อัตลักษณ์สิ่งเหนือธรรมชาติของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมรสุรินทร์ กรณีศึกษาบ้านสวาย ตำบลสวาย อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ยโสธารา ศิริภาประภากร อาจารย์ ดร. รองผู้อำนวยการสำนักงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสุรินทร์แห่งที่ 2 วัดป่าโยธาประสิทธิ์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, ชาวไทยเชื้อสายเขมร, สิ่งเหนือธรรมชาติ, บ้านสวาย, สุรินทร์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง อัตลักษณ์กลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมรสุรินทร์ที่มีต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ กรณีศึกษา ชุมชนบ้านสวาย ตำบลสวาย อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์  มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมรสุรินทร์ที่มีต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ ชุมชนบ้านสวาย ตำบลสวาย อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์  มีกลุ่มประชากรศึกษา ได้แก่ผู้มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในประเด็นการศึกษา คือ นักวิชาการด้านศาสนาและวัฒนธรรม ผู้ประกอบพิธีกรรม ผู้ร่วมในพิธีกรรม ผู้มีประสบการณ์ จำนวน 11 คน  มีกระบวนการเก็บข้อมูล คือ 2 แบบ ได้แก่  (1) การสัมภาษณ์เชิงลึก  (2) การสนทนากลุ่ม และนำผลมาพรรณาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์กลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมรสุรินทร์ที่มีต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ ชุมชนบ้านสวาย ตำบลสวาย อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ จากการศึกษาบริบทพื้นที่ปรากฏมีความเชื่อ พิธีกรรม ประเพณี วิถีชีวิต เครื่องนุ่งห่ม ที่เป็นตัวบ่งบอกถึงชุมชนและเป็นระบบโครงสร้างสัมพันธ์ถึงระบบด้านความเชื่อที่มีต่อ (1)      อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมรและวิถีชีวิต (2) ความเชื่อต่อดวงวิญญาณ (3)  ความเชื่อไสยศาสตร์  (4) ความเชื่อที่มีต่อเครื่องรางของขลัง  (5) ปรียะภูมิสะแรย์ หรือ ดวงวิญญาณที่ประจำตามทุ่งนาและมีบทบาทด้านการเกษตร และผลิตผลทางการเกษตร เป็นต้น

References

ประทีป แขรัมย์. (2535). พิธีกรรมมม๊วตของกลุ่มชาติพันธ์ชาวไทยเขมร : ศึกษากรณีบ้านตะโกราย ตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

พระมหาวีระ สุขแสวง. (2550). มะม๊วต : พิธีกรรมและความเชื่อของกลุ่มคนพูดภาษาเขมรถิ่นอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

คณะกรรมการกองตำรา. (2527). มหามุฏราชวิทยาลัย, ผู้แปล,พระธัมมปทัฏฐกถาแปลภาค 6. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2542). โครงการวิจัยภาษาและกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย.สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิริพร สุเมธารัตน์. (2553). ประวัติศาสตร์ถิ่นเมืองสุรินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 1, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ : โรงพิมพ์ ส. พันธ์เพ็ญ.

ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2560, กรกฎาคม - ธันวาคม). “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเทพบริบาลแห่งชนเผ่ากับกลุ่มชาวไทยกวย อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์.” วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์. 4(2)

อมรา พงศาพิชญ์. (2541). วัฒนธรรมศาสนาและชาติพันธุ์: วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-05-2024