แนวทางการบริหารการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษที่ 5 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

ผู้แต่ง

  • อัญชลี พละศักดิ์ นักศึกษาสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • นิพนธ์ วรรณเวช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

แนวทางการบริหารการจัดการ, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, ศูนย์การศึกษาพิเศษ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของศูนย์การศึกษาพิเศษ และ 2) แนวทางการบริหารการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษที่ 5 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้ดูแลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษที่ 5 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 118 คน จาก 6 ศูนย์การศึกษาพิเศษ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 และประเด็นคำถามการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของศูนย์การศึกษาพิเศษ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยคือ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา รองลงมาคือ ด้านการส่งต่อนักเรียน ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) แนวทางการบริหารการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของศูนย์การศึกษาพิเศษ มีดังนี้ 2.1) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า สถานศึกษาควรมีการรวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลด้วยวิธีการที่เหมาะสมหลากหลาย 2.2) ด้านการคัดกรองนักเรียน พบว่า สถานศึกษาควรมีการจำแนกคัดกรองนักเรียนตามแนวทาง/เกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด 2.3) ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน พบว่า มีแผน/โครงการ/กิจกรรม ส่งเสริมพัฒนานักเรียนและมีการนำแผนไปปฏิบัติ 2.4) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา พบว่า มีการให้คำปรึกษาเบื้องต้น จัดกิจกรรมซ่อมเสริม มีการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองอย่างทันเหตุการณ์ และ 2.5) ด้านการส่งต่อนักเรียน พบว่า สถานศึกษาควรมีเครือข่ายการส่งต่อภายในและภายนอกโรงเรียน มีการส่งต่อภายในและหรือภายนอกพร้อมกับข้อมูลผลการช่วยเหลือเบื้องต้น

References

กรมสุขภาพจิต. (2544). คู่มือครูที่ปรึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ : อิมเมจกรุ๊ป.

เจตบดินทร์ บุญญรัตน์. (2565). แนวทางการดำเนินงานและแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. การศึกษาคนควาอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ถวิลรัตน์ อาษาดี. (2560). สภาพและแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน: กรณีศึกษา

โรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18.

วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 10(2), 1-12.

เทิดศักดิ์ ยะยอง. (2562). การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านดอยคำ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ตามกระบวนการบริหารงานวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง. การศึกษาค้นคว้าอิสระ

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เบญจวรรณ นุ่นทอง. (2561). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 15(71),

-193.

ปรมาภรณ์ สนธิ. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียน

ขนาดเล็ก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ไพบูลย์ เด่นสว่าง. (2564). แนวทางการดำเนินงานและแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนใน

โรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี. การศึกษาคนควาอิสระ

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

สุธิดา พงษ์สวัสดิ์. (2561). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนชะอำคุณหญิง

เนืองบุรี. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2546). การบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้วิกฤตสังคม. กรุงเทพฯ : ชวนทิพย์.

_______. (2559). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ : สหกรณ์การเกษตร

แห่งประเทศไทย.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2552). คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับ

เด็กพิการ. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.

_______. (2555). แผนพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ. เชียงใหม่: ผู้แต่ง.

Krejcie, R. V. & Morgan, D.W. (1970, Autumn) Determining Sampling Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2024