บทบาทของสมาชิกสภาเทศบาลในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • วิราช ธันยพัฒน์กุล เทศบาลเมืองแพร่
  • สายัณห์ อินนันใจ วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บทบาท, สมาชิกสภาเทศบาล, การพัฒนาชุมชน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทของสมาชิกสภาเทศบาลในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรม 7 กับบทบาทของสมาชิกสภาเทศบาลในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะของบทบาทของสมาชิกสภาเทศบาลในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจจากการแจกแบบสอบถาม จำนวน 390 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูป/คน วิเคราะห์คำให้สัมภาษณ์ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า

1) ระดับบทบาทของสมาชิกสภาเทศบาลในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 3.60)

2) หลักอปริหานิยธรรม 7 กับบทบาทของสมาชิกสภาเทศบาลในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับปานกลาง (r = .516**)

3) ปัญหาอุปสรรค พบว่า สมาชิกสภาเทศบาลบางท่านยังขาดความรู้ความใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล และประชาชนบางชุมชนยังไม่เข้าใจกระบวนการ และขาดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาชุมชน ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรมีหลักสูตรอบรมพัฒนาสมาชิกสภาเทศบาลให้เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง และรณรงค์ให้ประชาชนเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอในการพัฒนาชุมชนของตนเอง

References

กษิณ ประชามอญ. (2560). รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธีรวุฒิ โศภิษฐิกุล. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย. ฉะเชิงเทรา : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร.

พระคำรณ อติภทฺโท (ทองน้อย). (2562). การบริหารจัดการเชิงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข่าตามหลักอปริหานิยธรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธวัชชัย สนฺติธมฺโม (วรรณนาวิน). (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลเมือง สระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมุห์กิตติพงศ์ ฐิตสีโล (สุวรรณวงศ์). (2560). การบริหารงานเพื่อพัฒนาสังคมของเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสนามหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการวรวุฒิ สุเมโธ (มีธรรม). (2563). พฤติกรรมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ในจังหวัดนครราชสีมา เขตเลือกตั้งที่ 5. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2552). พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2552.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19