คติและความเชื่อการขึ้นท้าวทั้ง 4 ของประชาชนในชุมชนห้วยม้า
คำสำคัญ:
ความเชื่อ, ท้าวทั้ง 4, คติบทคัดย่อ
คติความเชื่อการประกอบพิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 ของประชาชนในชุมชนห้วยม้า อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ มีทั้งหมด 4 ด้าน คือ 1) คติความเชื่อด้านความศักดิ์สิทธิ์ของท้าวทั้ง 4 พบว่า เป็นพิธีที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในด้านการช่วยปกปักรักษาพื้นที่ในบ้าน รวมถึงผู้ที่อาศัยให้มีความปลอดภัย ช่วยคุ้มครองทั้งในด้านสมาชิกในครอบครัว ทรัพย์สิน และช่วยดลบันดาลให้มีแต่ความสุข โดยท้าวทั้ง 4 หรือเทวดาเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อภูติผี ปีศาจ สิ่งชั่วร้ายทั้งหลาย ๆ การประกอบพิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 เป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การเชื่อว่าท้าวทั้ง 4 นั้นจะสามารถปกป้องภูตผี ปีศาจ ไม่ให้เข้ามาในบริเวณพื้นที่บ้านได้ เนื่องจากท้าวทั้ง 4 ถือเป็นเทวดาที่มีอิทธิฤทธิ์ และพลังอำนาจที่ทำให้ภูตผีปีศาจกลัวได้ 2) คติความชื่อด้านความเป็นสิริมงคล พบว่า ก่อนที่กระทำการมงคลใดๆ ตามคติความเชื่อของประชาชนในชุมชนห้วยม้านั้น จะมีการขึ้นท้าวทั้ง 4 เป็นอันดับแรก เพื่อเป็นการบอกกล่าวท้าวทั้ง 4 หรือ เทวดาประจำบ้านเสียก่อน เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการประกอบกิจการงานที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยจะทำพิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 ในงานมงคล เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานปอยหลวง งานฉลองถาวรวัตถุในศาสนา เพื่อความเป็นสิริมงคลและเพื่อป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ 3) คติความเชื่อด้านการป้องกันภัยอันตราย พบว่า ท้าวทั้ง 4 หรือ เทวดาทั้ง 4 ผู้ทำหน้าที่ปกปักรักษาทั้ง 4 ทิศ นั้น คือ ท้าวกุเวร ท้าววิรุฬหก ท้าวธตะรัฐ ท้าววิรุฬปักข์ รวมถึงพระอินทร์และพระแม่ธรณี เป็นเทพยดาที่มีความศักดิ์สิทธิ์สามารถที่จะปกป้องคุ้มครองให้รอดพ้นจากอันตราย หรือ ภูตผีปีศาจที่จะเข้ามาทำอันตรายบุคคลภายในบ้านได้ เพราะเป็นเทพยดาที่มีพลังอำนาจ มีบริวารและมีบารมีมาก เมื่อประกอบพิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 แล้วจะช่วยปกป้องคุ้มครองภัยอันตราย ทั้งอันตรายจากภูตผีปีศาจ สิ่งที่ไม่ดี สิ่งอัปมงคลต่าง 4) คติความเชื่อด้านความกตัญญู พบว่า พิธีดังกล่าวนอกจากจะช่วยปกป้องคุ้มครองผู้คนในบ้าน และเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลแล้ว ยังเป็นการแสดงถึงความกตัญญูต่อเทวดาอารักษ์ ในฐานะผู้ปกป้องคุ้มครองบ้านเรือนให้เกิดสันติสุข
References
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่. (2554). ปริศนาธรรมในพิธีกรรมล้านนา. เชียงใหม่ : ธาราทองการพิมพ์.
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2552). พิธีกรรมและประเพณี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
คมเนตร เชษฐพัฒนวนิช. (2540). ความเชื่อพื้นบ้านล้านนา. สถาบันวิจัยทางสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง.
กันต์กวินต์ ทัดทาน. (2562). “ศึกษาความเชื่อเรื่องเทวดาที่มีอิทธิพลต่อล้านนา”. วารสาร มจร หริภุญชัยปริทรรศน์. ปีที่ 3 (1) มกราคม – มิถุนายน 2562, 1-9.
จอมพณ สมหวัง. (2561). “อิทธิพลของท้าวจตุโลกบาลที่มีต่อสังคมพระพุทธศาสนาล้านนา”. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ ปีที่ 3 (1) มกราคม– มิถุนายน 2561, 13-24.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Journal of Lanna Societies
![Creative Commons License](http://i.creativecommons.org/l/by-nc-nd/4.0/88x31.png)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.