การบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนคุณธรรมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านหนองสองห้องหนองแห้วโนนศรี

ผู้แต่ง

  • นัยนา เหลาพร สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

การบริหารเชิงกลยุทธ์, โรงเรียนคุณธรรม, องค์ประกอบการบริหารเชิงกลยุทธ์, กรณีศึกษาโรงเรียนที่โดดเด่น

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนคุณธรรม (2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเพื่อการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนคุณธรรม และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนคุณธรรม โดยใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียนคุณธรรม ระดับสี่ดาวเพียงโรงเรียนเดียวในจังหวัดอุดรธานี (อ้างตามประกาศ ประจำปี 2564) กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านหนองสองห้องหนองแห้วโนนศรี รวมทั้งหมดจำนวน 6 คน ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัย 3 ระยะตามวัตถุประสงค์ทั้ง 3 ข้อ ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัยจากข้อมูลที่ได้จากแบบสัมภาษณ์ โดยสรุปด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบบรรยายและพรรณนา จากนั้นอภิปรายและสรุปผลแบบอุปนัยเพื่อหาข้อสอดคล้องกับทฤษฎีและนำเสนอ

            ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์ โรงเรียนบ้านหนองสองห้องหนองแห้วโนนศรีมีความโดดเด่นทั้งสี่ด้านตามกรอบแนวคิดที่ได้จากการสังเคราะห์ในระยะที่ 1 คือ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การ 2) การจัดทำและวางแผน 3) การปฏิบัติตามแผน และ 4) ขั้นประเมินผลการดำเนินงานและการควบคุม ส่งผลให้การบริหารเชิงกลยุทธ์โรงเรียนคุณธรรมมีความโดดเด่น และประสบผลสำเร็จ (2) ด้านปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะพบว่า 1) ความร่วมมือจากผู้ปกครองยังมีน้อย 2) ปัญหาภาระงานที่มีปริมาณมากเท่ากันกับโรงเรียนขนาดใหญ่อื่น และ 3) ปัญหาด้านงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด และ (3) ด้านการศึกษาแนวทางในการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนคุณธรรม  พบว่าโรงเรียนมีการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ แม้การดำเนินงานจะมีปัญหาและอุปสรรค แต่โรงเรียนก็มีวิธีการบริหารและดำเนินการภายใต้ขีดจำกัดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ทัศนีย์ กำเนิดสิงห์. (2555). องค์ประกอบการจัดการเชิงกลยุทธ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/454879%E0%B8%87. สืบค้น 8 กันยายน 2559.

บุญเกียรติ ชีวะตระกูลกิจ. (2559). การจัดการเชิงยุทศาสตร์สำหรับ CEO. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : พี.เพรส.

บุญเลิศ เย็นคงคา. (2549). การจัดการเชิงกลยุทธ์. พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : วี เจ พรินน้ ติ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนดีต้องมีที่ยืน.

สุพานี สฤษฎวานิช. (2546). การบริหารเชิงกลยุทธ แนวคิดและทฤษฎี. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

สุภาพร ตันติสม. (2554). การจัดการธุรกิจขนาดย่อม. กรุงเทพฯ : คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.

David. F.R. (1997). Strategic Management. Englewood Cliffs: Prentice – Hall.

Pearce, J.A & Robinson, R.B. (2000). Strategic management. NJ : McGraw-Hill.

Peter Wright, Mark J. Kroll, John A. Parnell. (1996). Strategic management. Prentice-Hall, Englewodd Cliffs N.J.

William F. Glueck, Lawrence R. Jauch. (1984). Business Policy and Strategic Management. McGraw-Hill, Auckland [u.a.].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-05-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย

หมวดหมู่