การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว ในพื้นที่แหล่งวัฒนธรรมจังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • พระมหาฉัตรเทพ พุทฺธชาโต วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สายพิน รุ่งวัฒนะกิจ วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สายสมร วิทยศิริ สมาคมพัฒนาสตรีจังหวัดแพร่

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, การท่องเที่ยว, วัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่แหล่งวัฒนธรรมจังหวัดแพร่” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและสำนวนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่แหล่งวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ 2) เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่แหล่งวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่แหล่งวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมและนักท่องเที่ยว เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งวิจัยในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผลการวิจับพบว่า

          การวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบและสำนวนภาษาอังกฤษที่เหมาะสมกับพื้นที่แห่งวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ ผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่จำนวน 7 แห่ง ประกอบด้วย 1. วัดสูงเม่น 2. บ้านวงศ์บุรี 3. วัดพงษ์สุนันท์ 4. วัดจอมสวรรค์ 4. คุ้มเจ้าหลวง 5. สถานีรถไฟบ้านปิน 6. วัดสะแล่ง และ 7. วัดศรีดอนคำ โดยมีประเด็นในการศึกษาประกอบด้วย ความเป็นมา ความสำคัญ การเปลี่ยนแปลง แนวทางการพัฒนาพื้นที่ ทำให้ทราบว่าแต่ละพื้นที่ยังมีการจัดทำเนื้อหาทางด้านภาษาอังกฤษน้อยมาก โดยในเบื้องต้นมีเฉพาะ 2 แห่งคือ วัดสูงเม่นและวัดพงษ์สุนันท์ที่มีการดำเนินการแปลเป็นภาษาอังกฤษสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่วนที่เหลือยังไม่ได้มีการดำเนินการแปล ซึ่งทีมวิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของแต่ละแห่งและมีการดำเนินการแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้เป็นข้อมูลสืบค้นต่อไป

ผลการประเมินเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่แหล่งวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ ด้านเนื้อหา พบว่า ผลการประเมินเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่แหล่งวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ ความสอดคล้องกับพื้นที่ ภาษาที่ใช้มีความถูกต้อง ชัดเจนและเข้าใจง่ายการสื่อความหมายของเนื้อหาที่เข้าใจง่ายต่อการเรียนรู้ และเนื้อหามีความสอดคล้อง ต่อเนื่อง และเพียงพอ ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้และถ่ายทอด  พบว่า รูปแบบการนำเสนอมีความชัดเจน เข้าใจง่าย มีการแนะนำ ชี้แนะอย่างเหมาะสม และมีความหลากหลายในการนำเสนอเพื่อให้เกิดการเรียนรู้

References

กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544. กรุงเทพฯ: องค์การขนส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์

จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด. อังสุมาลิน จำนงชอบ และณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2561). “การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ในพื้นที่อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว”. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. 10(2), กรกฎาคม-ธันวาคม.

ฉันทัช วรรณถนอม. (2552) “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว”. กรุงเทพฯ : สามลดา.

นุจรี นิมิตกมลชัย และชลิสา กัลยาณมิตร. (2562). “การท่องเที่ยวยุคดิจิทัลและนัยต่อรายรับภาคการท่องเที่ยวไทย”. ธนาคารแห่งประเทศไทย.

ปัญญา สุนันตา และพระครูโกวิทอรรถวาที, (2561). “การพัฒนาทักษะการพูดออกเสียงภาษาอังกฤษสำหรับนิสิตสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่”. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่. 4(1). มกราคม - มิถุนายน.

สำนักวิชาการ. (2561). “การท่องเที่ยวไทยในยุคดิจิทัล” สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

หน่วยศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา. (2544). การพัฒนาและการใช้แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน และท้องถิ่นเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.

ไม่ปรากฎ. (2563). พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ. https://th.wikihow.com/พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ. [ออนไลน์]. 31 มกราคม.

CANALE & MICHAEL. (1980). Theoretical Bases of Communicative Approaches to Second Language Teaching and Testing. Applied Linguistics.

Ellis. R. (1994). The Study of Second Language Acquisition. Oxford: Oxford University Press.

Good. Carter V. (1973). Dictionary of education. 3rd. New York: McGraw-Hill.

Hitchcock. k. R. (1997). Cultural. Economic and Environmental Impact of Tourism Among Kalahari Bushmen. In E. Chambers (2Ed.). Tourism and Culture: An applied perspective. NY: State University of New York Press. Albany.

Kuper. A. & Kuper. J. (1996). The Social Science Encyclopedia. In A. Kuper & J. Kuper (Eds.). The social Science Encyclopedia (2nd Ed.). London: Routledge.

Littlewood. William. (1995). Communicative Language Teaching. Great Britain: Cambridge.

McIntosh. R.W.. & Goeldner. C. R. (1986). Tourism: Principles. Practices. philosophies (5th ed. Ed.). NY. USA: Wiley.

Smith. V. (2003). Cultural Tourism Studies. NY: Routledge.

Tylor. B.E. (1920). Primitive Culture. NY. USA.: J.P. Putnam’s Son.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-15