คุณค่าและความเชื่อในพิธีกรรมขึ้นท้าวทั้ง 4 ในภาคเหนือ
คำสำคัญ:
คุณค่า, ความเชื่อ, ท้าวทั้งสี่บทคัดย่อ
คุณค่าของพิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 ของประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือมีทั้งหมด 4 ด้าน คือ 1) คุณค่าด้านจิตใจพบว่า พิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 ของชุมชนแม่หล่าย อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ช่วยก่อให้เกิดความสบายใจ ความมั่นใจสำหรับเจ้าของงาน หรือ ผู้ที่เป็นเจ้าของบ้าน ว่าเมื่อกระทำแล้วจะทำให้การงานที่จะจัดขึ้นมีความเรียบร้อย ไม่มีอุปสรรค เสมือนมีเทพยดามาคอยปกป้องไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวนงานจนงานแล้วเสร็จ 2) คุณค่าด้านสังคม พบว่า เป็นพิธีกรรมที่ช่วยสร้างความสามัคคีให้กับชุมชน เป็นพิธีกรรมที่ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนให้อยู่ร่วมกันด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน รวมถึงเป็นพิธีที่เปิดโอกาสให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับคติความเชื่อและวิถีปฏิบัติของคนในชุมชน 3) คุณค่าด้านพิธีกรรม พบว่า พิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 นั้น เป็นพิธีกรรมที่ชุมชนห้วยม้าได้ยึดถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยอดีต เป็นพิธีที่สอดคล้องกับความเชื่อทางศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ฮินดูในด้านการอัญเชิญเทพยดามาช่วยปกป้องคุ้มครองให้เกิดความเป็นสิริมงคล เป็นจุดเริ่มต้นของการประกอบกุศลพิธี บุญพิธี ทานพิธี และปกิณกะพิธีที่จะจัดขึ้นตามมาภายหลัง รวมถึงเป็นพิธีที่ส่งเสริมความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนและส่งเสริมคุณค่าทางด้านจิตใจได้เป็นอย่างดี และ 4) คุณค่าด้านประเพณีวัฒนธรรม พบว่า พิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 เป็นจุดเริ่มต้นของการประกอบกุศลพิธีต่างๆ รวมถึงเป็นพิธีกรรมแรกที่จะต้องปฏิบัติในในการประกอบประเพณีต่างๆที่ทางชุมชนร่วมกันจัดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเพณีสลากภัต ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ รวมถึงประเพณีที่จัดขึ้นทั้งในหมู่บ้านและภายในวัด จะต้องมีการบอกกล่าวเทพยดา เจ้าที่ เป็นอันดับแรก
References
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2552). พิธีกรรมและประเพณี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
คมเนตร เชษฐพัฒนวนิช. (2540). ความเชื่อพื้นบ้านล้านนา. สถาบันวิจัยทางสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง.
ภูเดช แสนสา. (2555). เมืองลอง. เชียงราย : สำนักพิมพ์ล้อล้านนา.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่. (2548). ปริศนาธรรมในพิธีกรรมล้านนา. เชียงใหม่: ธาราทองการพิมพ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Journal of Lanna Societies
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.