรกิจ สุวรรณแกม. (2561). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล, ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (พ.ศ. 2537) และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2546.

เผยแพร่แล้ว

2024-09-08