ภาวะผู้นำในการบริหารงานตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหาร เทศบาลตำบลแม่หล่าย อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • มนูญ ศรีใจอินทร์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, หลักสัปปุริสธรรม 7, การบริหาร

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นข้อเสนอแนะของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำในการบริหารงานตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารเทศบาลตำบลแม่หล่าย อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ และเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาตามแนวคิดของการบริหารงานที่มีต่อภาวะผู้นำในการบริหารงานตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารเทศบาลตำบลแม่หล่าย อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษากับประชาชนในเขตเทศบาลตำบลแม่หล่าย อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 367 คน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถาม แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) และการวิจัยเชิงคุณภาพได้ใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์ โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key information) จำนวน 8 ท่าน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique)

            ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำในการบริหารงานตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารเทศบาลตำบลแม่หล่าย อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.05, S.D. = 0.377) ประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษาและสถานภาพ ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำในการบริหารงานตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารเทศบาลตำบลแม่หล่าย อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ และมีแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในการบริหารงานตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารเทศบาลตำบลแม่หล่าย อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้เน้นให้ผู้นำควรรู้หลักการในการปฏิบัติงาน ในการบริหารงานในองค์กร รวมถึง หลักเกณฑ์ ระเบียบในการบริหาร มีการนำเอาหลักธรรมที่เหมาะสมในการบริหารงานมาประยุกต์ใช้กับองค์กรเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อองค์กรและประชาชน การรู้จักตนในการปฏิบัติงาน มีบทบาทในการเป็นผู้นำองค์กรและชุมชน ความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา รวมถึงเรียนรู้ที่จะปฏิบัติงานด้วยความซื่อตรง มีการวิเคราะห์ตนเองเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้ให้ทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน

References

กวี วงศ์พุฒ. (2542). ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: บี.เค. อินเตอร์ปรินท์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). ภาวะผู้นำ: ความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

เทศบาลตำบลแม่หล่าย. (2556). รายงานกิจการเทศบาลตำบลแม่หล่าย ประจำปี 2556. แพร่: ไทยอุตสาหะ.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2539). ภาวะผู้นำ: หลักการและทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์.

จิตติมา พงษ์ไพบูลย์. (2553). “ภาวะผู้นำของพระราชปริยัติ (สฤษฏิ์ สิริธโร)”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นันทวรรณ อิสรานุวัฒน์ชัย. (2550). “ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัฒน์: ศึกษาจากหลักพุทธธรรม”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระบัณฑิต ญาณธีโร (สุธีระตฤษณา). (2549). “ภาวะผู้นำของพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระบุญเรือง ฐิตธมฺโม. (2547). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์ผู้นำในพระพุทธศาสนา: ศึกษาเฉพาะกรณีการแก้ปัญหาของพระพุทธเจ้า”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาคมเพชร วชิรปญฺโญ. (2552). “การนำหลักสัปปุริสธรรม 7 มาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วนิดา ชูสังข์. (2543). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาวะผู้นำตามหลักพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ ม่วงทอง. (2543). “พุทธธรรมกับภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ : กรณีศึกษาเฉพาะกำนันผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดนครศรีธรรมราช”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

อาตีก๊ะ จรัลศาส์น. (2547). “ภาวะผู้นำสตรี จังหวัดปัตตานี”. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). ภาวะผู้นำ: ความสำเร็จต่อการพัฒนาคนพัฒนาประเทศ. [ออนไลน์]. http://www.dhammajak.net/boardviewtopic.php?t=1497 [2 มีนาคม 2557]

Normand L. Frigon. Sr. & Harry K. Jackson. Jr. (1996). The Leader: Developing the Skills & Personal Quatities You Need to Lead Effectively. New York: American Management Association.

Raymond J. Burdy. (1997). Fundamental of Leadership Reading. Massachusetts Addison: Wesley Publishing Co.

เผยแพร่แล้ว

2024-09-08