วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา https://so13.tci-thaijo.org/index.php/ajgs <p>วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มีนโยบายในการส่งเสริม รวบรวมและเผยแพร่บทความวิชาการ บทความวิจัยและนวัตกรรมของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณาจารย์ บุคลากร นักวิชาการตลอดจนผู้สนใจทั้งภายในและภายนอกสำหรับการพัฒนาองค์ความรู้ให้กับชุมชนและสังคม โดยมุ่งเน้นการเผยแพร่บทความวิชาการ บทความวิจัยและนวัตกรรมทางด้านสังคมศาสตร์และด้านการศึกษา กำหนดการตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ ออกราย 6 เดือนคือ เล่มที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และเล่มที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม โดยรูปแบบผลงานที่วารสารจะรับพิจารณามี 2 ประเภทคือบทความวิชาการและบทความวิจัย ซึ่งจะต้องได้รับการตรวจสอบทางวิชาการ(Peer Review) โดยมีผู้พิจารณา 3 คน ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน จากหลากหลายสถาบัน เพื่อให้วารสารมีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากล และนำไปอ้างอิงได้ ผลงานที่ส่งมาตีพิมพ์ จะต้องมีสาระ งานทบทวนความรู้เดิมและเสนอความรู้ ใหม่ที่ทันสมัยรวมทั้งข้อคิดเห็นที่เกิดประโยชน์ต่อผู้อ่าน ผลงานจะต้องไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ใน วารสารอื่นใดมาก่อน และไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงวารสารใดๆ</p> <p><strong>ขอบเขตเนื้อหาของบทความ</strong></p> <p>การบริหารการศึกษา วิทยาการจัดการเรียนรู้ การศึกษาปฐมวัย การประถมศึกษา หลักสูตรและการสอน วิทยาศาสตร์ศึกษา จิตวิทยาการศึกษา สังคมศึกษา การวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา พลศึกษาและสุขศึกษา เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา อุตสาหกรรมศึกษา การศึกษาพิเศษและสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษา</p> <p><strong>กำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่</strong></p> <p>ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน) <br />ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม)<br />ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม)</p> <p><strong>กระบวนการรีวิว</strong></p> <p>บทความวิชาการและบทความวิจัยที่จะนำมา ตีพิมพ์ในวานสารบัณฑิตศึกษา จะต้องได้รับการตรวจสอบทางวิชาการ จากผู้ทรงคุณวุฒิ( Peer review) จำนวน 3 ท่าน ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบทความนั้นๆ บทความที่นำมาตีพิมพ์ในแต่ละฉบับ ทั้งนี้กองบรรณาธิการจะดำเนินการตรวจสอบการคัดลอกบทความ (Plagiarism) เป็นขั้นตอนแรก แล้วจึงจัดให้มีกรรมการภายนอกร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) และประเมินบทความตามเกณฑ์และแบบฟอร์มที่กำหนด ในลักษณะเป็น Double-blind peer review คือปกปิดรายชื่อทั้งผู้ประเมินและผู้เขียนบทความ โดยบทความงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องได้รับการประเมินความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน</p> <p style="box-sizing: border-box; line-height: 1.785rem; margin: 1.43rem 0px; color: rgba(0, 0, 0, 0.87); font-family: 'Noto Serif', -apple-system, BlinkMacSystemFont, 'Segoe UI', Roboto, Oxygen-Sans, Ubuntu, Cantarell, 'Helvetica Neue', sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant-ligatures: normal; font-variant-caps: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: start; text-indent: 0px; text-transform: none; widows: 2; word-spacing: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; background-color: #ffffff; text-decoration-thickness: initial; text-decoration-style: initial; text-decoration-color: initial;"><strong style="box-sizing: border-box; font-weight: bolder;">ประเภทของบทควา</strong>ม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ บทความวิจัย และบทความวิชาการ<br style="box-sizing: border-box;" />รับตีพิมพ์บทความ ทั้ง บทความภาษาไทย และบทความภาษาอังกฤษ</p> <p style="box-sizing: border-box; line-height: 1.785rem; margin: 1.43rem 0px; color: rgba(0, 0, 0, 0.87); font-family: 'Noto Serif', -apple-system, BlinkMacSystemFont, 'Segoe UI', Roboto, Oxygen-Sans, Ubuntu, Cantarell, 'Helvetica Neue', sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant-ligatures: normal; font-variant-caps: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: start; text-indent: 0px; text-transform: none; widows: 2; word-spacing: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; background-color: #ffffff; text-decoration-thickness: initial; text-decoration-style: initial; text-decoration-color: initial;"><strong style="box-sizing: border-box; font-weight: bolder;">เงื่อนไขการตีพิมพ์บทความ</strong><br style="box-sizing: border-box;" />บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer Reviewer) จากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยสามท่าน โดยบทความผู้นิพนธ์ภายนอกได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกคนละหนึ่งท่าน หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อยสองท่าน ส่วนบทความผู้นิพนธ์ภายในได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายสถาบัน และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร ทั้งนี้ บทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาเสนอขอตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ หากมีการใช้ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อกองบรรณาธิการก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ สำหรับทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความในวารสารฉบับนี้ เป็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ</p> <p style="box-sizing: border-box; line-height: 1.785rem; margin: 1.43rem 0px 0px; color: rgba(0, 0, 0, 0.87); font-family: 'Noto Serif', -apple-system, BlinkMacSystemFont, 'Segoe UI', Roboto, Oxygen-Sans, Ubuntu, Cantarell, 'Helvetica Neue', sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant-ligatures: normal; font-variant-caps: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: start; text-indent: 0px; text-transform: none; widows: 2; word-spacing: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; background-color: #ffffff; text-decoration-thickness: initial; text-decoration-style: initial; text-decoration-color: initial;">ทั้งนี้ วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ <strong style="box-sizing: border-box; font-weight: bolder;">ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ </strong></p> <p> </p> โครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ th-TH วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด (SWOT Analysis) ในรายวิชาการบริหารธุรกิจขนาดย่อม ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย https://so13.tci-thaijo.org/index.php/ajgs/article/view/501 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่องการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด (SWOT Analysis) ในรายวิชาการบริหารธุรกิจขนาดย่อม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปีที่ 1 สาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด (SWOT Anlaysis) ในรายวิชาการบริหารธุรกิจขนาดย่อม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปีที่ 1 สาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงรายที่มีต่อแบบฝึกทักษะ เรื่องการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด (SWOT Analysis) ในรายวิชาการบริหารธุรกิจขนาดย่อม</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่องการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด (SWOT Analysis) ในรายวิชาการบริหารธุรกิจขนาดย่อม นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียนเท่ากับ 16.61 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 19.64 ดังนั้นผลการหาค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ E1/E2 เท่ากับ 83.05/98.20 จึงมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80 2) การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปีที่ 1 สาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด (SWOT Anlaysis) ในรายวิชาการบริหารธุรกิจขนาดย่อม พบว่า นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียนเท่ากับ 16.61 และคะแนนสอบหลังการเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 19.64 สรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปีที่ 1 สาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงรายที่มีต่อแบบฝึกทักษะ เรื่องการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด (SWOT Analysis) ในรายวิชาการบริหารธุรกิจขนาดย่อม พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> <p> </p> กฤตภัทร พุทธครุฑานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา 2024-05-08 2024-05-08 2 1 1 16 การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/ajgs/article/view/480 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ 2) ศึกษาปัจจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ มีรูปแบบการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปัญหาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ และข้อคำถามสำหรับการสัมภาษณ์ เกี่ยวกับปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ และประเด็นในการจัดสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) เกี่ยวกับแนวการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ ผู้ตอบแบบสอบถามมี่ส่วนร่วมน้อยที่สุด คือด้านการมีส่วนร่วมในการควบคุมตรวจสอบการดำเนินกิจการทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 58.00 ลองลงมาคือ ด้าน การมีส่วนร่วมในการริเริ่มและการตัดสินใจ คิดเป็นร้อยละ 67.50 ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนและกำหนดนโยบาย คิดเป็นร้อยละ 72.50 ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด เท่ากันกับด้านการมีส่วนร่วมการสนับสนุนทางทรัพยากร คิดเป็นร้อยละ 72.00 และมากที่สุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์การบริหารการจัดการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 77.002 ปัจจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติในในจังหวัดบึงกาฬ พบว่า ข้อคิดเห็นจากบุคคลที่มีส่วนร่วม เช่น งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น เห็นควรเพิ่มตัวแทนของบุคลากรในภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน องค์กรอย่างสม่ำเสมอ และ 3) แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ พบว่าองค์ประกอบในการการมีส่วนร่วม มีดังต่อไปนี้ 1) การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาจังหวัด 2) การสนับสนุนการพัฒนาด้านวิชาการ การวิจัยและพัฒนา 3) การกำกับดูแลติดตามและประเมินผลการดำเนินการพัฒนาการศึกษาภาค 4) การสนับสนุนการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวง 5) การประสานงาน การบริหารในการพัฒนาอย่างบูรณาการระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค</p> นรมน ไกรสกุล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา 2024-05-08 2024-05-08 2 1 17 32