การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตำหนักธรรม อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • สิริพร อินทรรุจิกุล องค์การบริหารส่วนตำบลตำหนักธรรม
  • สมจิต ขอนวงค์ วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การจัดการ, ขยะมูลฝอย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นข้อเสนอแนะของประชาชนมีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตำหนักธรรมอำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ และเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาตามแนวคิดของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตำหนักธรรมอำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษากับประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตำหนักธรรม อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 357 คน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถาม แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) และการวิจัยเชิงคุณภาพได้ใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์ โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key information) จำนวน 8 ท่าน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique)

ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตำหนักธรรมอำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.75, S.D. = 0.377) เพศ พบว่าปฏิเสธสมมติฐาน ส่วนสมมติฐานที่ 2, 3, 4, 5 และ 6 ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรต้น คือ อายุ, ระดับการศึกษา, อาชีพ, รายได้ และ ระยะเวลาที่อาศัย อยู่ในชุมชน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐาน และมีแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักอปริหานิยธรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตำหนักธรรมอำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ ด้านลดการเกิดขยะ ควรมีการแต่งตั้งคณะทำงาน และมีการประชุมวางแผนการบ่อย ๆ มีการทำกิจกรรมอย่างพร้อมเพียงกัน ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมเพื่อกำหนดข้อบัญญัติเป็น แนวทางยึดถือปฏิบัติร่วมกันในการลดการเกิดขยะ ควรยึดถือแนวทางการปฏิบัติของบรรพบุรุษ โดยให้ใช้ตะกร้าไม้ไผ่สานเวลาไปจ่ายตลาด ใช้ใบตองห่ออาหาร ปิ่นโตใส่อาหาร ซึ่งจะเป็นการลด การเกิดขยะตามแบบดังเดิม ด้านการคัดแยกขยะ ควรมีคณะทำงาน และมีการประชุมในการวางแผน ควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางในการคัดแยกขยะ ควรมีการสนับสนุน ส่งเสริมกิจกรรมในการคัดแยกขยะในหมู่บ้าน การให้ความรู้ในการคัดแยกประเภทขยะที่ถูกวิธี เช่น ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะย่อยสลาย ด้านการนำขยะมาใช้ใหม่ ควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการของหมู่บ้าน ประชุมวางแผนการทำงานพร้อมเพียงกัน ควรจัดอบรมให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการคัดแยกนำกลับมาใช้ใหม่ และการนำขยะกลับมาทำสิ่งประดิษฐ์เป็นสิ่งของต่าง ๆ เช่น ของตกแต่งบ้าน ของเล่นสำหรับเด็ก เป็นต้น

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเละสิ่งแวดล้อม. (2548). มลพิษจากขยะมูลฝอยในชุมชน. กรุงเทพมหานคร: [ม.ป.พ.].

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2545). มาตรฐานการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล. กรุงเทพมหานคร: [ม.ป.พ.]

ปรีดา แย้มเจริญ. (2551). การจัดการขยะมูลฝอย. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กาบแก้ว ปัญญาไทย. (2554). “การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลเกาะคา จังหวัดลำปาง”. การค้นคว้าแบบอิสระ. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จินตนา เปียสวน. (2548). “ความรู้ ความตระหนัก และการปฏิบัติตัวของแม่บ้านเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในแฟลตข้าราชการกรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ฉัตรชัย นวลเพ็ญ. “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการคัดแยกขยะในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด”. ภาคนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิตสาขารัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549.

ชูชีพ ศิริ. “การจัดการขยะในเขตเทศบาลบ้านกาด อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่”. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2549.

ณัฐรดี คงดั่น. “ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2548.

ประภาพร แก้วสุกใส. “การศึกษาเพื่อหาแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒองค์รักษ์”. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2549.

รามิล พัฒนมงคลเชฐ. “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล: กรณีเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี.” วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2549.

สมศักดิ์ จันทวัฒนา และคณะ. “การจัดการการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการทิ้งขยะของครัวเรือนกรณีศึกษาหมู่บ้านอาคเนย์นิเวศน์ ในเขตบางซื่อ”. รายงานการศึกษาวิชาสัมมนาเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการจัดการภาครัฐและเอกชน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2551.

สมสมาน อาษารัฐ. “การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลธาตุทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี”. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง บัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา, 2550.

พระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119. แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.slideshare.net [24 พฤษภาคม 2557].

องค์การบริหารส่วนตำบลตำหนักธรรม. สำนักทะเบียนราษฎร เดือน ธันวาคม 2556. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.tamnaktham.go.th/condition.php

เผยแพร่แล้ว

2023-10-03