การขับเคลื่อนแนวคิดระบอบประชาธิปไตยของโรงเรียนมัธยมศึกษา
คำสำคัญ:
การขับเคลื่อน, ประชาธิปไตยบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับการขับเคลื่อนแนวคิดระบอบประชาธิปไตยของโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักธรรมปัญญา 3 กับการขับเคลื่อนแนวคิดระบอบประชาธิปไตยของโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนแนวคิดระบอบประชาธิปไตยของโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี ได้แก่ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ จากแบบสอบถาม และระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า 1) การขับเคลื่อนแนวคิดระบอบประชาธิปไตยของโณงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.69) 2) หลักธรรมปัญญา 3 มีความสัมพันธ์กับการขับเคลื่อนแนวคิดระบอบประชาธิปไตยของโณงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูงมาก (r = .827**) และ 3) ปัญหาอุปสรรค ได้แก่ เวลาการเรียนการสอนยังไม่เพียงพอกับการพัฒนาประชาธิปไตย และหลักสูตรการพัฒนาและขับเคลื่อนประชาธิปไตยยังไม่มีความทันสมัย ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับประชาธิปไตยให้มีความทันสมัย และเพิ่มเวลาในการเรียนให้สอดคล้องกับหลักสูตร
References
นัดดา สุริยสมบัติสกุล. (2562). ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการออกแบบรูปแบบการศึกษาประชาธิปไตยเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองให้กับเยาวชนในชุมชน. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประลอง ครุฑน้อย และคณะ. (2563). การประยุกต์ใช้การประเมินที่ขับเคลื่อนด้วยทฤษฎีในการพัฒนาและประเมินโครงการพัฒนาบุคลิกภาพประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 13 (1) 98 : 113.
ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา (Education Management Information System : EMIS). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://data.bopp bec.info/emis/student.php?Area_CODE=101737&Edu_year=2563 [ 1 มีนาคม 2564].
วันชัย หวังสวาสดิ์. (2559). รูปแบบการบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วัลลภัช สุขสวัสดิ์. (2561). การวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วีรวัฒก์ แก้วทองใหญ่ และพระเมธาวินัยรส. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามหลักปัญญา 3 ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 (2) 973 : 990.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. องค์ความรู้การเลือกตั้ง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.ect.go.th/ect_th/ewt_news.php?nid=767 [27 กันยายน 2564].
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). พัฒนาประชาธิปไตย พัฒนาการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร : กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Journal of Lanna Societies
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.