การส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ในเขตตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • เอกพจน์ อุดดี วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมจิต ขอนวงค์ วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมทางการเมือง, การมีส่วนร่วมของประชาชน, การเลือกตั้ง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ในเขตตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรม 7 กับการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ในเขตตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมือง แบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ในเขตตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี ได้แก่ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ จากแบบสอบถาม และระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า

          1) การส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ในเขตตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.70) 2) หลักอปริหานิยธรรม 7 มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ในเขตตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับปานกลาง (r = .488**) 3) ปัญหาอุปสรรค ได้แก่ ประชาชนยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ และยังไม่มีส่วนร่วมในคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ข้อเสนอแนะ ได้แก่ จัดอบรมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ แต่งตั้งคณะกรรมการประจำชุมชนให้ตรวจสอบและติดตามตรวจสอบการเลือกตั้ง

References

บุศรา โพธิสุข. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร. 12 (1) 151 : 164.

พงษ์เมธี ไชยศรีหา. (2561). แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 5 (2) 243 : 262.

พระคำรณ อติภทฺโท (ทองน้อย). (2562). การบริหารจัดการเชิงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข่าตามหลักอปริหานิยธรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาทัศพงษ์ ชยเมธี (กลิ่นศรีสุข). (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสำราญ นนทพุทธิ (ทะศูนย์). (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการวรวุฒิ สุเมโธ (มีธรรม). (2563). พฤติกรรมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ในจังหวัดนครราชสีมา เขตเลือกตั้งที่ 5. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิชิต กันยาวรรณ. (2560). การกล่อมเกลาทางการเมืองและวัฒนธรรมทางการเมืองที่ส่งผลต่อประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ของประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตรมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 8 (2) 177 : 189.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2529). วัฒนธรรมทางการเมือง และการกล่อมเกลาเรียนรู้ทางการเมือง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัลลภัช สุขสวัสดิ์. (2561). การวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19