การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ
คำสำคัญ:
การบริหารแบบมีส่วนร่วม, ปัจจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติ, การจัดการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ 2) ศึกษาปัจจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ มีรูปแบบการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปัญหาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ และข้อคำถามสำหรับการสัมภาษณ์ เกี่ยวกับปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ และประเด็นในการจัดสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) เกี่ยวกับแนวการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ ผู้ตอบแบบสอบถามมี่ส่วนร่วมน้อยที่สุด คือด้านการมีส่วนร่วมในการควบคุมตรวจสอบการดำเนินกิจการทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 58.00 ลองลงมาคือ ด้าน การมีส่วนร่วมในการริเริ่มและการตัดสินใจ คิดเป็นร้อยละ 67.50 ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนและกำหนดนโยบาย คิดเป็นร้อยละ 72.50 ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด เท่ากันกับด้านการมีส่วนร่วมการสนับสนุนทางทรัพยากร คิดเป็นร้อยละ 72.00 และมากที่สุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์การบริหารการจัดการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 77.002 ปัจจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติในในจังหวัดบึงกาฬ พบว่า ข้อคิดเห็นจากบุคคลที่มีส่วนร่วม เช่น งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น เห็นควรเพิ่มตัวแทนของบุคลากรในภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน องค์กรอย่างสม่ำเสมอ และ 3) แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ พบว่าองค์ประกอบในการการมีส่วนร่วม มีดังต่อไปนี้ 1) การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาจังหวัด 2) การสนับสนุนการพัฒนาด้านวิชาการ การวิจัยและพัฒนา 3) การกำกับดูแลติดตามและประเมินผลการดำเนินการพัฒนาการศึกษาภาค 4) การสนับสนุนการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวง 5) การประสานงาน การบริหารในการพัฒนาอย่างบูรณาการระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
References
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของ กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). เข้าถึงได้จาก : https://shorturl.asia/m2j8P.
จีระพงษ์ หอมสุวรรณ. (2556). “การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา โครงการเผยแพร่งานวิจัยนิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรประจำปี 2556.” วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร 15(ฉบับพิเศษ).
ฉลาด จันทรสมบัติ และพิมพิกา จันทไทย. (2553). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น. การบริหารและการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประสาร พรหมณา. (2553). “การบริหารแบบมีส่วนร่วม.” วารสารธุรกิจปริทัศน์. 7(2).
มนต์นภัส มโนการณ์. (2561, มกราคม – มิถุนายน). “การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่” วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชาพื้นฐานและการพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 19(1)
สมบัติ นามบุรี. (2562, มกราคม-เมษายน). “ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์” วารสารวิจัยวิชาการ. 2(1) : 183 – 197.
________. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
Ofojebe. WenceslausRelevance and Benefits of management By objectives to secondary
school management in Anambra State Teacher views. (2010). International
Journal of Educational Administration and Policy Studies. 2(7) : 99-104.