การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้ภาพยนตร์เรื่อง Snake Bite สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา

ผู้แต่ง

  • พระนพพล ไพรัตน์ โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา
  • สุพจน์ แก้วไพฑูรย์ วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาทักษะ, การฟัง, โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา

บทคัดย่อ

การวิจัยการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้ภาพยนตร์เรื่อง Snake Bite สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาภาษาอังกฤษโดยใช้ภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ ใช้การวิจัยทดลองแบบ One Group Pretest - Posttest Design กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยวิธีแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ (=4.25, S.D. = 1.331) ผลการทดสอบหลังเรียนมีค่าเท่ากับ (= 7.58, S.D = 1.288) และมีค่าความต่างของผลการทดสอบก่อนและหลังเรียน มีค่าเท่ากับ (=3.33, S.D. =1.179) 2. ความพึงพอใจต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับมากทุกด้าน 3. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านเนื้อหา โดยเนื้อหาในการสอนมีความเข้าใจง่ายและเหมาะสมการสอนการสื่อสารให้ความสำคัญ กับการใช้ภาษา (Use) มากกว่าวิธีการใช้ภาษา (Usage) ผู้สอนจึงไม่ควรแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียนทุกครั้ง ด้านการจัดการเรียนรู้ การถ่ายทอดองค์ความรู้ของผู้สอนมีความเหมาะสมพูดจะต้องใช้ความสามารถทางด้านภาษาหลายด้านประกอบกัน เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจโดยจะต้องถ่ายทอดความรู้สึกออกมาเป็นคําพูดเพื่อให้ผู้ฟังสามารถฟังอย่างเข้าใจ ด้านการวัดผลและประเมินผล ความชัดเจนของคำสั่งและคำถามของเนื้อหาการออกแบบแบบประเมินจึงควรคำนึงถึงเวลาที่นำแบบประเมินไปใช้จริง

References

ศศิวิมล ผาสุก. (2539). การพัฒนาทักษะการเขียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2534). การพัฒนาชุมชนจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : บางกอกบล๊อก.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2547). การพูดเพื่อการถ่ายทอดความรู้สึก. คณะทำงานโครงการนำร่องพัฒนาระบบงานยุติธรรมชุมชน: กระทรวงยุติธรรม.

ธอร์นไดค์ (Edward Thorndike). (2546). ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง. (อ้างถึงในถวัลย์ มาศจรัส วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เนชัน และนิวตัน (Nation and Newton). (2009). Teaching ESL/EFL listening and speaking. New York: Routledge.

พรพิมล ริยาย และธยางกูร ขําศรี. (2555). การพัฒนาการฟัง-พูดภาษอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่.

ศิริการณ์ ตาปราบ. (2553). การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้รายการโทรทัศน์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การค้นคว้าอิสระ. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฤทัยรัตน์ ปานจรินทร์. (2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนถาวรานุกูล จังหวัดสมุทรสงคราม. สารนิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร

ปัญญา สุนันตา. (2560). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร. รายงานวิจัย. ศูนย์วิจัยเวียงโกศัย.

เผยแพร่แล้ว

2023-10-03