เลือดขัตติยา: การสร้างสรรค์แนวคิดและองค์ประกอบการแสดงละคร ตามแนวทางละครหลวงวิจิตร

Main Article Content

ฤดีชนก คชเสนี
จินตนา สายทองคำ
ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อสร้างแนวคิดการแสดงละครเรื่องขัตติยาตามแนวทางละครหลวง วิจิตร 2.เพื่อสร้างองค์ประกอบการแสดงละครเรื่องเลือดขัตติยาตามแนวทางละครหลวงวิจิตร ดำเนินการวิจัยด้วย การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและกำหนดแนวความคิดจากเอกสารทางวิชาการ หนังสือ ตำรา รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับละครหลวงวิจิตร ทั้งนี้ดำเนินการสัมภาษณ์ทายาทหลวงวิจิตรวาทการ ศิลปินแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญและ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนาฏศิลป์ดนตรีและเครื่องแต่งกาย ตลอดจนกลุ่มผู้มีประสบการณ์การแสดงละครหลวงวิจิตร วาทการ จากนั้นรวบรวมข้อมูลที่ได้ศึกษาสู่การวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อสร้างแนวคิดและรูปแบบการแสดงละคร เรื่องขัตติยาตามแนวทางละครหลวงวิจิตร ผลการวิจัยพบว่า 1.การสร้างแนวคิด ประกอบด้วย 1) แนวทางการแสดงละครปลุกใจรักชาติของหลวง วิจิตรวาทการ2) บูรณาการศาสตร์การแสดงละครรูปแบบต่าง ๆ คือ ละครพูด ละครร้อง ละครพันทาง 3) ใช้วง ดนตรีไทยและวงดนตรีสากลประกอบการแสดง 4) เนื้อเรื่องการแสดงจากวรรณกรรมประเภทนวนิยายของ ลักษณวดี เรื่อง เลือดขัตติยา ที่มีเรื่องราวความรักของหญิงชายจบลงด้วยโศกนาฏกรรมที่พระเอกนางเอกเลือกที่จะ เสียสละความรักเพื่อประเทศชาติ คล้ายคลึงกับละครเรื่องเจ้าหญิงแสนหวี ของหลวงวิจิตรวาทการ ที่ปลูกฝังหน้าที่ ของทุกคนที่ต้องมีความจงรักภักดีต่อผู้ปกครองประเทศ มีความสามัคคีปรองดองกันในชาติ เสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประเทศชาติ 2.การสร้างองค์ประกอบการแสดงละครเรื่องเลือดขัตติยาตามแนวทางละครหลวงวิจิตร ประกอบด้วย 1) การสร้างสรรค์บทละคร 2) การสร้างสรรค์ดนตรีประกอบการแสดง 3) การคัดเลือกผู้แสดง 4) การออกแบบลีลา นาฏศิลป์ 5) การออกแบบเครื่องแต่งกาย 6) การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง 7) การออกแบบพื้นที่เวทีและ ฉากในการแสดง 8) การออกแบบแสง เสียง และมัลติมีเดีย การสร้างสรรค์แสดงในครั้งนี้สามารถพัฒนาต่อยอด การ ปลูกฝังคุณธรรมด้านความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยเสริมแต่งความร่วมสมัยเพื่อสืบสานแนวทางละคร หลวงวิจิตรให้กลับมากระตุ้นความรักชาติของคนไทยในยุคปัจจุบัน

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

ฤดีชนก คชเสนี

สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป

จินตนา สายทองคำ

สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป

ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์

สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

References

นราพร สังข์ชัย. (2551). การเขียนบทละครโทรทัศน์: กระบวนการคิดสร้างสรรค์และเทคนิค. กรุงเทพ:

สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

นพมาศ แววหงส์. (2554). องค์ประกอบของบทละคร ใน ปริทัศน์ศิลปะการละคร. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่

ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2538). โขน คาราบาว น้ำเน่า และหนังไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

ประอรรัตน์ บูรณมาตร์. (2528). หลวงวิจิตรวาทการกับบทละครประวัติศาตร์. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ผู้จัดการออนไลน์. (2563). นิด้าโพลชี้ ปชช.มองเด็กชู 3 นิ้ว- ผูกโบว์ขาวเป็นเสรีภาพการแสดงออก แต่ครูและ

ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำ. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565, จาก

https://mgronline.com/uptodate/detail

ฤดีชนก คชเสนี. (2565). ลักษณะสำคัญของรูปแบบละครที่ปรากฏในละครเรื่อง เลือดขัตติยา ตามแนวทางละคร

หลวงวิจิตร. สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.