การพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • สมจิต ขอนวงค์ วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุขาวดี วังคำ วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ปัญญา สุนันตา วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาพื้นที่, การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์, กิจกรรมการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

บทความเป็นการนำเสนอผลการศึกษาจากการวิจัย “การพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 2) เพื่อสังเคราะห์การพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และ 3) เพื่อนำเสนอแนวคิดการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research) ทั้งวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

          ผลการศึกษาพบว่า

  1. การศึกษาการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ ด้านบริบทการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ วนอุทยานแพะเมืองผี มีตำนานเรื่องเล่าที่สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตที่ยาวนาน โดยไม่มีใครทราบถึงความเป็นมาที่แท้จริง แต่ได้กล่าวกันว่าพื้นที่แห่งนี้มีคนพบสมบัติและพากันสืบเสาะค้นหาแต่ไม่พบเป้าหมายที่ต้องการ พบเพียงแค่รอยเท้าพาเข้าไปถึงบริเวณที่เป็นแพะเมืองผีในปัจจุบัน ศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในพื้นที่แสดงถึงกระบวนการผลิตที่เริ่มต้นจากชุมชน อาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับความก้าวหน้าทางสังคมทำให้มีกระบวนการที่พึ่งพาตนเองได้ ด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ วนอุทยานแพะเมืองผี เกิดขึ้นประมาณไม่เกิน 2 ล้านปี เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่างๆ ศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ที่มีการกระจายไปในชุมชน เป็นการประกอบการขนาดเล็กและขนาดจิ๋ว ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ วนอุทยานแพะเมืองผี กิจกรรมที่เกิดขึ้นนั้นเป็นกิจกรรมที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และมีการเปิดให้เข้าศึกษาดูงานเพื่อเสริมสร้างความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์ ศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีการกระจายไปในชุมชน ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานจากภาครัฐ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีการดำเนินการอย่างเข้มแข็งและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
  2. การสังเคราะห์การพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ด้านศักยภาพเชิงพื้นที่ มีการจัดกิจกรรมที่เป็นเป้าหมายหลักของชุมชน เช่น ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเดิมของท้องถิ่น ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว การวางรูปแบบ การพัฒนาพื้นที่เพื่อให้การจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์จึงเป็นกระบวนการเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวในชุมชนให้เกิดการกระตุ้นในชุมชน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ การบริหารจัดการพื้นที่ ความเหมาะสมของพื้นที่ ความเพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว ด้านศักยภาพตัวบุคคลในพื้นที่ การรับรู้และรับทราบข้อมูลต่าง ๆ ของหมู่บ้านและข่าวสารต่าง ๆ จากสังคมเพื่อนำมาปรับพัฒนากับชุมชนให้เกิดความเหมาะสมที่ดีกับพื้นที่
  3. การเสนอแนวคิดการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จากการสังเคราะห์แนวทางสำหรับพัฒนาพื้นที่ในการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการ 3S ประกอบด้วย 1) เรื่องราว (Storytelling) การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานชุมชนเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาพื้นที่และสร้างกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เป็นกระบวนการที่เชื่อมต่อระหว่างความเป็นชุมชนในอดีต ความเป็นไปในปัจจุบัน และความเป็นไปที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 2) อรรถรส (Senses) การศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับบริบท สิ่งแวดล้อมของพื้นที่สำหรับการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้เกิดความน่าสนใจ การวางรูปแบบพื้นที่ให้เกิดความน่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยว การออกแบบพื้นที่และกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมของพื้นที่ให้เกิดความน่าสนใจ 3) ลีลา (Sophistication) กระบวนการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้เกิดความน่าประทับใจ เป็นการนำเอากระบวนการทั้งหมดรวมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างแบรนด์ของพื้นที่ให้เป็นที่จดจำสำหรับนักท่องเที่ยว

References

กรมทรัพยากรธรณี. (2544). ธรณีวิทยาประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : กรมทรัพยากรธรณี.

คณะกรรมการหมู่บ้าน. (2565). แผนพัฒนาหมู่บ้าน หมู่ที่ 1-4 ตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. เอกสารอัดสำเนา.

ชัชวาลย์ มากสินธ์. (2555). การพัฒนาชนบท. เอกสารประกอบการบรรยาย. จันทบุรี : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

ณรงค์ เพชรประเสริฐ. (2542). ธุรกิจชุมชน : เส้นทางที่เป็นไปได้. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ธิติ กิตติวิทิตคุณ. (2540). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการหมู่บ้านในการพัฒนา ชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ศิลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธีรวัลย์ ศิลารัตน์. (2549). การจัดการความรู้ชุมชน. จันทบุรี : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

นันทนีย์ กมลศิริพิชัยพร. (2560). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. เอกสารประกอบการสอนวิชา 2681602 ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฎรำไพพรรณี.

บัณฑร อ่อนดำและวิริยาน้อยวงศ์ นยางค์. (2533). ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาชนบท : ประสบการณ์ประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพมหานคร : โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา. (2565). กิจกรรมการท่องเที่ยวตามพฤติกรรมนักท่องเที่ยว. [ออนไลน์] http://61.7.151.244/moodle/pluginfile.php/36074/mod_resource/content/2/กิจกรรมการท่องเที่ยวตามพฤติกรรมนักท่องเที่ยว.docx.pdf

วิรัช เตียงหงษากุล. (2529). หลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2547). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยจุฬาภรณ์.

สินธุ์ สโรบล. (2546). การท่องเที่ยวโดยชุมชนแนวคิดและประสบการณ์พื้นที่ภาคเหนือ. โครงการประสานงานวิจัยและพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวและชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค. เชียงใหม่ : วนิดา เพรส.

เสรี พงศ์พิศ. (2552). คู่มือทำวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพมหานคร : พลังปัญญา.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) - อพท. (2561). คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร : บริษัท บุ๊คพลัส พับลิชชิ่ง จำกัด.

Farahani. H. Z.. and Musa. G. (2012). The relationship between Islamic religiosity and residents’ perceptions of socio-cultural impacts of tourism in Iran: Case studies of Sare’in and Masooleh. Tourism Management.

Ohridska-Olson. R. and Lvanov. S. (2011). Creative tourism business model and its application in Bulgaria. [Online]. http://culturalrealms.typepad.com/files/ creativetourismbm_article_1_lr.pdf.

Ohridska-Olson. R. and Lvanov. S. (2010). Creative tourism business model and its application in Bulgaria. Social Science Research Network.

Raymond. C. (2007). Creative tourism New Zealand. creativity and development. London: Routledge.

Richards C. (2011). Creativity and tourism: the state of the art. Annals of Tourism Research.

Sofield. T.. Guia. J.. and Specht. J. (2017). Organic “folkloric” community driven place-marketing and tourism. Tourism Management.

UNESCO. (2006). Towards sustainable strategies for creative tourism discussion report of the planning meeting for 2006. International Conference on Creative Tourism. New Mexico: Sunstone Press.

เผยแพร่แล้ว

2024-02-03