การพัฒนาทักษะการเขียนภาพจิตรกรรมไทยพื้นฐานด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนโครงสร้างภาพสัตว์หิมพานต์ ในรายวิชาจิตรกรรมไทยพื้นฐาน รหัสวิชา 20301-2003 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 1 สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย

Basic Thai Painting Skill Development by drawing Himmaphan Animals Set in Basic Thai Painting Subject (20301-2003) for Vocational Education Level 1 of Fine Arts Program, Chiangrai Vocational College.

ผู้แต่ง

  • กำพล ตรงเมธี -

คำสำคัญ:

Ability of Thai basic painting, Thai basic painting exercises about the structure of Thai basic painting

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนโครงสร้างภาพสัตว์หิมพานต์ ในรายวิชาจิตรกรรมไทยพื้นฐาน รหัสวิชา 20301-2003 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนโครงสร้างภาพสัตว์หิมพานต์ ในรายวิชาจิตรกรรมไทยพื้นฐาน รหัสวิชา 20301-2003 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนโครงสร้างภาพสัตว์หิมพานต์ ในรายวิชาจิตรกรรมไทยพื้นฐาน รหัสวิชา 20301-2003 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนขาดทักษะการเขียนโครงสร้างภาพสัตว์หิมพานต์ ในรายวิชาจิตรกรรมไทยพื้นฐาน รหัสวิชา 20301-2003 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 1 สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย จำนวน 1 ห้อง รวมจำนวน 18 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณาประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที (t-test)

            ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะการเขียนโครงสร้างภาพสัตว์หิมพานต์ ในรายวิชาจิตรกรรมไทยพื้นฐาน รหัสวิชา 20301-2003 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80.25/88.20 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนโครงสร้างภาพสัตว์หิมพานต์ ในรายวิชาจิตรกรรมไทยพื้นฐาน รหัสวิชา 20301-2003 พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.88)

References

กฤตภัทร พุทธครุฑานนท์. (2565). การพัฒนาทักษะการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (SWOT

Analysis) โดยการใช้แบบฝึกทักษะในรายวิชาการบริหารธุรกิจขนาดย่อม ของนักศึกษาระดับ

ประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปีที่ 1 แผนกวิชาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษา

เชียงราย. การวิจัยในชั้นเรียน. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย.

กฤติยา โพธิ์ทอง และกิตติพล คำทวี. (2563). “การออกแบบชุดฝึกทักษะภาพสีน้ำ : กรณีศึกษานักศึกษาปี

ที่ 2 สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์”. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์

และการ สื่อสาร. 3(3) : 201-221.

งานทะเบียน วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย. (2565). จำนวนผู้เข้าเรียนแผนกวิชาวิจิตรศิลป์ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.). วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย.

พิชญดา ไชยดี และจักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า. (2565). “การพัฒนาทักษะการวาดการ์ตูนคนโดยใช้แบบฝึก

ทักษะของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสายน้ำทิพย์”. Journal of Roi Kaensarn

Academi .7(12) : 170-186.

วรพันธ์ สิทธิเสรี และศุภานัน สิทธิเลิศ. (2563). การออกแบบชุดกิจกรรมแบบฝึกทักษะการวาดภาพเหมือน

จริงเรื่องรูปทรงในงานจิตรกรรมในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 6. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต 16(3) : 37-53.

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย. (2566). แผนกวิชาวิจิตร์ศิลป์. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย.

สำนักหอสมุดกลาง, มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2562). “ศิลปะลายไทย-สนเทศน่ารู้”.[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก

: https://www.lib.ru.ac.th/journal2/?p=12009. สืบค้น 23 ธันวาคม 2566.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย

หมวดหมู่