การพัฒนาทักษะการให้เหตุผลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง ร้อยละและอัตราส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
คำสำคัญ:
เทคนิคเพื่อนคู่คิด, ทักษะการให้เหตุผล, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการให้เหตุผลก่อนและหลังเรียน เรื่องร้อยละและอัตราส่วน โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องร้อยละและอัตราส่วน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องร้อยละและอัตราส่วน โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย จำนวน 71 คน โดยใช้วิธีการเลือกสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนคณิตศาสตร์และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละและอัตราส่วน ก่อนและหลังการได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละและอัตราส่วน โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดหลังเรียนเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องร้อยละและอัตราส่วน โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด ภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.69, S.D. = 0.32)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กัลยาดา เหง่าบุญมาและจิรดาวรรณ หันตุลา. (2565). “การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนเชิงรุก โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่องวงจรไฟฟ้า ระดับประถมศึกษา.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 33(2) : 90-102.
ชลธิชา ทับทวี. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติและการวิจัย. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ทีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นุชนาท โชติบุญ. (2564). “การพัฒนาชุดการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.” วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 18(82) : 50-61.
พรทิพย์ ดิษฐ์ปัญญาและสุนีย์ เหมะประสิทธิ์. (2563). “ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และความมั่นใจในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.” วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา. 14(2) : 24-41.
พัฒนา พรหมณี, ยุพิน พิทยาวัฒนชัย และจีระศักดิ์ ทัพผา. (2563). “แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน.” วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.). 26(1) : 59-66.
สุภาภรณ์ สดวกดี, ฐิมาภรณ์ อรน้อม, นิพนธ์ รุ่งสว่าง, พรสินี คงมณี และวัฒนชัย งอกศิลป์. (2565). “การใช้เกมคณิตศาสตร์เป็นสื่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง พีระมิด กรวย และทรงกลม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.” วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์. 9(1) : 145-156.