การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ใช้ฟ้อนท์ TH Niramit AS ขนาดตัวอักษร 16pt ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

Journal of Lanna Societies กำหนดประเภทของการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร ดังนี้
1. บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่มีการค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือหลักของการศึกษาวิจัยอันที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือนำผลที่ได้มาปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์
2. บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นการนำเสนอเนื้อหาในด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนะแนวคิดใหม่ทางวิชาการ โดยอาศัยพื้นฐานทางวิชาการเป็นลำดับต้น มีการศึกษา รวบรวม เรียบเรียงอย่างเป็นลำดับ โดยบทความที่เขียนขึ้นเพื่อสร้างความรู้ที่มีประโยชน์ในทางวิชาการสำหรับคนทั่วไป

รูปแบบของการจัดเตรียมต้นฉบับ
1. ต้นฉบับพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ละเรื่องจะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และการเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน ให้หลีกเลี่ยง การเขียนภาษาอังกฤษปนภาษาไทย ในข้อความ ยกเว้นกรณีจำเป็น เช่น ศัพท์ทางวิชาการที่ไม่มีคำแปล หรือคำที่ใช้แล้ว ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เขียนปนภาษาไทยให้ใช้ตัวเล็กทั้งหมด ยกเว้นชื่อเฉพาะสำหรับต้นฉบับภาษาอังกฤษควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องด้านการใช้ภาษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษก่อน
2. ขนาดของต้นฉบับ ใช้กระดาษขนาด A4 พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว และให้ตั้งค่าระยะขอบกระดาษบน 1 นิ้ว ล่าง 1 นิ้ว ซ้าย 1 นิ้ว และขวา 1 นิ้ว โดยมีระยะห่างระหว่างบรรทัด เป็นแบบ single space 
3. ชนิดและขนาดตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร TH Niramit AS เท่านั้น
     - ชื่อเรื่องใช้ตัวอักษรขนาด 20 pt.ตัวหนา
     - ชื่อผู้นิพนธ์ใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวปกติ
     - หัวข้อหลักใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวหนา
     - หัวข้อรองใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวหนา
      - บทคัดย่อและเนื้อเรื่องใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวปกติ

ส่วนประกอบของบทความ
1.
ชื่อเรื่องบทความ ต้องมีทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้ตรงกลางของหน้าแรก
2. ชื่อผู้นิพนธ์/ผู้เขียน ต้องมีทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมระบุชื่อสังกัดหน่วยงาน
3. การเขียนบทคัดย่อ มีทั้งบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 
4. กำหนดคำสำคัญ (Keywords) ให้กำหนดคำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวน 3 - 5 คำ
5. เนื้อเรื่องของบทความ
     5.1 บทความวิจัย ให้เรียงลำดับสาระสำคัญ ดังนี้
         1) บทคัดย่อ (Abstract) เสนอวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการวิจัย และผลการวิจัย โดยให้สรุปสั้นกะทัดรัด และได้ใจความ
         2) บทนํา (Introduction) ระบุความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาในการวิจัย
         3) วัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objective) 
         4) ทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) 
         5) วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) นําเสนอระบุแบบแผนการวิจัย การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
         6) ผลการวิจัย (Research Finding) นําเสนอผลการวิจัยที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน ความเสนอในรูปตารางหรือแผนภูมิ
         7) การอภิปรายผลการวิจัย (Discussion) ให้นําเสนอเป็นความเรียงชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด ไม่ควรอภิปรายเป็นข้อ ๆ แต่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด
         8) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย (Suggestion) ระบุข้อสรุปที่สำคัญและข้อเสนอแนะในการนําผลการวิจัยไปใช้ และนําเสนอประเด็นสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
         9) เอกสารอ้างอิง (References) เป็นการนําเสนอเอกสารที่นำมาใช้อ้างอิงในการเขียนบทความ และต้องเป็นรายการเอกสารอ้างอิงที่ปรากฏในบทความเท่านั้น
5.2 บทความวิชาการ ให้เรียงลำดับสาระสำคัญ ดังนี้
         1) บทคัดย่อ (Abstract)
         2) บทนํา (Introduction)
         3) เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนําเสนอตามลำดับ/ระบุองค์ความรู้ใหม่
         4) สรุป (Conclusion)
         5) เอกสารอ้างอิง (References)

ระบบการอ้างอิงและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ
         เอกสารที่นำมาใช้ในการอ้างอิงบทความ ควรมีที่มาจากแหล่งตีพิมพ์ที่ชัดเจน และมีความน่าเชื่อถือสามารถสืบค้นได้ เช่น หนังสือ วารสาร หรืองานวิจัย เป็นต้น ผู้นิพนธ์/ผู้เขียนบทความจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการอ้างอิง เพื่อป้องกันความล่าช้าในการตีพิมพ์บทความ เนื่องจากบทความที่มีการอ้างอิงไม่ถูกต้อง จะไม่ได้รับการส่งต่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา จนกว่าการอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้สมบูรณ์ และรายการอ้างอิงจะต้องไม่ต่ำกว่า 10 รายการอ้างอิงต่อ 1 บทความ

1. การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ
รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องและท้ายเล่มใช้วิธีการอ้างอิงระบบนาม-ปี ตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA) ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุลของผู้เขียนและปีที่ตีพิมพ์ กำกับท้ายเนื้อความที่ได้อ้างอิง เอกสารอ้างอิงที่ใช้อ้างอิงในบทความ จะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ โดยรูปแบบของการอ้างอิง มีดังนี้
     1.1 การอ้างอิงจากเอกสารภาษาไทย
          1) การอ้างอิงพระไตรปิฎกและอรรถกถา ให้อ้างชื่อคัมภีร์ /เล่มที่/ข้อที่/เลขหน้า มาด้วย ตัวอย่าง เช่น “ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักร 4 ประการนี้ เป็นเครื่องเป็นไปแก่มนุษย์และเทวดาผู้ประกอบเป็นเครื่องที่มนุษย์และเทวดาประกอบแล้ว ย่อมถึงความเป็นผู้ใหญ่และความไพบูลย์ในโภคะทั้งหลาย ต่อกาลไม่นานนัก” (อง.จตุกฺก. 21/31/37) เป็นต้น
          2) ผู้แต่งหนึ่งราย ให้อ้างชื่อผู้แต่งแล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และตามด้วยปีที่พิมพ์เช่น (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, 2560) ในกรณีที่เป็นการอ้างอิงเนื้อหาโดยตรงหรือแนวคิดบางส่วนหรือเป็นการคัดลอกข้อความบางส่วนมาโดยตรง ควรระบุเลขหน้าไว้ด้วย โดยให้พิมพ์ต่อท้ายปีพิมพ์คั่นด้วยเครื่องหมาย (,) เช่น (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, 2560, น. 201-205)
          3) ผู้แต่งสองราย ให้อ้างชื่อของผู้แต่งทั้งสองรายโดยใช้คำว่า “และ” ในการเชื่อมผู้เขียนทั้งสองแล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ เช่น (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และเขมณัฏฐ์ อินทรสุวรรณ, 2560) ในกรณีที่เป็นการอ้างอิงเนื้อหาโดยตรงหรือแนวคิดบางส่วนหรือเป็นการคัดลอกข้อความบางส่วนมาโดยตรง ควรระบุเลขหน้าไว้ด้วยโดยให้พิมพ์ต่อท้ายปีพิมพ์คั่นด้วยเครื่องหมาย (,) เช่น (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และเขมณัฏฐ์ อินทรสุวรรณ, 2560, น. 204-207)
          4) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 ราย ให้อ้างชื่อผู้แต่งรายแรกแล้วเพิ่มคำว่า “และคณะ” แล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และตามด้วยปีที่พิมพ์ เช่น (ปัญญา สุนันตา และคณะ, 2560) ในกรณีที่เป็นการอ้างอิงเนื้อหาโดยตรงหรือแนวคิดบางส่วนหรือเป็นการคัดลอกข้อความบางส่วนมาโดยตรง ควรระบุเลขหน้าไว้ด้วย โดยให้พิมพ์ต่อท้ายปีพิมพ์คั่นด้วยเครื่องหมาย (,) เช่น (ปัญญา สุนันตา และคณะ, 2560, น. 21-22)
          5) กรณีเนื้อความเป็นเรื่องเดียวกัน หรือผลการวิจัยเหมือนกัน แต่มีผู้อ้างอิงหลายคน ให้ใช้รายการอ้างอิงที่ใกล้เคียงปีปัจจุบันมากที่สุด
     1.2 การอ้างอิงจากเอกสารภาษาไทย
          1) ถ้ามีผู้แต่งหนึ่งรายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ เช่น (Sunanta, 2019) ในกรณีที่เป็นการอ้างอิงเนื้อหาโดยตรงหรือแนวคิดบางส่วนหรือเป็นการคัดลอกข้อความบางส่วนมาโดยตรง ควรระบุเลขหน้าไว้ด้วยโดยให้พิมพ์ต่อท้ายปีพิมพ์คั่นด้วยเครื่องหมาย (,) เช่น (Sunanta, 2019, p. 21) แต่ถ้ามีการอ้างอิงมากกว่าสองหน้าขึ้นไป ให้อ้างอิงดังนี้ ตัวอย่างเช่น (Sunanta, 2019, pp. 21-22)
          2) ถ้ามีผู้แต่งสองรายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งทั้งสองราย โดยใช้เครื่องหมายแอนด์ (&) คั่นกลางระหว่างนามสกุลของผู้แต่งทั้งสอง แล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ เช่น (Sunanta & Sukjeen, 2019) ในกรณีที่เป็นการอ้างอิงเนื้อหาโดยตรงหรือแนวคิดบางส่วนหรือเป็นการคัดลอกข้อความบางส่วนมาโดยตรง ควรระบุเลขหน้าไว้ด้วย โดยให้พิมพ์ต่อท้ายปีพิมพ์คั่นด้วยเครื่องหมาย (,) เช่น (Sunanta & Sukjeen, 2019, p. 21) แต่ถ้ามีการอ้างอิงมากกว่าสองหน้าขึ้นไป ให้อ้างอิงดังนี้ ตัวอย่างเช่น (Sunanta & Sukjeen, 2019, pp. 21-22)
          3) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 ราย ให้อ้างนามสกุลผู้แต่งรายแรกตามด้วย et al.ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ เช่น (Sunanta et al., 2019) ในกรณีที่เป็นการอ้างอิงเนื้อหาโดยตรงหรือแนวคิดบางส่วนหรือเป็นการคัดลอกข้อความบางส่วนมาโดยตรงควรระบุเลขหน้าไว้ด้วย โดยให้พิมพ์ต่อท้ายปีพิมพ์คั่นด้วยเครื่องหมาย (,) เช่น (Sunanta et al., 2019, p. 21) แต่ถ้ามีการอ้างอิงมากกว่าสองหน้าขึ้นไป ให้อ้างอิงดังนี้ ตัวอย่างเช่น (Sunanta et al., 2019, pp. 21-22)

2. การอ้างอิงท้ายบทความ
         2.1 พระไตรปิฎก อรรถกถา
               รูปแบบ :
               ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อพระไตรปิฎกอรรถกถา. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.
               ตัวอย่าง :
               มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
         2.2 หนังสือ
               รูปแบบ :
               ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. (ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้น). สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.
               ตัวอย่าง :
               จํานง อดิวัฒนสิทธิ. (2544). สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
         2.3 บทความในหนังสือ
               รูปแบบ :
               ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ). ชื่อเรื่อง. (เลขหน้าที่อ้าง). สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.
               ตัวอย่าง :
               พระสุกิจจ์ สุจิณฺโณ. (2559). การสร้างความคิดนามธรรมในวัฒนธรรมไทย. ใน ปวิตร ว่องวีระ. ทฤษฎี และวิธีวิทยาของการวิจัยวัฒนธรรม. (หน้า 112). กรุงเทพมหานคร : อัมรินทร์.
         2.4 บทความจากวารสาร
               รูปแบบ :
               ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้าแรก ที่ตีพิมพ์-เลขหน้าสุดท้ายที่ตีพิมพ์.
               ตัวอย่าง :
               พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์  กิตฺติปญฺโญ. (2557). การกำหนดประเด็นปัญหาการตั้งชื่อเรืองและการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยทางสังคมศาสตร์. มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 3(1), 14 - 15.
         2.5 บทความในสารานุกรม
               รูปแบบ :
               ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อสารานุกรม (เล่มที่อ้าง, หน้า เลขหน้าที่อ้าง). สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.
               ตัวอย่าง :
               สนม ครุฑเมือง. (2530). หม้อคอควาย. ใน สารานุกรมของใช้พื้นบ้านไทยในอดีตเขตหัวเมืองฝ่ายเหนือ (หน้า 274-275). กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พลับลิซซิ่ง.
         2.6 หนังสือพิมพ์
               รูปแบบ :
               ผู้แต่ง. (วันที่ เดือน ปีที่พิมพ์) ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์, เลขหน้า.
               ตัวอย่าง :
               สุชาติ เผือกสกนธ์. (9 มิถุนายน 2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ผู้จัดการรายวัน, น. 13.
         2.7 สารนิพนธ์, วิทยานิพนธ์, ดุษฎีนิพนธ์, รายงานการวิจัย
               รูปแบบ :
               ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สถานที่พิมพ์ : ชื่อมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา.
               ตัวอย่าง :
               ทรงวิทย์ แก้วศรี. (2550). การศึกษาวิเคราะห์ยุทธวิธีในการประกาศศาสนาของพระพุทธเจ้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
         2.8 สัมภาษณ์
               รูปแบบ :
               ชื่อผู้ที่ได้รับการสัมภาษณ์. (วัน เดือน ปี ที่สัมภาษณ์). ชื่อเรื่องที่สัมภาษณ์. (ชื่อผู้สัมภาษณ์)
               ตัวอย่าง :
               วรพล ไม้สน (พลังวัชร). (5 พฤศจิกายน 2559). หลักการ วิธีการ เป้าหมายในการปรึกษาทางโหราศาสตร์. (นางณฐณัช แก้วผลึก, สัมภาษณ์)
         2.9 สื่อออนไลน์
               รูปแบบ :
               ผู้แต่ง. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อเรื่อง. เรียกใช้เมื่อ/ จาก แหล่งที่มาของข้อมูล (URL)
               ตัวอย่าง :
               ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล. (2561). พระพุทธศาสนาเถรวาท จะสืบทอดดำรงอยู่อย่างไร? เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2562 จาก https://www.dailynews.co.th/article/666936
               สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2561). เลื่อนข้าราชการให้ดำรงตําแหน่งประเภททั่วไประดับชํานาญการ คำสั่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติที่ 593/2562. เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2562 จาก http://www.onab.go.th/category/news/คำสั่ง-ประกาศ
         2.10 ราชกิจจานุเบกษา
               รูปแบบ :
               ชื่อกฎหมาย. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง (ถ้ามี). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่/ตอนที่/หน้า/(วัน เดือน ปี).
               ตัวอย่าง :
               พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4). (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนที่ 57 ก หน้า 49 (1 พฤษภาคม).
               ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 129 ตอนพิเศษ 97 ง หน้า 1 (20 มิถุนายน 2555).

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ