การส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของตำรวจภูธรจังหวัดแพร่
คำสำคัญ:
การกล่อมเกลา, ประชาธิปไตย, ตำรวจภูธรจังหวัดแพร่บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของตำรวจภูธรจังหวัดแพร่ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสัปปุริสธรรม 7 กับการส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของตำรวจภูธรจังหวัดแพร่ 3. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อองค์กรตำรวจภูธรจังหวัดแพร่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจจากการแจกแบบสอบถามกับตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ อยู่ในตำรวจภูธรจังหวัดแพร่ จำนวน 184 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์คำให้สัมภาษณ์ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญตามวัตถุประสงค์การวิจัย โดยใช้เทคนิค การวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของตำรวจภูธรจังหวัดแพร่ โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.89) 2) หลักสัปปุริสธรรม 7 กับการส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของตำรวจภูธรจังหวัดแพร่ โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก (r = .890**) และ 3) ปัญหาอุปสรรค ได้แก่ การให้ความรู้ในระบอบประชาธิปไตยยังไม่ครอบคลุมทุกหน่วยงาน ตำรวจบางคนยังไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ที่มีต่อการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ตำรวจภูธรจังหวัดแพร่ควรจัดให้มีการอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ให้กับตำรวจได้มีจิตสำนึกที่ดีต่อการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
References
พระทรงวุฒิ ชาตเมธี. (2563). การกล่อมเกลาทางการเมืองที่มีผลต่อการใช้สิทธิ์เลือกตั้งของประชาชนในเขตอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เกรียงไกร ทองจิตติ. (2560). การกล่อมเกลาทางการเมืองผ่านบทเพลงเพื่อชีวิตช่วงปี พ.ศ. 2516-2519. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 3 (2) 11 : 22.
ชูเกียรติ ผลาผล ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์ และพรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2562). การกล่อมเกลาทางการเมืองที่นíำไปสู่แบบแผนวัฒนธรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 19 (4) 47 : 58.
พ.ต.อ.ฤทธิชัย ช่างคำ และคณะ. (2562). บทบาททางการเมืองของเจ้าหน้าที่ตำรวจในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.). วารสารการวิจัยพัฒนาการบริหารการพัฒนา. 9 (2) 112 : 124.
พระทองพจน์ ธีรธมฺโม (พรมราช) และคณะ. (2561). หลักสัปปุริสธรรมกับการแก้ไขวิกฤติปัญหาสังคม. วารสารสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 6 (1) 51 : 65.
พิชิต กันยาวรรณ และธรรมนิตย์ วราภรณ์. (2560). การกล่อมเกลาทางการเมือง และวัฒนธรรมทางการเมือง ที่ส่งผลต่อประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 8 (2) 177 : 189.
วัลลภัช สุขสวัสดิ์. (2561). การวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดแพร่. (2563). สรุปสถานภาพข้าราชการตำรวจ 2563. (อัดสำเนา).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Journal of Lanna Societies
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.