บทบาทของผู้นำท้องที่ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • ธิติศิริพัฒน์ รุ่งพรหมมา วิทยาลัยวิทยาสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สายัณห์ อินนันใจ วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ผู้นำท้องที่, การมีส่วนร่วม, เศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทของผู้นำท้องที่ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุ 4 กับบทบาทของผู้นำท้องที่ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะของบทบาทของผู้นำท้องที่ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจจากการแจกแบบสอบถาม จำนวน 346 คน ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตร และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากแบบสัมภาษณ์ จำนวน 11 รูป/คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

              ผลการวิจัยพบว่า

              1) ระดับบทบาทของผู้นำท้องที่ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.04)

              2) หลักสังคหวัตถุ 4 กับบทบาทของผู้นำท้องที่ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูงมาก (r = .854**)

              3) ปัญหาอุปสรรค พบว่า ผู้นำท้องที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจการวางแผนพัฒนา และยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง การประชาสัมพันธ์ยังเข้าไม่ถึงประชาชนทุกกลุ่ม ข้อเสนอแนะ พบว่า ผู้นำท้องที่ควรทำความเข้าใจ และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงภายในชุมชน และมีการประชาสัมพันธ์ภายสื่อเทคโนโลยีเพื่อให้เข้าถึงประชาชน

References

จักรพันธ์ ลิ่มมังกร และเสกชัย ชมพูนุช. (2563). แนวทางการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. 3 (2) 139 : 149.

พระธีระพงษ์ ธีรงฺกุโร (พลรักษา). (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิเศษ กนฺตธมฺโม (มั่งคั่ง). (2561). บทบาทผู้นำฝ่ายปกครองในการจัดการปัญหาความขัดแย้งในชุมชนอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระหมี ถิรจิตฺโต (สีทน). (2561). การพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านหนองเอาะ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัลลภัช สุขสวัสดิ์. (2561). การวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร : สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุวรรณ์ แก้วนะ. (2561). การบริหารจัดการการใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนตำบลไทรย้อย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.saiyoiphrae.go.th/องค์การบริหารส่วนตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่/ศูนย์ข้อมูลกลางด้านชุมชนครัวเรือนต้นแบบชีววิถี [30 กันยายน 2563].

อภิชาติ พานสุวรรณ และอดิสร ภู่สาระ. (2562). บทบาทผู้นำในการพัฒนาชุมชนบ้านลาว อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 21 (1) 53 : 62.

สมนึก ภัททิยธนิ. (2549). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กาฬสินธุ์ : ประสานนักการพิมพ์.

สุวรีย์ ศิริโภคารภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี : สถาบันราชภัฏเทพสตรี

เผยแพร่แล้ว

2024-02-03