วิจิตรลักษณ์ทางจะเข้ตำรับครูทองดี สุจริตกุล
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง วิจิตรลักษณ์ทางจะเข้ตำรับครูทองดี สุจริตกุล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการบรรเลงในทางจะเข้ตำรับครูทองดี สุจริตกุล และเพื่อศึกษาวิเคราะห์วิจิตรลักษณ์สำนวนกลอนทางจะเข้ของครูทองดี สุจริตกุล โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ลูกศิษย์ของครูทองดี สุจริตกุล 15 คน ผลการศึกษาพบว่ากลวิธีการบรรเลงทางจะเข้ตำรับครูทองดี สุจริตกุลมี 15 กลวิธีในการบรรเลงจะเข้อันประกอบไปด้วย การดีดสายเปล่า การดีดเปิดสายเปล่า การดีดรัว การดีดสะบัดสามเสียง การดีดสะบัดสองเสียง การดีดสะบัดเสียงเดียว การดีดทิงนอย การดีดรัว การดีดรัวรูด การดีดรัวรูดสายลวด การดีดตบสาย การดีดกระทบสองสาย การดีดกระทบสามสาย การดีดปริบ การดีดโปรย การดีดขยี้
ผลการศึกษาพบว่ากลวิธี 15 กลวิธีปรากฏเป็นวิจิตรลักษณ์สำนวนกลอนทางจะเข้ของครูทองดี สุจริตกุล 22 รูปแบบในเพลงประเภทดำเนินทำนองและเพลงเดี่ยว การใช้สำนวนกลอนทั้งวรรคถามและวรรคตอบ การซ้ำของทำนองอย่างเป็นระบบ การใช้สมดุลในการใช้กลวิธีขั้นต้น ขั้นกลางและขั้นสูง ส่งผลให้เป็นที่ยอมรับว่าทางจะเข้ตำรับครูทองดี สุจริตกุลเป็นวิจิตรลักษณ์ที่มีคุณค่าทางความงามตามขนบทั้งภาพลักษณ์ที่มองเห็นและเสียงที่ได้รับฟัง
Article Details
References
จี ศรีนิวาสัน. (2534). สุนทรียศาสตร์: ปัญหาและทฤษฎีเกี่ยวกับความงามและศิลปะ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิพม์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
ปัญญา รุ่งเรือง. (2517). ประวัติการดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
พระยาอนุมานราชธน. (2533). งานนิพนธ์ชุดสมบูรณ์ของศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน หมวดศิลปะและการบันเทิงเรื่อง รวมเรื่องศิลปะและการบันเทิง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.
พระสุจริตสุดา. (2526). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
ทองดี สุจริตกุล. (2550). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ. กรุงเทพฯ: บริษัทประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้งจำกัด.