บรรณาธิการ : ดร.สุรเชษฐ์ วงศ์ชัยประทุม
วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา
Academic Journal
of Graduate School
ISSN 3027-8686 (print)
ISSN 3027-8740 (online)
มีกำหนดเผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ คือ
ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน)
ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม)
ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม)
จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมการตีพิมพ์ผลงงานในวารสารวิชาการ (Publication Ethics)
---------------------------------------------------------------------------------
จริยธรรมของผู้นิพนธ์/ผู้แต่ง (Ethics of the Authors)
- ผู้นิพนธ์/ผู้แต่ง ต้องได้รับความเห็นชอบในการส่งบทความจากผู้ร่วมนิพนธ์(ถ้ามี)
- ผู้นิพนธ์/ผู้แต่งที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
- ผู้นิพนธ์/ผู้แต่งต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่ และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
- ผู้นิพน์ / ผู้แต่ง ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในการทำวิจัย โดยต้องไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ
- บทความต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น
- ผู้นิพน์ / ผู้แต่ง บทความจะต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
- ผู้นิพน์ / ผู้แต่ง ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในบทความของตัวเอง เช่น ภาพ ตาราง เป็นต้น
- ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิง ทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
จริยธรรมของผู้บรรณาธิการวารสาร (Ethics of Editors)
- บรรณาธิการต้องพิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนเองรับผิดชอบ
- บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียน และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ
- บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง และให้ผลที่น่าเชื่อถือ โดยนำผลของการวิจัยมาเป็นตัวชี้นำว่า สมควรตีพิมพ์เผยแพร่หรือไม่
- บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนและผู้ประเมิน
- บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง
- เมื่อบรรณาธิการตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น จะต้องระงับการประเมินและติดต่อผู้เขียน เพื่อพิจารณาตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์การตีพิมพ์
- หากบรรณาธิการตรวจพบว่า บทความมีการลอกเลียนบทความอื่นโดยมิชอบ หรือมีการปลอมแปลงข้อมูล ซึ่งสมควรถูกถอดถอน แต่ผู้เขียนปฏิเสธที่จะถอนบทความ บรรณาธิการสามารถดำเนินการถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เขียน ซึ่งถือเป็นสิทธิและความรับผิดชอบต่อบทความของบรรณาธิการ
จริยธรรมของผู้ประเมิน (Ethics of Reviewers)
- ผู้ประเมินบทความ ต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
- หลังจากได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสาร และผู้ประเมินบทความเห็นว่าตนเองมีผลประโยชน์ที่ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ / ผู้แต่ง เช่น [กรณี รู้จักกับตัวผู้นิพนธ์ / ผู้แต่งเป็นการส่วนตัว เป็นผู้ร่วมโครงการ ที่ปรึกษา อื่น ๆ] ผู้ประเมินต้องแจ้งต่อบรรณาธิการโดยตรงทันที เพราะอาจทำให้ขาดอิสระในการให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของบทความนั้น ๆ ได้ โดยทั้งนี้ผู้ประเมินสามารถที่จะปฏิเสธการเป็นผู้ประเมินบทความเรื่องดังกล่าว
- ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้น ๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ และความเข้มข้นของผลงาน
- ผู้ประเมินบทความไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความวิจัย
- หากผู้ประเมินบทความทราบว่ามีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่น ๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบด้วย