การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะผ้าทอสู่การยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชน

ผู้แต่ง

  • สมจิต ขอนวงค์ Mahachulalongkornrajavidyalaya University

คำสำคัญ:

ผลงานสร้างสรรค์, ศิลปะผ้าทอ, เศรษฐกิจชุมชน

บทคัดย่อ

กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะผ้าทอมือเพื่อนำไปสู่การยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชนในกลุ่มจังหวัดล้านนา ควรมุ่งให้ความสำคัญของการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน และทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาพัฒนาลวดลายประยุกต์ในผืนผ้าให้เกิดแนวคิดใหม่ที่สร้างสรรค์และเกิดความสวยงามตามยุกต์สมัย สร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น มีคุณภาพ มีจุดเด่น มีเอกลักษณ์ มีการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ สร้างงาน สร้างรายได้ ตลอดจนได้รับมาตรฐานชุมชน พัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้รับการรับรองและแสดงเครื่องหมายการรับรอง เพื่อส่งเสริมด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและสร้างความมั่นให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

References

ปัญจพล ประสิทธิโสภณ ประธานหอการค้าจังหวัดแพร่ ข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม, วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๓.

ประนอม ทาแปง ศิลปินแห่งชาติ ปราชญ์ท้องถิ่น ข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม, วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๓.

ยุรีพรรณ แสนใจยา รองผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานแพร่ข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม, วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๓.

อานนท์ พลแหลม นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม, วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๓.

ภานุมาศ สายสำเภา นักวิเคราะห์นโนบายและแผน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ ข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม, วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๓.

บัวโรย จันทร์ศรีแก้ว ประธานกลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านค้างใจ ข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม, วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๓.

จันทร์เพ็ญ คำเหลือง ผู้ประกอบการผ้าทอ ข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม, วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๓.

วิภากรณ์ ราชฟู นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม, วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๓.

เผยแพร่แล้ว

2025-01-07

How to Cite

ขอนวงค์ ส. (2025). การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะผ้าทอสู่การยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชน. Journal of Lanna Societies, 2(4), 16–24. สืบค้น จาก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jls/article/view/1087