กระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งแบบมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ของประชาชนในเขตเทศบาล ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • Napatthanan Mangkor องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่
  • sayan Innanjai วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • Phrakru Soponkittibundit วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ส่วนร่วมทางการเมือง, การเลือกตั้ง, สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับกระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งแบบมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรม 6 กับกระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งแบบมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะของกระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งแบบมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจจากการแจกแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ

ผลการวิจัยพบว่า

             1) ระดับกระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งแบบมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.84)

             2) หลักสาราณียธรรม 6 กับกระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งแบบมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (r = .631**)

             3) ปัญหาอุปสรรค พบว่า หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอกับประชาชนที่เข้ามาใช้สิทธิเลือกตั้งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และประชาชนยังขาดการมีส่วนร่วมในการรณรงค์ช่วยประชาสัมพันธ์ ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ควรส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้งภายในชุมชน และหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีความจริงใจในการเสนอข้อมูลข่าวสารในการเลือกตั้ง

References

กลุ่มงานผลิตเอกสารสำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

กลุ่มงานสารนิเทศ สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://web.parliament.go.th/assets/portals/11/files/002_การมีส่วนร่วมฯ.pdf [4 กุมภาพันธ์ 2564].

เทศบาลตำบลห้วยหม้าย. ข้อมูลผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๓. (อัดสำเนา).

บุศรา โพธิสุข. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร. 12 (1) 151 : 164.

พระมหาทัศพงษ์ ชยเมธี (กลิ่นศรีสุข). (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาประเสริฐศักดิ์ ปุญฺญพฑฺฒโน และสมพงษ์ โกละกะ. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 5 (2) 35 : 50.

พระมหาสำราญ นนทพุทธิ (ทะศูนย์). (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการธนิต ธมฺมสาโร (รามโพ). (2562). ภาวะผู้นำเชิงพุทธของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัลลภัช สุขสวัสดิ์. (2561). การวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุรกิจ สุวรรณแกม. (2561). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30